เมื่อไรจะถึง...ไม่มีวันถึง

 
๐คุณย่า๐
วันที่  3 ก.ย. 2553
หมายเลข  17096
อ่าน  1,178


ประจำวันอาทิตย์ ที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๒ ครั้งที่ ๘๖

" เมื่อไรจะถึง...ไม่มีวันถึง "

เด่นพงษ์ อย่างที่ท่านอาจารย์กรุณาแนะนำเดี๋ยวนี้ ผมก็ยังนึกไม่ออก เมื่อไรจึงจะรู้ว่า สภาพที่เห็น กับ สิ่งที่เห็น หรือว่าอะไรต่างๆ นี้ พอไปถึงได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส ก็คงถามไปแบบนี้ แล้วที่สำคัญอีกตัวหนึ่ง สุดท้ายก็คือว่า ความเป็นเรานี้ ผมไม่ทราบว่า อีกกี่ชาติ หรืออีกกี่กัป แล้วก็ไม่ควร ไปคิดถึงวิปัสสนา หรือ สติปัฏฐาน ๔ หรือเราไม่ควรจะพูดถึงนิพพาน อันนี้ผมเห็นด้วย แต่ยังไงไม่ทราบมันเหมือนกับทานข้าวแล้ว ยังไม่ได้ทานน้ำ แล้วอาจารย์ก็พูดถึงว่า น้ำอร่อยนะ หลังจากทานอาหาร แล้วก็ทานน้ำ อย่าพึ่งไปคิดถึงของหวานเลย เรายังไม่รู้จักข้าวดีพอ กินข้าวไปก่อนๆ มันไม่อิ่มหรอกครับ มันแห้งๆ อยู่ครับ

ท่านอาจารย์ ที่คุณเด่นพงษ์พูดนี้นะคะ มีทั้ง ถูก และ ผิด ค่ะ รู้ไหมว่าตอนไหนถูก ตอนไหนผิดที่ว่า “แล้วเมื่อไร” จะถึง ถามอย่างนี้ เมื่อไร จะถึง...ไม่มีวันถึง เพราะเป็นเรื่องจะต้องการ “เอา” ไม่ใช่เป็นเรื่อง “ละความไม่รู้” เพราะว่า การถึงธรรม คือการละความไม่รู้ จนสามารถที่จะประจักษ์ลักษณะของธาตุที่เป็นนิพพาน ที่เป็นอริยสัจจะ แต่ด้วยการละความไม่รู้และละความติดข้อง

เพราะฉะนั้น ถ้าตราบใดที่ยังมีคำถามว่า "แล้วเมื่อไร" ไม่มีวัน จะถึงเลยค่ะ เป็นการหวังอยู่ตลอด แล้วความเข้าใจล่ะทำไมไม่พูดถึงว่า ขณะนี้ ยังไม่ได้เข้าใจ ลักษณะของสภาพธรรม ที่กำลัง ปรากฏ แล้วจะไปถามว่าแล้วเมื่อไรจะถึง จะถึงการละการติดข้องในสภาพธรรมที่ปรากฏได้อย่างไร ในเมื่อกำลังปรากฏก็ยังไม่ละ เพราะว่าต้องการ

เพราะฉะนั้น การฟังธรรม จึงเป็นเรื่องที่ ละเอียด แล้วก็ไม่ลืม พระธรรมทั้งหมดทรงแสดง เพื่อละ ไม่ใช่ด้วยความเป็นเรา แต่่ด้วยความรู้ถูก เห็นถูก ว่าไม่มีเรา จึงละได้ แต่ถ้าเป็น "แล้วเมื่อไร เราจะรู้สภาพธรรม" ก็ไม่มีวันที่จะถึงการละได้เลย

เด่นพงษ์ เราหัดละความ “เรา” ขอโทษครับ หัดละความเป็นเรา ไม่ได้หรือ ครับ

ท่านอาจารย์ เรานี่ ไม่ใช่ความรู้ ฝึกก็คือเราฝึก จะละด้วยวิธีการที่ฝึก “ปัญญา” ไม่ใช่คุณเด่นพงษ์ ความเห็นถูกละความเห็นผิด ความรู้ละความไม่รู้ เพราะฉะนั้น ในระหว่างที่ฟังแล้วฟังอีก เป็นกถา หรือ คำพูด เป็น "วิริยารัมภกถา" ไม่ใช่ไม่ให้มีวิริยะ แต่ให้เข้าใจถูกต้อง ว่าที่ฟังนี้เพื่อความเข้าใจถูก เพื่อละ แล้วยังไม่ละ แต่ฟังอีกเพื่อละ ก็คือ เป็นความเพียรเป็นกถาที่ไม่ใช่ให้ทำ ทำอย่างนี้ ทำอย่างนั้นแล้วจะถึง นั่นคือ ไม่ใช่วิริยารัมภกถา ไม่ใช่กถาที่ ทำให้เริ่มมีความเพียร เพื่อที่จะรู้ความจริงของสิ่งที่กำลังมีจริงๆ ขณะนี้กำลังปรากฏ เพื่อละ ความไม่รู้ คิดถึงการละความไม่รู้ เพราะว่าถ้ายังคงมีความไม่รู้อยู่ ก็ไม่สามารถจะถึงอะไรได้เลยทั้งสิ้น ที่เป็นธรรม ที่เป็นอริยสัจธรรม


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
hadezz
วันที่ 3 ก.ย. 2553

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 3 ก.ย. 2553

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ประสาน
วันที่ 4 ก.ย. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ผิน
วันที่ 5 ก.ย. 2553

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
choonj
วันที่ 6 ก.ย. 2553

" วิริยารัมภกถา ไมใช่ไม่ให้มีวิริยะ แต่ให้ฟังอีกเพื่อละ ก็คือเป็นความเพียร เป็นกถาที่ไม่ใช่ให้ทำ เพราะถ้ามีคนหรือตัวทำ ก็ไม่มีวันถึง "อนุโมทนา ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Komsan
วันที่ 7 ก.ย. 2553

กราบอนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
pamali
วันที่ 8 ก.ย. 2553

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 23 พ.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ