ขอขมาพระรัตนตรัย - ขอโทษต่อผู้ที่เราได้กระทำผิด

 
๐คุณย่า๐
วันที่  15 ก.ย. 2553
หมายเลข  17206
อ่าน  8,564

ครั้งที่ ๘๔

วันอาทิตย์ที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๒

"ขอขมาพระรัตนตรัย - ขอโทษต่อผู้ที่เราได้กระทำผิด"

ท่านอาจารย์ ก็ต้องเป็นความชัดเจน ไม่ว่าจะพูดถึงเรื่องอะไร ก็ควรที่จะให้ได้เข้าใจ กระจ่างเท่าที่จะเข้าใจได้ เพราะฉะนั้น คุณบุษกร ก็คงคิดถึงว่า พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ปรินิพพานแล้ว แล้วเรา จะไปขอขมาอะไรอย่างนี้ ก็ดูเหมือนว่า แล้วจะหายหรือ ที่เราได้กระทำ ไป ขอขมา แต่ว่าตามความเป็นจริง ไม่ว่าใครก็ตามที่ได้กระทำกรรม แล้ว ถึงแม้คนอื่นจะยกโทษ แต่กรรมนั้น ก็ยังเป็นเหตุ ให้เกิดผล ถูกไหมคะ?

เพราะฉะนั้น แต่ละคนก็มีทั้งกุศลกรรมและอกุศลกรรม โดยเฉพาะ การที่จะกล่าวคำขอโทษ หมายความว่า คนนั้น ต้องรู้สึกตัวจริงๆ ว่าทำสิ่งที่ผิด เพราะว่าไม่ควร เพราะฉะนั้น บางคนรู้ตัวว่าผิด ขอโทษไม่ได้ไม่ได้เลยค่ะ ทั้งๆ ที่ผิด ก็ไม่ยอมที่จะขอโทษ นั่นก็ แสดงให้เห็นว่า ไม่มีกุศลจิต ไม่ละอายในอกุศลที่ได้กระทำแล้วต่อสิ่ง ที่เป็นพระรัตนตรัยหรือว่าบุคคลหนึ่งบุคคลใดก็ตาม เพราะฉะนั้น ขณะ ใดก็ตามที่เกิดกุศลจิต นอบน้อมต่อผู้ที่เราขอขมา เป็นการแสดงความ เคารพ ความนอบน้อมนั่นเองค่ะ

เราจะไม่ขอโทษ คนที่เราเห็นว่าเขาไม่สมควรใช่ไหมคะ บางคน อาจจะเป็นคนที่ร้าย และเป็นอกุศลมากๆ ทำสิ่งที่ไม่ดี แต่ตามความเป็น จริงๆ " เรื่องของเขาก็คือเรื่องของเขา " เรื่องของเรา ก็คือ เราขอโทษ ได้ไหม เมื่อกระทำผิด ถ้าขอโทษได้ ขณะนั้น ก็เป็นกุศลจิต ซึ่ง ไม่ใช่ความมานะ สำคัญตน แต่สามารถจะเห็นว่า ขณะนั้นน่ะ เป็นสิ่ง ที่ไม่สมควร จะกระทำ และได้กระทำแล้ว เพราะฉะนั้น พร้อมที่จะ ขอโทษสิ่งที่เราได้ทำ ไม่ว่าเขาเป็นใคร เพราะเราทำผิด แต่ถ้าเราไม่ ได้กระทำผิด ไปขอโทษอะไร เพราะเราไม่ได้กระทำผิด

เพราะฉะนั้น เวลาที่มีความเข้าใจว่า ได้กระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด ที่ เป็นการล่วงเกิน ในปัจจุบันชาติ หรือชาติก่อนๆ จะรู้ หรือ โดยไม่รู้ หรือโดยประมาท ฟังธรรมโดยไม่เคารพ -- แสดงความเคารพพอที่จะ มีต่อพระผู้มีพระภาคหรือเปล่า โดยกล่าวคำขอขมา ในเรื่องแม้เพียง เล็กน้อยที่สุดก็ตามแต่นะคะ ก็แสดงให้เห็นถึงความเคารพอย่างยิ่งใน บุคคล ซึ่งแม้เพียงเล็กน้อย ที่เราได้ไม่ประพฤติตาม ว่ากระทำสิ่งที่ไม่ สมควร เราก็สามารถจะกล่าวคำขอขมาได้ เพราะฉะนั้น เวลาที่เราอยู่ ณ สถานที่ๆ สมควรจะขอขมา ก็เป็น โอกาส ที่จะได้ระลึกถึงสิ่งที่ไม่สมควรกระทำต่อพระรัตนตรัย แต่ไม่ได้ หมายความว่า กรรมที่ได้กระทำแล้วจะหมดไป โดยมีผู้หนึ่งผู้ใด สามารถที่จะ เว้นยกโทษนั้นไม่ให้เกิดขึ้น ซึ่งเมื่อมีเหตุที่ได้กระทำแล้ว ต้องเป็นเหตุให้ผลเกิดขึ้น แต่ก็เป็นการแสดงความเคารพอย่างยิ่ง ต่อ บุคคลซึ่งแม้เพียงความผิดเล็กน้อยก็ไม่สมควรที่จะไม่กระทำต่อ......

.......นั่นคือพระรัตนตรัย * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

คำขอขมาพระรัตนตรัย

บุญใดอันข้าพเจ้า ผู้ไหว้พระรัตนตรัย ได้ประกอบแล้วในทวีปนี้ ด้วยเดชะบุญนั้น ขออันตรายคือความเห็นผิด จงอย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า

กรรมอันน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้าได้ล่วงเกินแล้ว ต่อพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี ขอพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ได้โปรดอดโทษแก่ข้าพเจ้า เพื่อข้าพเจ้า จะได้สำรวมระวังในพระรัตนตรัย ในกาลต่อไป


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 15 ก.ย. 2553

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
pamali
วันที่ 16 ก.ย. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
saifon.p
วันที่ 16 ก.ย. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
hadezz
วันที่ 18 ก.ย. 2553

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
paderm
วันที่ 18 ก.ย. 2553

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ข้อความโดย khampan.a

ผู้ที่ยังมีกิเลส ย่อมมีความประพฤติที่เป็นไป ทางกาย ทางวาจา ซึ่งมีทั้งดีบ้าง ไม่ดีบ้าง ความประพฤติของตนที่ไม่ดีนี้เอง บางครั้งเป็นเหตุให้ผู้อื่นเกิดความไม่พอใจ ไม่สบายใจ ตามการสั่งสมของบุคคลนั้น ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า ไม่มีใครที่ไม่เคยทำผิด แต่เมื่อกระทำผิดแล้ว รู้ว่าเป็นความผิด เป็นสิ่งที่ไม่ดี ไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ แล้วเปิดเผยโทษ ขอโทษผู้ที่เราล่วงเกินนั้น เพื่อที่จะได้สำรวมระวังไม่ให้ทำผิดในสิ่งนั้นๆ อีก อย่างนี้ เป็นความดีที่บัณฑิตพึงทำ และย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า "การที่บุคคลเห็นโทษ โดยเป็นโทษ แล้วสารภาพโทษ รับที่จะสังวร (สำรวม) ต่อไป นี้เป็นธรรม เป็นเครื่องเจริญในวินัยของพระอริยเจ้า" ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ... อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
คุณ
วันที่ 19 ก.ย. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ