ศิลปะ [มังคลัตถทีปนีแปล]

 
JANYAPINPARD
วันที่  30 ส.ค. 2553
หมายเลข  17067
อ่าน  4,726

มังคลัตถทีปนีแปล เล่ม ๒ - หน้าที่ 22

กถาว่าด้วยศิลปะ

[๑๒๘] ความเป็นผู้ฉลาดในหัตถกรรมมี ๒ อย่าง ด้วยสามารถแห่งศิลปะของบรรพชิตและคฤหัสถ์ ชื่อว่าศิลปะ. [อนาคาริยศิลปะ] ในศิลปะ ๒ อย่างนั้น การตกแต่งสมณบริขาร มีการกะและเย็บจีวรเป็นต้น ที่พระผู้มีพระภาคทรงพรรณนาไว้ในสัตตมสูตร ๑ ทุติยวรรค แห่งทสกนิบาตอังคุตตรนิกาย อย่างนี้ว่า "ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานอะไรที่จะพึงช่วยกันทำ ทั้งสูง ทั้งต่ำ ของเพื่อนพรหมจารีด้วยกันประกอบพร้อมด้วยปัญญาเครื่องสอบสวน อันเป็นอุบายในการงานที่จะพึงช่วยกันทำนั้นอาจทำ อาจจัดได้; ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ขยัน ฯลฯ อาจจัดได้ แม้ใด; ธรรมแม้นี้ ชื่อว่านาถกรณธรรม" ดังนี้ ชื่อว่า ศิลปะของบรรพชิต


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
miran
วันที่ 29 ส.ค. 2554

มังคลัตถทีปนีแปล เล่ม ๒ - หน้าที่ 29

อาคาริยศิลปะ

[๑๓๖] ชื่อว่าศิลปะของคฤหัสถ์ มีมากชนิด. ในศิลปะเหล่านั้นกิจการใด เว้นจากการเบียดเบียนชีวิตของสัตว์อื่น เว้นจากอกุศลกรรม มีการงานของช่างแก้วและช่างทองเป็นต้น กิจการนั้น จัดเป็นมงคล เพราะนำมาซึ่งประโยชน์ในโลกนี้

มังคลัตถทีปนีแปล เล่ม ๒ - หน้าที่ 31

[๑๓๗] แต่เพราะท่านกล่าวไว้โดยไม่แปลกกันว่า "ความเป็นผู้ฉลาดในหัตถกรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อศิลปะ" ดังนี้ ศิลปะแห่งช่างสานเป็นอาทิก็ดี ศิลปะดีดกรวดก็ดี อันมีมาในวิภังค์แห่งโอมสวาทสิกขาบท จึงนับเข้าด้วย. ช่างสานชื่อว่านฬการ ในคำว่า นฬการาทิสิปฺปญฺเจว นั้น. แม้ศิลปะของช่างสานนั้น ก็เป็นมงคล เพราะนำมาซึ่งประโยชน์

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 13 ธ.ค. 2563

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ