ความกำหนัด
การอบรมเจริญเมตตา เป็นเรื่องละเอียด เพราะสภาพธรรมต้องตรงตามความจริง คือ ขณะที่กุศลจิตเกิดแม้เพียงเล็กน้อย ก็ต่างกับขณะที่ โลภะเกิดมากๆ แต่ถ้าสติปัฏฐาน หรือสติสัมปชัญญะไม่เกิด จะรู้ได้อย่างไรว่า ขณะใดเป็นโลภะ ขณะใดเป็นเมตตา เมื่อไม่รู้ จึงอาจเจริญโลภะแทน เจริญเมตตาก็ได้ ฉะนั้น จึงจำเป็นจะต้องศึกษาโดยละเอียด ให้รู้ลักษณะที่ต่างกัน ของโลภะและเมตตา ข้อความใน...
อัฏฐสาลินี นิกเขปกัณฑ์ อธิบาย นิทเทสโลภะ
(๑๐๖๕) แสดงลักษณะอาการต่างๆ ของโลภะ ที่ต่างกับเมตตา มีข้อความว่า ชื่อว่า ความกำหนัด เนื่องด้วยความยินดี ชื่อว่า ความกำหนัดนัก โดยความหมายว่ายินดีรุนแรง ชื่อว่า ความคล้อยตามอารมณ์ เพราะยังสัตว์ทั้งหลาย ให้คล้อยตามไปในอารมณ์ทั้งหลาย
นี่เป็นชีวิตประจำวัน ที่จะต้องพิจารณาจริงๆ ว่าใน ขณะใดที่เมตตาไม่เกิด จิตย่อมคล้อยตามโลภะไปในอารมณ์ต่างๆ อยู่ตลอดเวลา ถ้าไม่สังเกตจะไม่รู้เลยว่า จิตคล้อยตามโลภะอยู่เสมอ เมื่อมีความยินดีพอใจในอารมณ์ใด ก็กระทำตามความคิดตามความพอใจในอารมณ์นั้นทุกอย่าง ในขณะนั้นรู้ได้ว่าไม่ใช่เมตตา เมื่อรู้ลักษณะของโลภะแล้วภายหลังเมื่อเมตตาเกิด ก็จะเปรียบเทียบได้ถูกต้องว่าลักษณะของโลภะต่างกับลักษณะ ของเมตตา....
ยกมาจาก ธัมมนิเทส โลภะ บางเบา แทรกอยู่ในอากาศ ฉวยโอกาสอยู่เนืองๆ ตามกำลัง ความเข้มข้น แล้วก็หลอกซะสนิทเลย
ถ้าปัญญาไม่เกิด ไม่เจริญขึ้น ก็ไม่มีทางที่จะละ โลภะ โทสะ โมหะนอกจากศึกษาธรรมให้เข้าใจ แล้วปัญญาค่อยๆ จริญขึ้น จึงจะละ อกุศลได้ตามลำดับค่ะ
ในชีวิตประจำวันการกระทำต่างๆ คล้อยตามโลภะอยู่เสมอ...โดนหลอกเสมอๆ เลยค่ะ ถ้าปัญญาไม่เกิด ไม่เจริญขึ้น ก็ไม่มีทางที่จะละโลภะ โทสะ โมหะ...
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาผู้โพสกระทู้ด้วยค่ะ เตือนให้ไม่ประมาทโลภะ... โลภะที่ บางเบา แทรกอยู่ในอากาศ ฉวยโอกาสอยู่เนืองๆ แล้วก็หลอกซะสนิทเลย
ขออนุโมทนาค่ะ
ถ้าไม่เจอพระธรรม ไม่เจอสถานที่แห่งนี้ ชีวิตนี้คงไม่พบสิ่งที่มีค่าที่สุด