ผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
ขณะที่ฟังธรรมเข้าใจถูก ขณะนั้นกำลังอบรมปัญญา สังขารขันธ์ฝ่ายกุศลค่อยๆ ปรุงแต่งจิตทีละเล็กทีละน้อย ให้ค่อยๆ มั่นคงขึ้น เป็นสจญาณ ซึ่งจะเป็นเหตุปัจจัยให้ระลึกรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง ขณะนั้นปัญญามีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์จึงไม่ติดในนิมิต อนุพยัญชนะ ชั่วขณะ เป็นอินทรีย์สังวรศีลโดยปิดกั้นกระแสของอกุศลไม่ให้ใจไหลไปกับความไม่รู้สภาพธรรมทางตา หู จมูก ....ใจ แต่เมื่อหลงลืมสติ ก็กลับมายึดถือนิมิตอนุพยัญชนะตามเดิม ตามอำนาจกิเลสซึ่งมีเหตุปัจจัยเกิด ตามการสะสมที่มีมาก ด้วยความเป็นอนัตตา ซึ่งถ้ายังไม่ประจักษ์และยังไม่ได้ดับอกุศลจนหมดตราบใดก็ยังมีกิจ คือ การอบรมเจริญความเห็นถูก ในลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงต่อไปเรื่อยๆ ทั้งหมดเพื่อละ ทั้งหมดเพื่อขัดเกลากิเลส ซึ่งก็เป็นจิรกาลภาวนาครับ
อ่านพระสูตรแล้วเตือนสติฯ ดีมากครับ ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
ขอเชิญคลิกอ่าน..
ที่ไม่ถือในนิมิตอนุพยัญชนะ...คืออย่างไร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 395
บทว่า นิมิตฺตคฺคาหี เป็นผู้ถือนิมิต คือ ถือนิมิตหญิงและชาย
หรือนิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่งกิเลส มีสุภนิมิตเป็นต้นด้วยอำนาจฉันทราคะ.
เพียงเห็นเท่านั้นนิมิตไม่ปรากฏ.
บทว่า อนุพฺยญฺชนคฺคาหี ถืออนุพยัญชนะ คือถืออาการหัน ต่าง
ด้วยมือ เท้า หัวเราะ ขบขัน พูด ชำเลืองดู และการเหลียวดู เป็นต้น
เรียกว่าอนุพยัญชนะ เพราะทำให้ปรากฏ โดยเป็นเหตุให้กิเลสทั้งหลาย
ปรากฏ.
ตามหลักฐาน แสดงว่า นิมิต อนุพยัญชนะ เป็นชื่อและรูปร่าง
สันฐาน ไม่ใช่ปรมัตถธรรม