วิบากจิต อานิสงส์ผล

 
ภัสร์
วันที่  26 ส.ค. 2553
หมายเลข  17044
อ่าน  1,649

เรื่องวิบากจิต ทั้งที่เกิดจากอกุศลและกุศลในอดีต ทั้งอานิสงส์ผล เกิดจากกรรมเก่าแต่ในชีวิตปัจจุบัน สิ่งที่เกิดขึ้น โดยเป็นกรรมใหม่ ที่ผู้อื่นทำก็มี ที่ไม่ใช่วิบากจิต ที่เราได้เคยทำ แต่มีโอกาสได้ประสบก็เป็นได้ใช่ไหมครับ เพราะไม่แน่ใจว่าเป็นอย่างไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 26 ส.ค. 2553

โดยปรมัตถ์มีแต่จิต เจตสิก รูป ในชีวิตประจำวัน จิตบางขณะเป็นชาติอกุศล บางขณะเป็นชาติกุศล บางขณะเป็นชาติวิบาก บางขณะเป็นชาติกิริยา ดังนั้น ในขณะจิตชาติกุศลและชาติอกุศลไม่ใช่วิบาก แต่เป็นการกระทำกรรมใหม่ ซึ่งเป็นเหตุของวิบากต่อไปข้างหน้า แต่ถ้าว่าโดยสมมติโวหารก็คือ มีผู้ทำกรรมใหม่ มีผู้รับผลของกรรมเก่า ผู้ทำร้ายเบียดเบียนผู้อื่นเป็นผู้ทำกรรมใหม่ ผู้ถูกทำร้ายเบียดเบียนเป็นผลของกรรมเก่า..

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 27 ส.ค. 2553

เรียนถาม อ.ประเชิญ ว่า เคยได้ยินมีผู้กล่าวไว้ว่า "เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัส" เป็นกรรมเก่า "การคิดนึก และ การกระทำ" เป็นกรรมใหม่ ไม่ทราบว่าถูกต้องหรือไม่ครับ

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ชีวิตคือขณะจิต
วันที่ 27 ส.ค. 2553

ผมได้ไปอ่านพบว่า กรรมอันพึงเว้นการให้ผลพึงมี ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ -หน้าที่ ๔๖๓

มหาวรรคที่ ๔ อัมพสักขรเปตวัตถุ ดังนี้

กัปปิตกภิกษุทูลว่า ความพินาศแห่งกรรมเหล่านั้น ย่อมไม่มีความพินาศในโลกนี้เกิดขึ้น เพราะความไม่รู้แจ้ง ถ้าเขาพึงเป็นผู้ไม่ประมาท ประพฤติธรรมทั้งหลาย โดยเคารพตลอดคืนและวัน เขาพึงพ้นจากนรกนั้นได้แน่ กรรมอันเว้นจากการให้ผลพึงมี

พระราชาตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญผู้มีปัญญากว้างขวาง ประโยชน์ของบุรุษผู้นี้ ดิฉันรู้ทั่วถึงแล้ว บัดนี้ ขอท่านอนุเคราะห์ดิฉันบ้าง ขอท่านได้กล่าวตักเตือนพร่ำสอนดิฉัน โดยวิธีที่ดิฉันจะไม่พึงไปสู่นรกด้วยเถิด

กัปปิตกภิกษุทูลกษัตริย์ลิจฉวีว่า วันนี้ ขอมหาบพิตรทรงมีพระทัยเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นสรณะ จงทรงสิกขาบท อย่าให้ขาดและด่างพร้อย จงทรงงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ทรงยินดีด้วยพระมเหสีของพระองค์ ไม่ทรงพูดเท็จ ไม่ทรงดื่มน้ำจัณฑ์ และทรงสมาทานอุโบสถศีลอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการอันประเสริฐ เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร จงทรงพระราชทานจีวร บิณฑบาต ที่นอน ที่นั่ง คิลานปัจจัย ข้าว น้ำ ของกิน ของเคี้ยว ผ้า เสนาสนะในภิกษุผู้มีจิตซื่อตรงทั้งหลาย บุญย่อมเจริญทุกเมื่อ ทรงอังคาสภิกษุทั้งหลายผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ปราศจากราคะ เป็นพหูสูต ให้อิ่มหนำด้วยข้าวและน้ำ บุญย่อมเพิ่มพูนทุกเมื่อ เมื่อบุคคลเป็นผู้ไม่ประมาท ประพฤติธรรมโดยเคารพตลอดคืนและวันอย่างนี้ พึงพ้นจากนรกนั้น กรรมที่เว้นจากการให้ผลพึงมี

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
prachern.s
วันที่ 27 ส.ค. 2553

เรียนคุณจักรกฤษณ์ ควรจะกล่าวว่า

"เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัส" เป็นผลของกรรมเก่า (วิบาก)

"การคิดนึก และ การกระทำ" เป็นกรรมใหม่...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chaiyut
วันที่ 27 ส.ค. 2553

กรรมเก่า คือ กุศลกรรม หรือ อกุศลกรรมที่เราได้เคยกระทำไปแล้วในอดีตครับ ในชีวิตประจำวัน ขณะที่เห็น ได้ยิน...กระทบสัมผัส สิ่งที่ดี วิบากจิตขณะนั้น เป็นผลของกรรมเก่าฝ่ายดี เป็นกุศลวิบาก ส่วนขณะที่เห็น ได้ยิน...กระทบสัมผัส กับสิ่งที่ไม่ดี วิบากจิตขณะนั้น เป็นผลของกรรมเก่าฝ่ายไม่ดี เป็นอกุศลวิบากครับ ไม่มีใครทำให้ แต่กรรมได้มีแล้ว ได้กระทำไว้แล้วในอดีต เมื่อถึงเวลากรรมนั้นก็ให้ผล แต่หลังจากที่รับผลของกรรมทางตา หู ....กายแล้ว ก็จะเป็นไปตามกำลังการสะสมทางฝ่ายอกุศล หรือ กุศล ที่สะสมมา ซึ่งเป็นกรรมใหม่ และจะเป็นปัจจัยให้กระทำกรรมที่จะให้ผลในเบื้องหน้าครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
h_peijen
วันที่ 28 ส.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 28 ส.ค. 2553

ขอบพระคุณและขออนุโมทนา อ.ประเชิญ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
อินทิรา
วันที่ 29 ส.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ชีวิตคือขณะจิต
วันที่ 30 ส.ค. 2553

ความคิดเห็นที่ 4 ท่านดำริชอบแล้วขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ภัสร์
วันที่ 30 ส.ค. 2553

ขอบคุณ คุณประเชิญ อย่างมากครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
Belief
วันที่ 21 ต.ค. 2553

เรียนถาม อ.ประเชิญ ว่า "เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัส" เป็นกรรมเก่า "การคิดนึก และ การกระทำ" เป็นกรรมใหม่ คืออย่างไรคะไม่เข้าใจเลยคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
prachern.s
วันที่ 21 ต.ค. 2553

เรียนคุณ Belief

ขณะจิตที่กำลังเห็น ได้ยิน เป็นต้น เป็นจิตชาติวิบาก เป็นผลของกรรมเก่า ขณะจิตที่คิดนึก (ชวนะ) เป็นกุศลจิตหรืออกุศลจิต เป็นเหตุให้เกิดวิบากในอนาคต จึงเรียกว่ากรรมใหม่ครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ