ปฐมกาลสูตร และ ทุติยกาลสูตร ... เสาร์ที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๓
••• ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย •••
... สนทนาธรรมที่ ...
••• มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา •••
พระสูตร ที่นำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ
วันเสาร์ ๔ ก.ย. ๒๕๕๓ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. คือ
ปฐมกาลสูตร (ว่าด้วยกาล ๔)
[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต เล่มที่ ๓๕ - หน้าที่ ๓๖๓
... และ ...
ทุติยกาลสูตร (ว่าด้วยกาล ๔)
[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต เล่มที่ ๓๕ - หน้าที่ ๓๖๔ - ๓๖๕
... นำสนทนาโดย ...
ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และคณะวิทยากร
[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต เล่มที่ ๓๕ - หน้าที่ ๓๖๓
๖. ปฐมกาลสูตร (ว่าด้วยกาล ๔)
[๑๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาล ๔ นี้ กาล ๔ เป็นไฉน? คือ กาเลน ธมฺมสฺสวนการฟังธรรมตามกาล กาเลน ธมฺมสากจฺฉา การสนทนาธรรมตามกาล กาเลน สมโถ สมถะตามกาล กาเลน วิปสฺสนา วิปัสสนาตามกาล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล กาล ๔.
จบปฐมกาลสูตรที่ ๖
อรรถกถาปฐมกาลสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในปฐมกาลสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :- บทว่า กาลา คือกาลที่เหมาะที่ควร. บทว่า กาเลน ธมฺมสฺสวนได้แก่ การฟังธรรมในเวลาที่เหมาะที่ควร. บทว่า ธมฺมสากจฺฉา ความว่า การสนทนาที่เป็นไปด้วยอำนาจการถามและการตอบปัญหา.
จบอรรถกถาปฐมกาลสูตรที่ ๖.
[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต เล่มที่ ๓๕ - หน้าที่ ๓๖๔ - ๓๖๕
๗. ทุติยกาลสูตร (ว่าด้วยกาล ๔)
[๑๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาล ๔ นี้ อันบุคคลบำเพ็ญโดยชอบ ให้เป็นไปตามลำดับโดยชอบอยู่ ย่อมจะยังบุคคลให้ถึงความสิ้นอาสวะโดยลำดับ กาล ๔เป็นไฉน? คือ การฟังธรรมตามกาล ๑ การสนทนาธรรมตามกาล ๑ สมถะตามกาล ๑ วิปัสสนาตามกาล ๑ นี้แลกาล ๔ อันบุคคลบำเพ็ญโดยชอบ ให้เป็นไปตามลำดับโดยชอบอยู่ ย่อมจะยังบุคคลให้ถึงความสิ้นอาสวะโดยลำดับ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดหนาตกบนภูเขา น้ำไหลไปตามที่ลุ่ม ยังซอกเขาและลำรางทางน้ำให้เต็ม ซอกเขาและลำรางทางน้ำเต็มแล้วย่อมยังหนองให้เต็ม หนองเต็มแล้ว ย่อมยังบึงให้เต็ม บึงเต็มแล้ว ย่อมยังคลองให้เต็ม คลองเต็มแล้ว ย่อมยังแม่น้ำให้เต็ม แม่น้ำเต็มแล้ว ย่อมยังทะเลให้เต็มฉันใด กาล ๔ นี้ เมื่อบุคคลบำเพ็ญโดยชอบ ให้เป็นไปตามลำดับโดยชอบอยู่ย่อมยังบุคคลให้ถึงความสิ้นอาสวะโดยลำดับ ฉันนั้นแล.
จบทุติยกาลสูตรที่ ๗
อรรถกถาทุติยกาลสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในทุติยกาลสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :- บทว่า กาลา นั่น เป็นชื่อแห่งกุศลธรรมที่เป็นไปด้วยอำนาจการฟังธรรม เป็นต้นในกาลนั้นๆ กาลเหล่านั้น จักแจ่มชัด และจักเป็นไป. บทว่า อาสวานํ ขยํได้แก่ พระอรหัตต์.
จบอรรถกถาทุติยกาลสูตรที่ ๗.
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ข้อความโดยสรุป
ปฐมกาลสูตร และ ทุติยกาลสูตร (ว่าด้วยกาล ๔)
ทั้งสองพระสูตร ต่างเป็นพระธรรมเทศนาที่ว่าด้วยกาล ๔ ประการ เหมือนกัน กล่าวคือ ในปฐมกาลสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงว่า เวลาแห่งการเจริญขึ้นของกุศล หรือ การเจริญกุศลตามกาลอันเหมาะควร มีดังนี้ คือ การฟังธรรมตามกาล การสนทนาธรรมตามกาล การเจริญสมถะ (ความสงบของจิต) ตามกาล การเจริญวิปัสสนา (ปัญญาที่เห็นอย่างแจ่มแจ้ง) ตามกาล
แต่ในทุติยกาลสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงให้ยิ่งขึ้นไปว่า เมื่อเจริญกุศลทั้ง ๔ ประการตามกาลแล้ว สามารถทำให้ถึงซึ่งความเป็นผู้สิ้นอาสวะ คือ บรรลุเป็นพระอรหันต์ ห่างไกลจากกิเลสโดยประการทั้งปวง. ขอเชิญคลิกอ่านข้อความต่อไปนี้เพิ่มเติม เพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้น ครับ
อานิสงส์การฟังธรรม ๔ ประการ เพราะไม่ได้ฟังธรรม ย่อมเสื่อมรอบ สาวกคือ ผู้ฟัง ประโยชน์จากการสนทนาธรรม สมถภาวนา วิปัสสนาภาวนา
สมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา มีจุดประสงค์ต่างกันอย่างไร บุญญกิริยาวัตถุ ๑๐...วิปัสสนาภาวนา ฯลฯ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
....................
พระสูตร ที่นำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ
วันเสาร์ ๒๘ ส.ค. ๒๕๕๓ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. คือ
ปฐมกาลสูตร
..................
เรียนถามว่า วันที่ เป็น เสาร์ ที่ ๔ ก.ย. ๒๕๕๓ หรือเปล่า ครับ