กามสุข [ปัญจกังคสูตรที่ ๙]

 
ajarnkruo
วันที่  15 ส.ค. 2553
หมายเลข  16941
อ่าน  4,402

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ ๔๐

ว่าด้วยกามสุข

[๔๑๓] ดูก่อนอานนท์ กามคุณ ๕ เหล่านี้ กามคุณ ๕ เป็นไฉน.คือ รูปที่พึงรู้แจ้งได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารักชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ฯลฯ โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย น่าปรา-รถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด กามคุณ ๕ เหล่านี้แล ดูก่อนอานนท์ สุขโสมนัสย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้ นี้เราเรียกว่า กามสุข.

[๔๑๔] ดูก่อนอานนท์ ชนเหล่าใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสนั้นอันเป็นเยี่ยมและละเอียด ดังนี้ เราไม่ยอมตามคำนี้แก่ชนเหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั้น มีอยู่.

ว่าด้วยสุข

[๔๑๕] ดูก่อนอานนท์ ก็สุขอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่นเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมเข้าปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ นี้แลเป็นสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่น ดูก่อนอานนท์ ชนเหล่าใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสนั่นอันเป็นเยี่ยมและละเอียด ดังนี้ เราไม่ยอมตามคำนี้แก่ชนเหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร. เพราะสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั้น มีอยู่.

ว่าด้วยสุข

[๔๑๕] ดูก่อนอานนท์ ก็สุขอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่นเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมเข้าปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ นี้แลเป็นสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่น ดูก่อนอานนท์ ชนเหล่าใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสนั่นอันเป็นเยี่ยมและละเอียด ดังนี้ เราไม่ยอมตามคำนี้แก่ชนเหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร. เพราะสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั้น มีอยู่.

จาก "ปฐมฌาน" ก็จะเป็น.........."ทุติยฌาน" อันมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารระงับไป มีปีติและสุขอันเกิดแก่สมาธิอยู่ "ตติยฌาน" มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะและเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป เข้าตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่าผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขามีสติอยู่เป็นสุข"จตุตถฌาน" เข้าจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะ ละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขา เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่"อากาสานัญจายตนฌาน" เข้าอากาสานัญจาญตนฌาณโดยบริกรรมว่าอากาศไม่มีที่สุด เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาทั้งหลาย เพราะความดับสูญแห่งปฏิฆสัญญาทั้งหลาย เพราะไม่มนสิการถึงนานัตตสัญญาทั้งหลายโดยประการทั้งปวงอยู่ "วิญญาณัญจายตนฌาน" ......."อากิญจัญญายตนฌาน" ......."เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน" ...... ชนเหล่าใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสนั่นอันเป็นเยี่ยมและละเอียด ดังนี้ เราไม่ยอมตามคำแก่ชนเหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร. เพราะสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่น มีอยู่.

ว่าด้วยสุข

[๔๒๑] ดูก่อนอานนท์ สุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่นเป็นไฉน. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตน-ฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมบัติอยู่ นี้แลเป็น
สุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่น ก็ข้อที่ปริพาชกอัญญเดียรถีย์พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระ-สมณโคดมกล่าวสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ และย่อมบัญญัตินิโรธนั้นไว้ในความสุข ข้อนี้นั้นเพราะเหตุไร ข้อนี้นั้นเป็นอย่างไร. นั้นเป็นฐานะที่จะมีได พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์มีวาทะอย่างนี้ พวกเธอพึงค้านอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้ทรงหมายเอาสุขเวทนาบัญญัตินิโรธนั้นไว้ในความสุขเลย บุคคลย่อมได้สุขในฐานะใดๆ พระตถาคตย่อมทรงบัญญัติฐานะนั้นๆ อันเป็นสุขไว้ในความสุขทุกแห่ง.


จบ ปัญจกังคสูตรที่ ๙


เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ