เรามักจะลืมให้อภัยเขา

 
ธรรมทัศนะ
วันที่  14 ส.ค. 2553
หมายเลข  16937
อ่าน  3,619

สิ่งที่ควรพิจารณา คือ ไม่มีใครที่ไม่เคยทำผิด ย่อมมีแน่นอน สำหรับบุคคลผู้ที่กระทำความผิด จะมากหรือน้อย ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ตัวเราเองก็เช่นเดียวกัน เวลาที่ตนเองทำความผิด ได้ผิดพลาดพลั้งไป ก็อยากจะให้คนอื่นเขาเข้าใจ และเห็นใจ คนอื่นๆ ที่เป็นแบบเรา ก็มีความต้องการอย่างนี้เช่นเดียวกัน

แต่เวลาคนอื่นทำความผิด ได้ผิดพลาดพลั้งไปนั้น เรามักจะลืมให้อภัยเขา ลืมเข้าใจเขา พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง เป็นเครื่องเตือนที่ดีอยู่เสมอ เพราะพระองค์ไม่เคยสอนให้เกิดอกุศลเลยแม้แต่น้อย แม้ในบุคคลผู้กระทำความผิด ก็ไม่ควรโกรธ เพราะเหตุว่า บุคคลผู้ควรแก่การโกรธ ไม่มี


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
เมตตา
วันที่ 15 ส.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ฤทัยทิพย์
วันที่ 17 ส.ค. 2553
ถ้าคนเราไม่ผูกโกรธได้เท่ากับเราจะไม่สร้างภพสร้างชาติต่อไป
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
pamali
วันที่ 6 ก.ย. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
กมลพร
วันที่ 16 ก.ย. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ เช่นกัน การลืมให้อภัย อาจเป็นการไม่ให้โอกาสเขาแก้ตัวหรือปรับปรุงตัวเท่ากับตัดการสร้างกุศลของเขา เราจะไม่ลืมว่าไม่มีใครทำถูกทั้งหมดแม้แต่ตัวเราเอง

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
aiatien
วันที่ 31 ต.ค. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
พรรณี
วันที่ 26 มิ.ย. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Wad
วันที่ 22 ส.ค. 2554

บุคคลผู้ควรแก่การโกรธ ไม่มี

จะจำไว้เตือนตัวเองค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
nong
วันที่ 25 ส.ค. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
สายธาร
วันที่ 3 พ.ค. 2555

การให้อภัยคืดสิ่งที่ควรคู่แก่ผู้ที่ละความโกรธได้ เพราะหากเราไม่ผูกใจเจ็บ ให้อภัย ผู้ที่ได้รับการอภัย จะเกิดการสำนึกได้เอง และไม่เกิดความผูกใจเจ็บกับเรา นี่คือการไม่สร้างเวรกรรมซึ่งกันและกันอีกทางหนึ่ง โดยคำว่า ให้อภัย

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
เข้าใจ
วันที่ 3 พ.ค. 2555

ยากครับ ความโกรธ ตราบใดที่ยังเจริญความโกรธอยู่เสมอๆ เวลาโกรธมักไม่ค่อยรู้ตัว ถ้ารู้ตัวแล้วจะโกรธไหม ถึงรู้ตัวบางครั้งก็ยังโกรธมากไม่ใช่ง่ายๆ เลย ถ้าอนาคามียังหัวงไม่ได้ทางธรรมะว่าความโกรธเป็นสภาพธรรมะชนิดหนึ่ง ที่เกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วก็ดับไป ดูเหมือนง่ายๆ นะครับ

เจ้าโทสะเจตาสิกตัวนี้ เกิดขึ้นน้อยๆ ก็ขัดเคืองน้อยๆ แล้วถ้าโกรธมากคงไม่ต้องพูดถึงโทสะมาไม่รู้เมตตาไปไหน เมตตาคงรังเกียจโทสะมากนะครับ ความต่างกันขอสภาพธรรมะทั้ง 2 นี้แปลกแต่ของจริงไม่เข้ากัน สภาพธรรมะต่างๆ ดูเหมือนจะอิงอาศัยกัน และกัน อาศัยกันเป็นคู่ๆ เหมือนขัน 5 นั้นเป็นเหมือนฐานรองรับสภาวธรรมต่างๆ มากมายที่เป็นวงกลม ไม่มีต้น ไม่มีปลาย โลภะ โทสะ โมหะ พี่ใหญ่คงเป็นโมหะ ความไม่รู้ ไม่รู้อะไร อะไรบ้างที่ไม่รู้

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
สายธาร
วันที่ 8 พ.ค. 2555

ตามที่ คุณเข้าใจ แสดงทรรศนะ สายธารเห็นด้วยค่ะว่ามันยาก เมื่อก่อนสายธารก็โกรธง่าย อะไรนิดหน่อยก็โกรธ แต่พอได้ศึกษาธรรมะก็เข้าใจมากยิ่งขึ้นค่ะ ว่าความโกรธมันไม่มีอะไรที่เป็นคุณกับตัวเราสักอย่าง มีแต่เราที่ทุกข์อยู่คนเดียว สายธารพยายามมองให้มันเป็นเรื่องเล็กน้อย เรื่องใหญ่ก็ทำให้เป็นเรื่องเล็ก ถ้ามันไม่หนักหนาสาหัสนักก็ไม่ถือโทษโกรธเขา มองในแง่บวกมากๆ ค่อยๆ ใช้เวลากับความโกรธ สารธารสบายใจและมีความสุขขึ้นมากค่ะ

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
jaturong
วันที่ 1 มิ.ย. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
guy
วันที่ 14 ต.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
tanrat
วันที่ 16 พ.ย. 2556

การให้วัตถุสิ่งของยาก เพราะมีความติดข้องต้องการมาก การให้อภัยย่ิงยากกว่า แต่ต้องขัดเกลาไปเรื่อยๆ จนไม่รู้ว่าอะไรให้ใครได้ใครรับ ค่อยๆ ไปล้มรุกคลุกคลานบ้าง แต่อย่าเลิกฟังธรรมะ

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
chatchai.k
วันที่ 27 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
talaykwang
วันที่ 13 ต.ค. 2563

กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
nattawan
วันที่ 15 ก.ค. 2567

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ