จิตกับใจ ต้องแยกออกจากกันหรือไม่ อย่างไร
ปัจจุบัน หลายท่านรวมตัวกระผมด้วย มีความสับสนในความรู้เรื่องจิตใจ เป็นอย่างมากเพราะมีผู้รู้แนะนำให้ "ดูความคิด" หรือ "ดูจิต" โดยไม่บอกว่า อะไรคือ ผู้ดู โดยเฉพาะคำว่า "จิต" ถูกใช้ทั้งเป็นประธาน และเป็นกรรม เช่น จิตเป็นพุทธะ จิตหนึ่ง จิตว่าง จิตเดิมแท้ จิตประภัสสร อย่าส่งจิตออกนอก จิตที่ฝึกมาดีแล้ว เป็นต้น
คำศัพท์ที่มีคำว่า "จิต" พ่วงอยู่เหล่านี้ ผมอ่านแล้วก็รู้ว่า เป็น "จิต" ที่ทำหน้าที่เป็นประธาน เมื่อใช้คำว่า "ดูจิต" จะเห็นหน้าที่ที่เป็นกรรมทันที "จิต" ที่ถูกประธานดู
คำถามจึงเกิดขึ้นว่า ใครเป็นผู้ดู "จิต" ที่เป็นกรรมนี้ จึงทำให้สับสน เพราะคำว่า "จิต" ตัวเดียวได้ถูกใช้ให้ทำหน้าที่เป็นทั้งประธานและกรรม การพูดว่า "อย่าส่งจิตออกนอก" จิตตัวนี้เป็นประธาน ผมตีความหมายได้ว่า ให้จิต (ตัวใจ) อยู่กับฐานของสติ ตั้งข้อสังเกตว่า ภาษาบาลีมีไวยกรณ์ที่ซับซ้อนหรือไม่ คำบาลีดั้งเดิมของคำว่า "จิต" นี้มีรูปเป็นประธานกับกรรมหรือไม่ เช่น คำว่า "ฉัน" ในภาษาอังกฤษ ถ้าเป็นประธานจะใช้คำว่า "I" ถ้าเป็นกรรมจะใช้คำว่า "me" แต่พอแปลมาเป็นไทยแล้วทั้ง I และ me ก็กลายเป็น "ฉัน" หมด
ถ้าภาษาบาลีมีไวยกรณ์ที่ซับซ้อน ภาษาไทยอาจจะไม่สามารถรองรับไวยกรณ์ที่ซับซ้อนนั้นได้ การแปลจากบาลีเป็นไทย จึงอาจคลาดเคลื่อนได้ ทำให้เรื่องประธานกับกรรมตกหล่นหายไปในขณะแปล กลับไป กลับมา ก็เป็นได้ สงสัยว่า "ใจ" หรืออะไร เป็นผู้ดู "จิต" เป็นไปได้หรือไม่ว่า สังขารขันธ์ สัญญาขันธ์ เวทนาขันธ์ คือ "จิต" (ผู้ถูกดู) โดยมีวิญญาณขันธ์ คือ "ใจ" (ผู้ดู) ใช่หรือไม่อย่างไรครับ
ตามหลักพระธรรมคำสอนแสดงว่า จิตเป็นธัมมะ เป็นปรมัตถธรรม เป็นสภาพรู้ เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ ในบางแห่งทรงแสดงจิตโดยใช้พยัญชนะอื่น เช่น มโน มนัส ปัณฑระ มโนวิญญาณ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ วิญญาณธาตุ มนินทรีย์ เป็นต้น ทั้งหมดหมายถึง จิต
อนึ่ง ในบางแห่งทรงใช้คำว่า "จิต" แต่อรรถหมายรวมถึง เจตสิกที่เกิดร่วมด้วย เช่น จิตตุปปาทะ จิตเกิดขึ้น เมื่อจิตเกิดขึ้นต้องประกอบด้วยเจตสิกเสมอ หรือคำว่า เป็นผู้มีใจดี หมายถึง มีเมตตา และคำว่า การฝึกจิต จิตตํทนฺตํ หมายรวมถึง การฝึกจิตและเจตสิก ฝึกด้วยปัญญา ฝึกอบรมให้จิตที่ดีเกิดขึ้น
ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ ถ้าเป็นฝ่ายกุศล เช่น คิดดี พูดดี ทำดี ถ้าเป็นฝ่ายอกุศล คิดไม่ดี พูดไม่ดี ทำไม่ดีค่ะ ฯลฯ
จากพระไตรปิฏก ครับ
[๑๑๙๔] สภาวธรรมที่ไม่เป็นจิต เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ไม่เป็นจิต
"ธรรม" เป็นเรื่องจริงละเอียดลึกซึ้ง คิดเองไม่ได้ ต้องฟังและศึกษาจากผู้ที่เข้าใจ โดยผู้ที่แสดง ธรรม นั้น ต้องเป็นผู้ตรง ไม่พูดจากความคิดเอง หรือบอกต่อกันมา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล เรา เขา จึงไม่สามารถบังคับบัญชาได้ "การดูจิต หรือ อย่าส่งจิตออกนอก" จึงเป็นเรื่องเข้าใจผิดและเป็นไปไม่ได้ ต้องใช้เวลา อบรมเจริญปัญญา จนกว่าจะมีความเห็นถูก
ถ้าหากยังไม่เคยมาที่มูลนิธิ ขอเชิญนะครับ ท่านอาจารย์สุจินต์ และท่านวิทยากร ที่ร่วมบรรยายสามารถให้ความชัดเจนได้ ผมไม่สามารถอธิบายในกระทู้ได้ เป็นเรื่องของผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจ ความเห็นถูก ตามที่ "พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า" ทรงแสดงพระธรรม ไว้ได้ละเอียดลึกซึ้ง รู้ได้ยาก
ขออนุโมทนาครับ
ในแต่ละประโยคก็มี ประธาน กิริยา กรรม จึงสามารถเข้าใจประโยคได้ แต่ในธรรมนั้น ประธานกับกรรม อาจใช้คำ คำเดียวกัน แต่ส่วนประกอบของประธานและกรรมอาจต่างกัน เช่นเมืองเรารู้ว่าจิตและเจตสิก เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน มีอารมณ์เดีวยกันและต่างเป็นธาตุรู้ ด้วยส่วนประกอบนี้จึงทำให้ใช้คำ คำเดียวกันเป็นทั้งประธานและกรรมเป็นที่เข้าใจ ตัวอย่างเช่น สติเป็นเจตสิกเมื่อเกิดต้องเกิดกับจิตทำหน้าที่ระลึก เมือระลึกก็ต้องมีสิ่งที่ถูกระลึก ก็คืออารมณ์ในขณะนั้น เมื่อมีอารมณ์ (รูป รส ฯลฯ) ก็ต้องมีจิตเกิดร่วมด้วย
สติที่เกิดกับจิตระลึกอารมณ์ที่เกิดกับจิต จึงบอกว่า ดูจิต เป็นคำกล่าวของผู้ที่ไม่เข้าใจธรรม คิดเอาเอง บัญญัติคำเอาเอง ตามความเข้าใจของตนเอง ที่ถูกแล้วสติเมื่อเกิด ทำหน้าที่ระลึก ในขณะนั้นมีจิต มีอารมณ์ มีสติและเจตสิกอื่นๆ ที่เกิดร่วมด้วยมากมาย และเป็นเพืยงธรรมอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นระลึกรู้อารมณ์ขณะนั้นเท่านั้น ไม่มีการดูจิตดูความคิด ฯลฯ แต่ก็จะมีอาการคล้ายดูจิต ดูความคิด ส่งจิตออกนอก จิตที่ผึกดีแล้ว..... ฯลฯ ทำให้เข้าใจผิด
คำกล่าวของผู้ที่เข้าใจธรรม นอกจากคุณ choonj (ความคิดเห็นที่ 6) แล้ว มีอีกไหมครับ สาธุ !!!
"จิตฺตํ" ภาษาบาลี "ใจ" ภาษาไทย ความหมายเดียวกัน แต่ความหมายของภาษาบาลีมีความชัดเจนกว่า เพราะพระพุทธองค์ทรงแสดงความจริงผ่านภาษาบาลี ว่า "จิตฺตํ" หมายถึง สิ่งที่มีจริง เป็นธรรม เป็นนามธรรม เป็นธาตุรู้ เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์เกิดแล้วดับ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
แต่คำว่า "ใจ" ที่ใช้ในภาษาไทยของเราเมื่อไม่ได้ใช้พูดให้เกิดความเข้าใจถูกในพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ความหมายย่อมแปรเป็นอื่น ด้วยอำนาจของการยึดถือด้วยความเห็นผิดว่า เที่ยง เป็นอัตตาตัวตน ปุถุชนของแต่ละชาติก็พูดภาษาต่างกันไป แต่ถ้าไม่ได้ศึกษาพระธรรม จะไม่มีใครเข้าใจ แม้แต่คำที่ใช้ว่า "ใจ" ก็เป็นแต่เพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นอนัตตา ไม่ต้องแยกคำที่ใช้กันอยู่ทั่วไปออกไปอีกต่างหาก เพราะนั่นคือ เราคิดเอง แต่ควรศึกษาให้เข้าใจธรรมแต่ละคำ จนกว่าจะเข้าใจถึงลักษณะของธรรมที่มีจริงจากคำที่ใช้พูดกันอย่างถูกต้องยิ่งขึ้น ครับ
อารมณ์ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นรูป
ส่วนธัมมารมณ์ ๖ ได้แก่ จิต เจตสิก ปสาทรูป สุขุมรูป นิพพาน และบัญญัติ
จิตเกิดขึ้นทุกดวง เพื่อรู้อารมณ์เหล่านี้
จิต เกิดขึ้นรู้ รูป
จิต เกิดขึ้นรู้ จิต (จิตเป็นธัมมารมณ์)
จิต เกิดขึ้ันรู้ เวทนา สัญญา สังขาร (เจตสิกเป็นธัมมารมณ์)
ข้อน่าสังเกต
จักขุ+รูป (รูปารมณ์) +จิต (จักขุวิญญาณ) เท่ากับ ผัสสะ
หทยวัตถุ+จิต (ธัมมารมณ์) +จิต (มโนวิญญาณ) เท่ากับ ผัสสะ จิตที่เป็นธัมมารมณ์ กับจิตที่เป็นมโนวิญญาณ ต่างกันอย่างไร ในขณะที่มีกฏข้อหนึ่ง
๗. จิตตสหภูทุกะ
[๑๕๓๗] สภาวธรรมที่เกิดพร้อมกับจิต เป็นไฉน เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ กายวิญญัติ และวจีวิญญัติ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเกิดพร้อมกับจิต
[๑๕๓๘] สภาวธรรมที่ไม่เกิดพร้อมกับจิต เป็นไฉน จิต รูปที่เหลือ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ไม่เกิดพร้อมกับจิต
ในเมื่อ จิต ไม่เกิด พร้อมกับจิตได้ คือ จิต เกิดขึ้นซ้อนกันสองดวงไม่ได้ จิตที่เป็นธัมมารมณ์นั้น คืออะไร หทยวัตถุ+จิต (ธัมมารมณ์) +จิต (มโนวิญญาณ) เท่ากับ ผัสสะ องค์ธรรมทั้ง ๓ ต้องประชุมพร้อมกัน จึงจะเรียกว่า ผัสสะ ฝากให้คนที่มีความเข้าใจ ยิ่งขึ้นไปกว่า อธิบายให้กระจ่างด้วยครับ ผมยังงงๆ อยู่
เรียนความเห็นที่ ๙
ความจริงคือ ในบุคคลคนเดียว จิตไม่เกิดขึ้นพร้อมกัน ๒ ขณะ จิตรู้ทุกอย่าง แม้จิตขณะก่อนที่ดับไปแล้ว จิตขณะหลังๆ ก็รู้ได้ ในขณะที่จิตรู้จิตที่เพิ่งดับไปนั้น อารมณ์ของจิตขณะนั้นชื่อว่าธรรมารมณ์ ผู้มีอภิญญาจิต สามารถรู้วาระจิตของผู้อื่นได้ จิตขณะนั้นชื่อว่ารู้ธรรมารมณ์
หทยวัตถุ + ภวังค์ + มโนวิญญาณ เป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ