สุขวรรคที่ ๒ ... เสาร์ที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๕๓

 
บ้านธัมมะ
วันที่  6 ก.ย. 2553
หมายเลข  17105
อ่าน  1,910

••• ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย •••

... สนทนาธรรมที่ ...

••• มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา •••

พระสูตร ที่นำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ

วันเสาร์ ๑๑ ก.ย. ๒๕๕๓ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. คือ

สุขวรรคที่ ๒ (ว่าด้วยสุข ๒ อย่าง) จาก ...

[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒- หน้าที่ ๔๓๒-๔๓๙

... นำสนทนาโดย ...

ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และคณะวิทยากร

[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ ๔๓๒-๔๓๙

สุขวรรคที่ ๒ (ว่าด้วยสุข ๒ อย่าง)

สูตรที่ ๑

[๓๐๙] ๖๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สุขของคฤหัสถ์ ๑ สุขเกิดแต่บรรพชา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสุข ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขเกิดแต่บรรพชาเป็นเลิศ.

จบสูตรที่ ๑.

สูตรที่ ๒

[๓๑๐] ๖๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ กามสุข ๑ เนกขัมมสุข ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลายบรรดาสุข ๒ อย่างนี้ เนกขัมมสุขเป็นเลิศ.

จบสูตรที่ ๒.

สูตรที่ ๓

[๓๑๑] ๖๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สุขเจือกิเลส ๑ สุขไม่เจือกิเลส ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขไม่เจือกิเลสเป็นเลิศ.

จบสูตรที่ ๓.

สูตรที่ ๔

[๓๑๒] ๖๖. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็น ไฉน คือ สุขมีอาสวะ ๑ สุขไม่มีอาสวะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขไม่มีอาสวะเป็นเลิศ.

จบสูตรที่ ๔.

สูตรที่ ๕

[๓๑๓] ๖๗. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สุขอิงอามิส ๑ สุขไม่อิงอามิส ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขไม่อิงอามิสเป็นเลิศ.

จบสูตรที่ ๕.

สูตรที่ ๖

[๓๐๔] ๖๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สุขของพระอริยเจ้า ๑ สุขของปุถุชน ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขของพระอริยเจ้าเป็นเลิศ.

จบสูตรที่ ๖.

สูตรที่ ๗

[๓๑๕] ๖๙. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ กายิกสุข ๑ เจตสิกสุข ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ เจตสิกสุขเป็นเลิศ.

จบสูตรที่ ๗.

สูตรที่ ๘

[๓๑๖] ๗๐. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สุขอันเกิดแต่ฌานที่ยังมีปีติ ๑ สุขอันเกิดแต่ฌานที่ไม่มีปีติ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสุข ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขอันเกิดแต่ฌานไม่มีปีติเป็นเลิศ.

จบสูตรที่ ๘.

สูตรที่ ๙

[๓๑๗] ๗๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือสุขเกิดแต่ความยินดี ๑ สุขเกิดแต่ความวางเฉย ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขเกิดแต่การวางเฉยเป็นเลิศ.

จบสูตรที่ ๙.

สูตรที่ ๑๐

[๓๑๘] ๗๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สุขที่ถึงสมาธิ ๑ สุขที่ไม่ถึงสมาธิ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขที่ถึงสมาธิเป็นเลิศ.

จบสูตรที่ ๑๐.

สูตรที่ ๑๑

[๓๑๙ ] ๗๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง เป็นไฉน คือสุขเกิดแต่ฌานมีปีติเป็นอารมณ์ ๑ สุขเกิดแต่ฌานไม่มีปีติเป็นอารมณ์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขเกิดแต่ฌานไม่มีปีติเป็นอารมณ์เป็นเลิศ.

จบสูตรที่ ๑๑.

สูตรที่ ๑๒

[๓๒๐] ๗๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สุขที่มีความยินดีเป็นอารมณ์ ๑ สุขที่มีความวางเฉยเป็นอารมณ์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสุข ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลายบรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขที่มีความวางเฉยเป็นอารมณ์เป็นเลิศ.

จบสูตรที่ ๑๒.

สูตรที่ ๑๓

[๓๒๑] ๗๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สุขที่มีรูปเป็นอารมณ์ ๑ สุขที่ไม่มีรูปเป็นอารมณ์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขที่ไม่มีรูปเป็นอารมณ์เป็นเลิศ.

จบสูตรที่ ๑๓.

จบสุขวรรคที่ ๒. สุขวรรคที่ ๒

อรรถกถาสูตรที่ ๑

สุขวรรคที่ ๒ สูตรที่ ๑ (ข้อ ๓๐๙) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. บทว่า คิหิสุข ได้แก่ ความสุขทุกอย่างของคฤหัสถ์ทั้งหลายที่มีความสำเร็จกามเป็นมูล. บทว่า ปพฺพชฺชาสุข ได้แก่ ความสุขที่มีการบรรพชาเป็นมูล.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๑.

อรรถกถาสูตรที่ ๒

ในสูตรที่ ๒ (ข้อ ๓๑๐) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. บทว่า กามสุข ได้แก่ ความสุขที่เกิดขึ้นเพราะปรารภกาม.บทว่า เนกฺขมฺมสุขํความว่า บรรพชา ท่านเรียกว่าเนกขัมมะ สุขที่เกิดขึ้นเพราะปรารภเนกขัมม นั้น.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๒.

อรรถกถาสูตรที่ ๓

ในสูตรที่ ๓ (ข้อ ๓๑๑) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. บทว่า อุปธิสุข ได้แก่ สุขที่เป็นไปในภูมิ ๓. บทว่า นิรูปธิสุข ได้แก่ สุขที่เป็นโลกุตระ.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๓.

อรรถกถาสูตรที่ ๔

ในสูตรที่ ๔ (ข้อ ๓๑๒) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. บทว่า สาสวสุข ได้แก่ สุขในวัฏฏะ ซึ่งเป็นปัจจัยแก่อาสวะทั้งหลาย. บทว่าอนาสวสุข ได้แก่ สุขในพระนิพพาน ซึ่งไม่เป็นปัจจัยแก่อาสวะเหล่านั้น.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๔.

อรรถกถาสูตรที่ ๕

ในสูตรที่ ๕ (ข้อ ๓๑๓) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. บทว่า สามิส ได้แก่ สุขเครื่องให้ถึงวัฏฏะ ยังมีกิเลส. บทว่า นิรามิส ได้แก่สุขเครื่องให้ถึงพระนิพพาน ปราศจากกิเลส.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๕.

อรรถกถาสูตรที่ ๖

ในสูตรที่ ๖ (ข้อ ๓๑๔) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. บทว่า อริยสุข ได้แก่ สุขของอริยบุคคล. บทว่า อนริยสุข ได้แก่ สุขของปุถุชน.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๖.

อรรถกถาสูตรที่ ๗

ในสูตรที่ ๗ (ข้อ ๓๑๕) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. บทว่า กายิก ได้แก่ สุขที่เกิดร่วมกับกายวิญญาณ. บทว่า เจตสิก ได้แก่สุขที่เกิดทางมโนทวาร. ตรัสคละกันทั้งโลกิยะและโลกุตระ.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๗.

อรรถกถาสูตรที่ ๘

ในสูตรที่ ๘ (ข้อ ๓๑๖) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. บทว่า สปฺปีติก ได้แก่ สุขในปฐมฌานและทุติยฌาน. บทว่า นิปฺปีติกได้แก่ สุขในตติยฌานและจตุตถฌาน. บรรดาสุข ๒ อย่างนั้น พึงทราบความเป็นเลิศโดยไม่แบ่งชั้นอย่างนี้ คือ สุขปราศจากปีติที่เป็นโลกิยะ เลิศกว่าสุขมีปีติที่เป็นโลกิยะ และสุขปราศจากปีติที่เป็นโลกุตระ เลิศกว่าสุขมีปีติที่เป็นโลกุตระ.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๘.

อรรถกถาสูตรที่ ๙

ในสูตรที่ ๙ (ข้อ ๓๑๗) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. บทว่า สาตสุข ได้แก่ สุขในฌานทั้ง ๓. บทว่า อุเปกฺขาสุข ได้แก่ สุขในจตุตถฌาน.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๙.

อรรถกถาสูตรที่ ๑๐

ในสูตรที่ ๑๐ (ข้อ ๓๑๘) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. บทว่า สมาธิสุข ได้แก่ สุขที่ถึงอัปปนาสมาธิ หรือ อุปจารสมาธิ. บทว่าอสมาธิสุข ได้แก่ สุขที่ไม่ถึงสมาธิทั้งสองนั้น.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๐.

อรรถกถาสูตรที่ ๑๑

ในสูตรที่ ๑๑ (ข้อ ๓๑๙) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. บทว่า สปฺปีติการมฺมณ ได้แก่ สุขที่เกิดขึ้นแก่ผู้พิจารณาฌานทั้งสอง ที่มีปีติเป็นอารมณ์ แม้ในฌาน ที่ไม่มีปีติเป็นอารมณ์ ก็นัยนี้แหละ.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๑.

อรรถกถาสูตรที่ ๑๒

ในสูตรที่ ๑๒ (ข้อ ๓๒๐) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๒.

อรรถกถาสูตรที่ ๑๓

ในสูตรที่ ๑๓ (ข้อ ๓๒๑) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. บทว่า รูปารมฺมณ ได้แก่ สุขที่เกิดขึ้นเพราะปรารภรูปอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเป็นอารมณ์ของรูปาวรจตุตถฌาน. บทว่า อรูปารมฺมณ ได้แก่ สุขที่เกิดขึ้นเพราะปรารภอรูปอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเป็นอารมณ์ของอรูปาวจรฌาน.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๓.

จบสุขวรรคที่ ๒ .


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 6 ก.ย. 2553

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความโดยสรุป

สุขวรรคที่ ๒ (ว่าด้วยสุข ๒ อย่าง)

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงพระสูตรที่ว่าด้วยสุข ๒ อย่าง โดยนัยต่างๆ รวม๑๓ พระสูตร ดังต่อไปนี้ .-

สูตรที่ ๑. สุขของคฤหัสถ์ กับ สุขที่เกิดจากการบวชสูตรที่ ๒. สุขเกิดจากกาม กับ สุขเกิดจากการออกจากกามสูตรที่ ๓. สุขที่เจือด้วยกิเลส (คือ สุขที่เป็นไปในภูมิ ๓) กับ สุขไม่เจือด้วยกิเลส (คือสุขที่เป็นโลกุตตระ) สูตรที่ ๔. สุขที่มีอาสวะ (คือ สุขในวัฏฏะ) กับ สุขที่ไม่มีอาสวะ (คือ สุขในพระนิพพาน) สูตรที่ ๕. สุขที่อิงอามิส (คือ สุขเครื่องให้ถึงวัฏฏะ) กับ สุขที่ไม่อิงอามิส (คือ สุขเครื่องให้ถึงพระนิพพาน) สูตรที่ ๖. สุขของพระอริยบุคคล กับ สุขของปุถุชนสูตรที่ ๗. สุขทางกาย กับ สุขทางใจสูตรที่ ๘. สุขที่เกิดจากฌานมีปีติ (คือ สุขในฌานที่ ๑ - ๒) กับ สุขที่เกิดจากฌานไม่มีปีติ (คือ สุขในฌานที่ ๓ - ๔) สูตรที่ ๙. สุขที่เกิดแต่ความยินดี (คือ สุขในฌานที่ ๑ - ๓) กับ สุขที่เกิดแต่ความวางเฉย (คือ สุขในฌานที่ ๔) สูตรที่ ๑๐. สุขที่ถึงสมาธิ (คือ สุขที่ถึงอัปปนาสมาธิ หรือ อุปจารสมาธิ) กับ ความสุขที่ไม่ถึงสมาธิ (คือสุขที่ไม่ถึงอัปปนาสมาธิ หรือ อุปจารสมาธิ)

สูตรที่ ๑๑. สุขที่เกิดแต่ฌานมีปีติเป็นอารมณ์ (คือ สุขที่เกิดขึ้นแก่ผู้ พิจารณาฌานที่ ๑ - ๒) กับ สุขที่เกิดแต่ฌานไม่มีปีติเป็นอารมณ์ (คือ สุขที่เกิดขึ้นแก่ผู้ พิจารณาฌานที่ ๓ - ๔) สูตรที่ ๑๒. สุขที่มีความยินดีเป็นอารมณ์ (คือ สุขที่เกิดขึ้นแก่ผู้พิจารณาฌานที่๑ - ๓) กับ สุขที่มีความวางเฉยเป็นอารมณ์ (คือ สุขที่เกิดขึ้นแก่ผู้พิจารณาฌานที่ ๔) สูตรที่ ๑๓. สุขที่มีรูปเป็นอารมณ์ (คือสุขที่เกิดขึ้นเพราะปรารภอารมณ์ของรูปฌาน) กับ สุขที่ไม่มีรูปเป็นอารมณ์ (คือ สุขที่เกิดขึ้นเพราะปรารภอารมณ์ของอรูปฌาน) . หมายเหตุ เนื่องจากเป็นพระสูตรสั้น บทสรุปจึงเป็นอย่างนี้ ครับ ขอเชิญคลิกอ่านข้อความต่อไปนี้เพิ่มเติมเพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้นครับ

ความสุข ชีวิตที่เหลืออยู่ ทุกข์กาย...ทุกข์ใจ? เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ความสุขของคฤหัสถ์ เกิดจากอะไร [อันนนาถสูตร] โรคกาย โรคใจ [โรคสูตร] พระอรหันต์สิ้นสุดการเดินทางในสังสารวัฏฏ์ [คาถาธรรมบท] ผู้ไม่มีโอกาสยกศีรษะขึ้นจากวัฏฏทุกข์ได้ [อภัยเถรคาถา] ฯลฯ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ประสาน
วันที่ 7 ก.ย. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
hadezz
วันที่ 8 ก.ย. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
tanakase
วันที่ 8 ก.ย. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
uls
วันที่ 8 ก.ย. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Buppha
วันที่ 9 ก.ย. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
prakaimuk.k
วันที่ 10 ก.ย. 2553

พระสูตรดีมาก ลึกซึ้งมากค่ะ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
raynu.p
วันที่ 10 ก.ย. 2553

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 10 ก.ย. 2553

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ที่พึ่งที่ระลึก
วันที่ 10 ก.ย. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
orawan.c
วันที่ 10 ก.ย. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ