นัจจคีตวาทิตวิสูกทัสสนะ [ว่าด้วยนัจจคีตวาทิตวิสูกทัสสนะ]
[เล่มที่ 39] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 42
ว่าด้วยนัจจคีตวาทิตวิสูกทัสสนะ
อีกอย่างหนึ่ง การฟ้อนรำ การขับร้องและการประโคม โดยความตามที่กล่าวมา แล้วเท่านั้นเป็นข้าศึก ชื่อว่า นัจจคีควาทิตวิสูกะ การดูการฟ้อนรำขับร้องและ ประโคมที่เป็นข้าศึกเหล่านั้น ชื่อว่านัจจคีควาทิตวิสูกทัสสนะ เจตนางดเว้นจากการฟ้อนรำขับร้องและประโคมที่เป็นข้าศึกนั้น เมื่อความจะกล่าวว่าทสฺสนสวนา แม้การฟังท่านก็เรียกว่า ทัสสนะ เหมือนกัน เหมือนการจับอารมณ์ แม้มิใช่เป็นไปทางจักษุทวาร ท่านก็เรียกว่าทัสสนะ ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่าโส จ โหติ มิจฺฉา ฏฺิโก วิปรีตทสฺสโน ผู้นั้นย่อม เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นผิด มีทัสสนะความเห็นวิปริต อันการล่วงละเมิดในสิกขาบทนี้ ย่อมมีแก่ผู้เข้าไปดูเพราะอยากจะดูเท่านั้น ส่วนผู้เดินไปพบ หรือเห็นเฉพาะที่มาปรากฏในโอกาสที่นี้ นั่ง นอนก็มีแต่ความเศร้าหมองมิใช่ล่วงละเมิด ก็ในสิกขาบทนี้ การขับร้องแม้ที่อิงธรรมะ ก็ไม่ควร แต่ธรรมะที่อิงการขับร้อง พึงทราบว่าสมควร