ท่านพระองคุลิมาลบรรลุเป็นพระอรหันต์ได้อย่างไร
ท่านพระองคุลิมาลบรรลุเป็นพระอรหันต์ได้อย่างไรในเมื่อท่านฆ่าคนมามาก ช่วยค้นพระสูตรให้ อ่านด้วยครับ
[เล่มที่ 53] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 136
อรรถกถาองคุลิมาลเถรคาถาที่ ๘
คาถาของท่านพระองคุลิมาลเถระ มีคำเริ่มต้นว่า คจฺฉํ วเทสิ สมณฐิโตมฺหิ ดังนี้ เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร แม้พระเถระนี้ ก็ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าแต่ปางก่อน สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งวิวัฏฏะไว้ในภพนั้นๆ ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดเป็นบุตรพราหมณ์นามว่าภัคควะ ผู้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าโกศลในเมืองสาวัตถี ในวันที่ท่านเกิด อาวุธนานาชนิดทั่วทั้งพระนครลุกโพลง และพระแสงมงคลของพระราชา ซึ่งวางอยู่บนตั่งที่บรรทมก็ลุกโพลงด้วย พระราชาทรงเห็นดังนั้นทรงกลัวหวาดเสียวบรรทมไม่หลับ
ฯลฯ
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงอิทธาภิสังขาร โดย ประการที่องคุลิมาลแม้จะวิ่งจนสุดแรง ก็ไม่อาจทันพระองค์ทั้งที่พระองค์เสด็จไปโดยพระอิริยาบถปกติได้ เขาถอยความเร็วลง หายใจครืดๆ เหงื่อไหลออกจากรักแร้ทั้งสองข้าง ไม่อาจแม้จะยกเท้าขึ้น จึงยืนเหมือนตอไม้ กล่าวกะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า หยุดเถิด หยุดเถิด สมณะ พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้เสด็จดำเนินอยู่ จึงตรัสว่า เราหยุดแล้ว องคุลิมาล เธอแหละจงหยุด เขาคิดว่า พระสมณศากยบุตรเหล่านี้แล มีปกติพูดคำสัจจริงสมณะนี้ทั้งๆ ที่เดินไปก็พูดว่า เราหยุดแล้ว องคุลิมาล เธอนั่นแหละจงหยุด ก็เราเป็นผู้หยุดแล้ว สมณะนี้มีความประสงค์อย่างไรแล เราจักถามให้รู้ความประสงค์นั้น จึงได้กล่าวกะพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า ดูก่อนสมณะ ท่านสิกำลังเดินอยู่ กลับกล่าวว่า เรา หยุดแล้ว ส่วนข้าพเจ้าหยุดแล้ว ท่านกลับกล่าวว่าไม่ หยุด ดูก่อนสมณะ ข้าพเจ้าขอถามความนี้กะท่าน ท่านกำลังเดินอยู่ เพราะเหตุไร จึงกล่าวว่าหยุดแล้ว ส่วน ข้าพเจ้าสิ หยุดแล้ว ท่านกลับกล่าวว่าไม่หยุด .......
เมื่อองคุลิมาลกล่าวอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสกะเขาด้วยพระคาถาว่า ดูก่อนองคุลิมาล เราวางอาชญาในสัตว์ทั้งปวงเสีย แล้ว ส่วนท่านสิ ยังไม่สำรวมรวมสัตว์ทั้งหลาย ฉะนั้น เราจึงชื่อว่าหยุดแล้ว ส่วนท่านชื่อว่ายังไม่หยุด
ลำดับนั้น องคุลิมาลเกิดความปีติโสมนัสว่า พระสมณะนี้ คือพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เพราะเคยได้ฟังเกียรติศัพท์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประกาศคุณตามความเป็นจริง ผู้ทรงทำชาวโลกทั้งสิ้นให้เอิบอาบอยู่ดุจน้ำมันเอิบอาบอยู่บนพื้นน้ำ ฉะนั้น และเพราะเหตุสมบัติและญาณถึงความแก่กล้าแล้ว จึงคิดว่าการบันลือสีหนาทใหญ่นี้ การกระหึ่มใหญ่นี้จักไม่มีแก่ผู้อื่น การกระหึ่มนี้เห็นจะเป็นของพระสมณโคดม เราเป็นผู้อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณใหญ่ทรงเห็นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาที่นี้ เพื่อกระทำการสงเคราะห์เรา จึงได้กล่าวคาถานี้ว่า
พระองค์เป็นสมณะที่ชาวโลกกับทั้งเทวโลกบูชาด้วย เครื่องบูชามากมาย ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ เพิ่ง จะเสด็จมาถึงป่าใหญ่ เพื่อโปรดข้าพระองค์โดยกาลนานหนอ ข้าพระองค์ได้สดับพระคาถาซึ่งประกอบด้วยเหตุ ผลของพระองค์แล้ว จักละเลิกบาปกรรมตั้งพันเสีย
ฯลฯ
พระเถระได้การบรรพชาและอุปสมบท โดยความเป็นเอหิภิกขุอย่างนี้แล้ว กระทำวิปัสสนากรรมได้บรรลุพระอรหัตแล้ว เสวยวิมุตติสุขอยู่เกิดความปีติโสมนัส จึงกล่าวคาถา ๓ คาถาโดยอุทานว่า ผู้ใดประมาทแล้วในตอนต้น ภายหลังเขาไม่ประมาท ผู้นั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว เหมือนพระจันทร์พ้นแล้ว จากหมอกฉะนั้น บาปกรรมที่ทำไว้แล้วอันผู้ใดปิดกั้นไว้ด้วยกุศล ผู้นั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากหมอกฉะนั้น ภิกษุใดแล แม้จะยังหนุ่ม ประกอบความขวนขวายในพระพุทธศาสนา ภิกษุนั้นย่อม ทำโลกนี้ให้สว่างไสว เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากหมอก ฉะนั้น เนื้อความแห่งคำที่เป็นคาถานั้นว่า บุคคลใดจะเป็นคฤหัสถ์หรือบรรพชิตก็ตาม ในกาลก่อนแต่การคบหากับกัลยาณมิตร ประมาทแล้วโดยการเกี่ยวข้องกับมิตรชั่ว หรือโดยภาวะที่ตนไม่มีการพิจารณา คือถึงความประมาทในสัมมาปฏิบัติ ภายหลังความแยบคายผุดขึ้น เพราะการเกี่ยวข้องกับกัลยาณมิตร ชื่อว่าย่อมไม่ประมาท คือปฏิบัติชอบอยู่ หมั่นประกอบเนืองๆ ซึ่งสมถะและวิปัสสนา ย่อมบรรลุวิชชา ๓ อภิญญา ๖ บุคคลนั้นย่อมทำโลกมีขันธโลกเป็นต้นนี้ ให้สว่างไสวด้วยวิชชา และ อภิญญาที่ตนบรรลุ เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากหมอกเป็นต้น ทำโอกาสโลกให้สว่างอยู่ฉะนั้น. กรรมชั่วที่บุคคลใดทำไว้แล้ว คือสั่งสมไว้แล้ว ย่อมปิดคือกั้นด้วยการปิดกั้นทวารในอันที่จะยังวิบากให้เกิดขึ้น เพราะภาวะที่โลกุตรกุศลอันกระทำกรรมให้สิ้นไป นำเอาภาวะที่ไม่ควรแก่วิบากมาให้ ลำดับนั้น พระเถระจึงเข้าไปตั้งเมตตาจิตในสรรพสัตว์ทั้งหลายโดยไม่เจาะจง แล้วได้กล่าวคาถาทั้งหลายนี้ว่า
[เล่มที่ 53] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 146
ก็ผู้เป็นข้าศึกต่อเรา จงฟังธรรมกถาที่เราได้ฟังแล้ว ในสำนักของพระศาสดา ขอจงประกอบความขวนขวาย ในพระพุทธศาสนา ขอจงคบหากับมนุษย์ผู้เป็นสัตบุรุษ ผู้ถือมั่นแต่ธรรมอย่างเดียว ก็ผู้เป็นข้าศึกต่อเรา ขอเชิญ ฟังธรรมของท่านผู้กล่าวสรรเสริญความอดทน ผู้มีปกติ สรรเสริญความไม่โกรธ ตามเวลาอันควร และขอจง ปฏิบัติตามธรรมอันสมควรแก่ธรรมนั้นเถิด ขออย่า เบียดเบียนเราและประชาชนหรือว่าสัตว์อื่นใดเลย พึง บรรลุความสงบอย่างเยี่ยม และพึงรักษาสัตว์ทั้งปวง ให้เป็นเหมือนบุตรที่รักเถิด ก็ชาวนาที่ต้องการน้ำย่อมไขน้ำ ไป ช่างศรย่อมดัดลูกศร ช่างไม้ย่อมถากไม้ บัณฑิต ย่อมฝึกตน คนบางพวกย่อมฝึกช้างและม้าเป็นต้น ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยขอบ้าง ด้วยแส้บ้าง ส่วนเราเป็นผู้อัน พระศาสดาผู้คงที่ทรงฝึกแล้ว โดยไม่ได้ทรงใช้อาชญา และศาสตรา เมื่อก่อนเรามีชื่อว่า อหิงสกะ ผู้ไม่เบียดเบียน แต่เรายังเบียดเบียนผู้อื่นอยู่ วันนี้ เราเป็นผู้มีชื่อ จริง ไม่เบียดเบียนใคร แต่ก่อนเราเป็นโจรลือชาทั่วไป ว่าองคุลิมาล แต่บัดนี้ องคุลิมาลได้มาพบพระพุทธเจ้า ผู้เป็นที่พึ่งเข้าแล้ว ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพน้อยใหญ่ ขึ้นได้แล้ว เราได้ทำกรรมเช่นนั้นอันเป็นเหตุให้ไปสู่ทุคติ เป็นอันมาก จึงต้องมารับผลกรรมที่ทำไว้ แต่บัดนี้ เราบริโภคโภชนะโดยไม่เป็นหนี้ คนพาลผู้มีปัญญาทราม ย่อมประกอบตามความประมาท
ส่วนนักปราชญ์ ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้ เหมือนทรัพย์อันประเสริฐสุด ฉะนั้น. ท่านทั้งหลายอย่าประกอบตามความประมาท อย่าประกอบความสนิทสนมด้วยความยินดีในกาม เพราะว่าผู้ไม่ประมาทเพ่งพินิจอยู่ ย่อมถึงความสุขอันไพบูลย์. การที่เรานาสู่สำนักของพระศาสดา เป็นการมาดีแล้ว มิใช่ว่าเป็นการมาไม่ดี การที่เราคิดจะมาบวชในสำนัก ของพระศาสดานี้ ก็ไม่ใช่เป็นความคิดที่เลวเลย เพราะ เป็นการเข้าถึงธรรมอันประเสริฐ ในธรรมทั้งหลายที่ พระศาสดาทรงจำแนกดีแล้ว
การที่เรามาสู่สำนักของ การที่เราคิดจะมาบวชในสำนักของพระศาสดานี้ ก็ไม่ใช่ เป็นความคิดที่เลวเลย เราได้บรรลุวิชชา ๓ ตามลำดับ ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว แต่ก่อน เราอยู่ในป่า โคนไม้ ภูเขา หรือในถ้ำทุกแห่ง มีใจหวาดเสียวอยู่เป็นนิตย์ เราผู้อันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์ แล้ว ไม่ไปในบ่วงมาร จะยืน เดิน นั่ง นอน ก็เป็นสุข. เมื่อก่อนเรามีเชื้อชาติเป็นพราหมณ์ มีครรภ์เป็นที่ถือ ปฏิสนธิ บริสุทธิ์ทั้งสองฝ่าย บัดนี้เราเป็นโอรสของพระสุคตผู้ศาสดา ผู้เป็นพระธรรมราชา เราเป็นผู้ ปราศจากตัณหาแล้ว ไม่ถือมั่น คุ้มครองทวาร สำรวม ดีแล้ว เราตัดรากเหง้าของทุกข์ได้แล้ว บรรลุถึงความสิ้นอาสวะแล้ว เรามีความคุ้นเคยกับพระศาสดา ทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว ปลงภาระอันหนักลงแล้ว ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพเสียแล้ว....