ทิฏฐิที่เสมอกัน

 
จักรกฤษณ์
วันที่  17 ส.ค. 2553
หมายเลข  16965
อ่าน  1,952

ขออนุญาตเรียนถามท่านวิทยากรว่า คำว่า "ทิฏฐิที่เสมอกัน" มีกล่าวไว้ในอรรถกถาหรือไม่ และมีความหมายอย่างไรครับ

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 17 ส.ค. 2553

คำว่า ทิฏฐิเสมอกัน หมายถึง มีความเห็นถูกต้องตรงกัน เหมือนกัน ส่วนใหญ่ในพระไตรปิฎกและอรรถกถาหมายถึงสัมมาทิฏฐิขั้นอริยะคือ สัมมาทิฏฐิของพระอริยบุคคล
ดังข้อความจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาตอนหนึ่งว่า

อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีทิฏฐิอันเป็นอริยะ เป็นเครื่องนำออก นำออกไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้กระทำตาม เสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้ข้อนี้ก็เป็นสาราณียธรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สาราณียธรรม ๖ ประการนี้แล

อรรถกถาขยายความว่า

บทว่า ยายํ ทิฏฐิ ได้แก่สัมมาทิฏฐิที่สัมปยุตด้วยมรรค

บทว่าอริยา ได้แก่ ไม่มีโทษ

บทว่า นิยฺยาติ ได้แก่ นำทุกข์ออกไป

บทว่า ตกฺกรสฺส ได้แก่ ผู้กระทำอย่างนั้น.

บทว่า สพฺพทุกฺขกฺขยาย ได้แก่ เพื่อ ความสิ้นทุกข์ในวัฏฏะทั้งปวง

บทว่า ทิฏฐิสามญฺ คตา ความว่า จักเป็นผู้เข้าถึงความเป็นผู้มีทิฏฐิเสมอกันอยู่

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
pirmsombat
วันที่ 17 ส.ค. 2553

ขอบคุณมากและขออนุโมทนาครับ

เป็นคำถามและคำตอบที่ดีมากครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 18 ส.ค. 2553

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 18 ส.ค. 2553

บางคนคบกันด้วยธาตุ เช่น มีศีลเสมอกัน มีทิฏฐิเสมอกัน ฯลฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Komsan
วันที่ 21 ส.ค. 2553

ขอขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
captpok
วันที่ 23 ส.ค. 2553

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 17 พ.ค. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ก.ไก่
วันที่ 6 เม.ย. 2566

ขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ