เห็นสุข เห็นทุกข์ เห็นอทุกขมสุข [ทัฏฐัพพสูตรที่ ๕]

 
chaiyut
วันที่  24 ส.ค. 2553
หมายเลข  17026
อ่าน  1,348

[เล่มที่ 29] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 9

ข้อความตอนหนึ่งจาก

ทัฏฐัพพสูตรที่ ๕

[๓๖๘] ถ้าภิกษุใดเห็นสุขโดยความเป็นทุกข์ เห็นทุกข์โดยความเป็นลูกศร เห็นอทุกขมสุขซึ่งมีอยู่นั้นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ภิกษุนั้นเป็นผู้เห็นโดยชอบ ย่อมกำหนดรู้เวทนาทั้งหลายได้ ครั้นกำหนดรู้เวทนาแล้ว เป็นผู้หาอาสวะมิได้ในปัจจุบัน คงอยู่ในธรรม ถึงที่สุดเวทนา เมื่อตาย ไปย่อมไม่นับว่าเป็นผู้กำหนัดขัดเคืองเป็นผู้งมงาย.

อรรถกถาขยายความ

บทว่า ทุกฺขโค ทฏฺฐพฺพา ความว่า พึงเห็นโดยความเป็นทุกข์ด้วยอำนาจความเปลี่ยนแปลง

บทว่า สลฺลโต ความว่า ส่วนทุกข์พึงเห็นว่าเป็นลูกศรด้วยอรรถว่าเป็นเครื่องแทง

บทว่า อนิจฺจโต ความว่า พึงเห็นอทุกขมสุขโดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยอาการมีแล้วก็ไม่มี

บทว่า อทฺท คือ ได้เห็นแล้ว

บทว่า สนฺตํ คือ มีอยู่เป็นภาพ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khunpit
วันที่ 1 ก.ย. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

ดิฉันเป็นผู้ศึกษา พยายามพิจารณาเวทนา เมื่อใดมีสุขเวทนาก็จะประกอบด้วยความพอใจความผูกพันซึ่งเป็นบ่อเกิดของความทุกข์ เมื่อใดมีทุกขเวทนาก็เจ็บปวดแม้แต่ทางกายหรือใจก็ตาม และยามไม่ทุกข์ไม่สุข สักประเดี๋ยวจิตก็จะท่องเที่ยวหาเรื่องเป็นบ่อเกิดทุกข์อีก ส่วนกายนั้นยิ่งร่วงโรยก็ยิ่งเห็นทุกข์ชัดขึ้น แต่ดิฉันยังจมอยู่ในโลก จึงสลัดทิ้งตัวตนไม่ได้คะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 22 ธ.ค. 2565

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ