ทุกวันนี้ท่านหาสาระ...อะไร

 
JANYAPINPARD
วันที่  9 ส.ค. 2553
หมายเลข  16887
อ่าน  2,655

ในแต่ละวันเรากระทำหลายอย่างด้วยความเคยชิน...เช่นตื่นขึ้น........อาบน้ำ ล้างหน้าแปรงฟัน..รับประทานอาหาร...แล้วท่านเคยพิจารณาหรือไม่.....การกระทำหลายอย่างในชีวิตประจำวันเพื่ออะไร..อะไรที่เป็นสาระและอะไรที่ไม่ใช่สาระ ....แล้วจริงหรือไม่ที่

จะพูดว่า..ชีวิตส่วนใหญ่กำลังหาสาระของรูป ตื่นขึ้นมาก็ค้นหารูป ค้นหารูปยังไม่พอยังค้นหาสาระในรูปอีก...จะแปรงฟันก็ยังค้นหาในกลิ่นในรสยาสีฟันอีก...เปิดตู้เสื้อผ้า

ก็ยังหาเสื้อลายนั้น สีนั้นอีก...ค้นหารูปยังไม่พอ ยังค้นหาสาระในรูปอีก


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
homenumber5
วันที่ 9 ส.ค. 2553

สาระของชีวิต คือการหาทางพ้นจากกองทุกข์ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้และชี้ทางเดินมาแล้ว 2599ปีแล้ว และยังบันทึกอยู่ในพระไตรปิฎกอยู่สำคัญว่ามีผู้ใดที่จะหาสาระจากชีวิตตามที่กล่าวมานี้หรือไม่

ดิฉันขอเสนอว่า การหาสาระนี้คือการสิกขา จิต เจตสิก รูป เพื่อ ให้เข้าถึงพระนิพพาน นั่นคือการสิกขา ปรมัตถธรรม

อนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 10 ส.ค. 2553

หาสาระในความไม่มีสาระค่ะ

_/'\_

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 10 ส.ค. 2553

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

สำหรับข้าพเจ้า ชีวิตส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวันก็แสวงหาสิ่งที่ไม่ใช่สาระ สิ่งที่ไม่

ประเสริฐคือ สิ่งที่มีอันเกิด แก่ เจ็บ ตายหรือสิ่งที่ไม่เที่ยง ข้าพเจ้าแสวงหาสิ่งเหล่านี้

เพราะยังยินดีเพลิดเพลิน ยังติดข้องเพราะด้วยปัญญาน้อย จึงสำคัญสิ่งที่ไม่ใช่สาระ

คือ รูป เสียงกลิ่น รส......รวมทั้งทรัพย์และอื่นๆ ที่มีความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา เป็นสิ่ง

ที่มีสาระกับชีวิตของข้าพเจ้าเป้นส่วนใหญ่แต่ก็เพราะอาศัยการฟังพระธรรมก็ทำให้เห็น

ประโยชน์ในสิ่งที่มีสาระบ้างในบางขณะ สาระหรือแก่นในที่นี้คือกุศลธรรม ความดีและ

ปัญญาความเห็นถูกอันจะนำไปสู่การดับกิเลสอันเป็นสาระสูงสุด

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 10 ส.ค. 2553

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 367

๑๐. สารสูตร ว่าด้วยสาระ ๔ ประการ

[๑๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สาระ ๔ นี้ ฯลฯ คือ สีลสาระ สมาธิสาระ ปัญญาสาระ วิมุตติสาระ นี้แล สาระ ๔ ประการ. จบสารสูตรที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 153 เรื่อง สญชัย

"ชนเหล่าใด มีปกติรู้ในสิ่งที่ไม่เป็นสาระว่าเป็น

สาระ และเห็นในสิ่งอันเป็นสาระว่า ไม่เป็นสาระ ชนเหล่านั้น มีความดำริผิดเป็นโคจร ย่อมไม่ ประสพสิ่งอันเป็นสาระ. ชนเหล่าใด รู้สิ่งเป็นสาระ โดยความเป็นสาระ และสิ่งไม่เป็นสาระโดยความไม่ เป็นสาระ ชนเหล่านั้น มีความดำริชอบเป็นโคจร ย่อมประสพสิ่งเป็นสาระ."

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
paderm
วันที่ 10 ส.ค. 2553

สาระคือสิ่งที่เป็นแก่น สิ่งที่เป็นประโยชน์ ประโยชน์ในที่นี้ไมได้หมายถึงการได้ รูป

เสียง รส กลิ่น.....แต่ประโยชน์คือกุศลธรรมนี่คือสาระ เพราะนำมาซึ่งประโยชน์สุขใน

โลกนี้ ประโยชน์สุขในโลกหน้าและประโยชน์อย่างยิ่ง (นิพพาน) ดังนั้นจะเห็นได้ว่าสาระจึงมีหลายระดับตามระดับของกุศลธรรม ศีลก็เป็นสาระ นำมาซึ่งประโยชน์ ความ

สุข สมาธิก็เป็นสาระ (สัมมาสมาธิ) ปัญญาก็เป็นสาระ เพราะเห็นถูกตามความเป็นจริง

วิมุตติ (การหลุดพ้น) เป็นสาระเพราะประโยชน์สูงสุดของการศึกษาพระธรรมคือ เพื่อหลุด

พ้นจากกิเลส ดังนั้นวิมุตติ (การหลุดพ้น) จึงเป็นสาระ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
paderm
วันที่ 10 ส.ค. 2553

สภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ เกิดขึ้นและดับไป ไม่ใช่สาระ แต่สาระคือความเข้าใจที่

เกิดขึ้นจากสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้เอง ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ขณะที่ฟังธรรมเข้าใจ

ก็ชื่อว่าเป็นสาระ กุศลธรรมประการต่างๆ ก็เป็นสาระ แต่สาระที่ประเสริฐคือการอบรม

ปัญญาเพื่อเข้าใจธรรมที่มีในขณะนี้ เพราะเป็นไปเพื่อเพื่อดับกิเลส อันเป็นสาระสูงสุด ผู้ที่ถือในสิ่งที่เป็นสาระย่อมได้สาระ คือได้ในสิ่งที่ถูก เป็นประโยชน์ เป็นแก่น นั่นคือ

เข้าใจความจริงของสภาพธรรมและดับกิเลสได้ในที่สุด ซึ่งสำหรับข้าพเจ้ายังเป็นผู้แสวงหาสิ่งที่ไม่ใช่สาระอยู่มาก แต่ก็แสวงหาสิ่งที่เป็นสาระบ้าง ตามกำลังของปัญญาที่สะสมมา ขออนุโมทนา อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
เมตตา
วันที่ 10 ส.ค. 2553

เพราะความไม่รู้จึงแสวงหารูปและยังค้นหารูปอยู่ทุกภพทุกชาติ...

...ขออนุโมทนาค่ะ...

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 11 ส.ค. 2553

"...สภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้เกิดขึ้นและดับไป ไม่ใช่สาระ แต่สาระคือความเข้าใจที่

เกิดขึ้นจากสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้เอง ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา..."

ขออนุโมทนาครับ

แม้จะเป็นผู้หนึ่งที่มีโอกาสได้พบและฟังพระธรรมอันมีค่ายิ่งนี้

แต่ทุกๆ วันที่ผ่านไป ก็ยังเป็นผู้ที่แสวงหาความไม่เป็นสาระเป็นส่วนมาก นี่คือความจริง

แต่กระนั้นก็ตาม ขณะที่ สติ และ ปัญญา เกิดขึ้นบ้างนั้น

เป็นปัจจัยให้ "มั่นคงขึ้น" ในหนทางที่เดินอยู่ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 11 ส.ค. 2553

สตรีใด เจริญด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา สตรีเช่นนั้น เป็นอุบาสิกาผู้มีศีล ย่อมถือสาระของตนในโลกนี้ไว้ได้เชิญคลิกอ่าน...อริยสาวิกาย่อมเจริญด้วยธรรม ๕ ประการ [วัฑฒิสูตร]

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 11 ส.ค. 2553

ชีวิตส่วนใหญ่เป็นไปกับการแสวงหาสาระของรูป...เช่นการเลือกอาหารที่ทำให้สุขภาพดี...เลือกใส่เสื้อผ้าที่สวยงาม เหมาะกับตนเอง..เลือกสิ่งดีเพื่อตนเอง.. สาระที่เลือกอาจเป็นเพียง เพื่อดำรงขันธ์ 5..เพื่อศึกษาพระธรรมหรือเป็นไปกับโลภะ...สะสมโลภเพิ่มขึ้นทุกวันโดยไม่เห็นโทษ.....ซึ่งขึ้นอยู่กับ.....ปัญญา..

พระธรรมชี้ให้เห็นคุณของปัญญาและโทษของโลภะ
.
..แม้การแสวงหารูปเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตแต่พระธรรมจะทำให้เข้าใจได้ว่าสาระที่สำคัญที่สุดคืออะไร...

ข้อความในพระไตรปิฎกที่กล่าวถึงสาระในรูป....น่าสนใจยิ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต เป็นอนาคต และปัจจุบัน ฯ ลฯ หรืออยู่ที่ไกลที่ใกล้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุเพ่งพินิจพิจารณาดูรูปนั้นโดยแยบคาย เมื่อเธอเพ่งพินิจพิจารณาดูโดยแยบคาย รูปนั้นก็จะปรากฏเป็นของว่าง เป็นของเปล่า หาสาระมิได้เลย สาระในรูป จะพึงมีได้อย่างไร ภิกษุทั้งหลาย. เชิญคลิกอ่าน...ขันธ์ ๕ เปรียบด้วยฟองน้ำเป็นต้น [เผณปิณฑสูตร]

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
chaiyut
วันที่ 11 ส.ค. 2553

ปัญญาเป็นธรรมที่รู้ความจริง ของสิ่งเป็นสาระ และไม่เป็นสาระ สามารถที่จะเข้าใจถูกต้องจริงๆ ว่า ควรเจริญสิ่งที่เป็นสาระ จนกว่าจะถึงขั้นที่จ ะดับการยึดถือขันธ์ทั้งหลายว่าเป็นตัวตนก่อน เพราะการยึดถือขันธ์ด้วยอำนาจของอกุศลมีมาก จะละได้ก็ต้องละตามลำดับขั้นของปัญญา ปุถุชนเป็นผู้ที่ยังละความยินดีในขันธ์ไม่ได้ เมื่อไม่รู้และเห็นผิดว่าขันธ์ทั้งหลายเป็นตัวตนที่เป็นสาระ จึงแสวงหาสิ่งไม่ใช่สาระมานานในสังสารวัฏฏ์ จนกว่าจะค่อยๆ เ ห็นถูกในความจริงของขันธ์ ว่าเป็นขันธ์ ไม่ใช่เรา เป็นอนัตตา เกิดแล้วดับ ไม่มีสาระ เป็นทุกข์ ค่อยๆ เข้าใจขึ้นเพื่อละการยึดถือผิดทีละเล็กทีละน้อยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
khampan.a
วันที่ 11 ส.ค. 2553

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
orawan.c
วันที่ 11 ส.ค. 2553

ยังคงหลงและยึดมั่นว่าสิ่งไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ

จึงกำลังอบรมปัญญาเพื่อให้รู้ถูก เห็นถูกตามความเป็นจริง

ด้วยการฟังพระสัทธรรมที่ท่านอ.สุจินต์ ยอดกัลยาณมิตรของพวกเรา

นำมาพร่ำสอนแล้วสอนอีกกว่า ๕๐ ปี อย่างไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อย

แม้อายุท่านจะถึง ๘๔ ปีแล้ว

ขอกราบอนุโมนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
ruttikarn
วันที่ 14 ส.ค. 2553

ขอบคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
aditap
วันที่ 15 ส.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 16 ส.ค. 2553

สาระสำคัญที่สุดในชีวิต..คือการสะสมปัญญา....มีชีวิตอยู่ด้วยปัญญาเชิญคลิกอ่าน...

มีชีวิตอยู่ด้วยปัญญาจึงประเสริฐ ขออนุโมทนาทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
พรรณี
วันที่ 22 ก.ค. 2554

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ