เป็นเรื่องละตั้งแต่ต้น - ละอย่างไร
ข้อความบางตอนจากการบรรยายธรรมโดยท่านอาจารย์ สุจินต์ บริหารวนเขตต์
ท่านอาจารย์ เมื่อมีสัทธาแล้วก็อย่าให้สัทธานั้นถอย เป็นเรื่องละเอียดที่ท่านผู้ฟังจะเห็นได้ว่า เป็นเรื่องละตั้งแต่ต้น "ละอย่างไร" คือไม่ได้กระตุ้นหรือส่งเสริมให้ไปทำอะไรให้ผิดปกติ นี่คือละความต้องการ ที่จะไปสู่ความเข้าใจผิดในการปฏิบัติ เพราะว่าสภาพธรรมกำลังปรากฏ เพื่อพิสูจน์คือปัญญา สามารถรู้ถูกต้องตามความเป็นจริงไหม ถ้าไม่รู้แล้วจะไปทำอะไร เพื่อจะรู้ ไม่มีทางเลย เพราะว่าปัญญาเป็นเรื่องเข้าใจถูกในลักษณะของสภาพธรรม ซึ่งต้องอาศัยการฟัง เมื่อฟังเข้าใจเรื่องสติสัมปชัญญะ ก็จะทำให้มีความรู้ ความต่างกันของปัญญาขั้นฟัง กับปัญญาที่เป็นขั้นสติที่ระลึก แล้วก็รู้ เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ และถ้าความเข้าใจมีพียงเล็กน้อย ก็ไม่ได้มีการกระตุ้นให้ไปแสวงหา หรือไปทำอย่างอื่่นขึ้นมาให้มาก เพราะว่านั่นไม่ใช่หนทางอีก ถ้าหนทางจริงๆ คือ "อดทน" เรี่มเข้าใจความหมายของ "ขันติคือตบะอย่างยี่ง" ไม่มีอะไรที่จะอดทนเท่ากับ การที่จะค่อยๆ เข้าใจ ลักษณะของสภาพธรม ที่กำลังปรากฏจริงๆ ไม่ใช่การอยากจะเป็นพระโสดาบัน หรือว่าอยากจะรู้แจ้ง อริยสัจจธรรม อยากจะให้วิปัสสนาญาณเกิด ทั้งหมดเป็นเรื่่องอยาก โดยที่ไม่รู้ว่าเหตุที่จะให้เกิดปัญญาขั้นนั้นเกิด คืออย่างไร แต่เป็นการรู้ถูกต้องตามความเป็นจริง ละความต้องการ เพราะรู้เหตุว่า การที่ปัญญาแต่ละขั้นสมบูรณ์ขึ้น ก็เพราะมีความเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม แล้วเวลาใดที่สภาพธรรมปรากฏ สติมีการระลึก ก็จะค่อยๆ รู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้น ตามความเป็นจริง
เพราะฉะนั้น หนทางที่ถูก คือหนทางที่ละโลภะไปเรื่อยๆ ไม่ใช่เป็นหนทางที่ทำให้โลภะเกิดมากๆ โดยที่ไม่รู้ ถ้าเกิดความต้องการ ทราบได้เลย ขณะนั้นหลงลืมสติแล้ว ไม่มีการระลึก ไม่มีการเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏต้องเป็นอย่างนี้ไปทุกชาติที่ได้ฟังพระธรรม แม้สั้น แต่ก็สามารถ ที่จะระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้น ตรงกับที่กำลังได้รับฟัง ธรรม นั้น
ตอนฟังแรกๆ ไม่ค่อยใจเท่าไรนัก ต้องฟังบ่อยๆ จนค่อยๆ เข้าใจเรื่องที่ฟังบ่อยๆ ก็คือ เรื่อง เมตตา พอฟังไปแล้ว ไปฟังเรื่อง ขันติ ช่างเหมือนเรื่องเมตตามาก แต่ก็เป็นคนละเรื่องกัน ฟังแล้วเป็นประโยชน์มากในเรื่องของสงบจิตใจ ขันติคือความอดทน อดกลั้น ความเมตตาทำให้มีจิตไม่พยาบาท ไม่เบียดเบียนผู้อื่นแม้แต่ความคิด และคำพูด ขออนุโมทนาค่ะ