ความฟุ้งซ่านกลัวอะไร

 
kanchana.c
วันที่  16 ต.ค. 2553
หมายเลข  17370
อ่าน  2,775

เมื่อคืนนี้ดูซีรี่ส์ญี่ปุ่นที่เคยโด่งดังในอดีตเมื่อ ๒๐ กว่าปีก่อน เรื่อง “โอชิน” จนดึก เคยดูครั้งหนึ่งแล้ว ได้รับแรงบันดาลจากโอชินมากมาย อยากเป็นผู้หญิงเก่ง จิตใจดีอดทน ขยัน มุมานะจนสามารถเปลี่ยนชีวิตจากยาจกที่สุดลำเค็ญสู่ความเป็นมหาเศรษฐีได้ จำได้ว่าตอนนั้นผู้หญิงหลายๆ คนอยากเป็นอย่างโอชิน หาของมาขายบ้าง ตัวเราเองก็ไปเรียนทำดอกไม้จากฟางข้าวโพดจากเพื่อนที่ทำไปขายศูนย์การค้าดัง พอทำได้มีเพื่อนสงสารช่วยซื้อเพื่อเป็นกำลังใจ แต่ไม่ได้ซื้อเพราะอยากได้ เลยไม่ประสบความสำเร็จในการหารายได้พิเศษ กลายเป็นรายจ่ายพิเศษ แถมเพื่อนยังเตือนสติว่า ทำได้แต่ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ ที่จะทำให้สวยแปลกพอจะขายได้ จึงต้องเลิกล้มความคิดในการหารายได้พิเศษ มาอาศัยการประหยัดอดออมพอให้มีเงินเหลือเก็บเท่านั้นก็คงจะพอแล้วในอัตภาพนี้ คิดไปคิดมาจนเกือบตีหนึ่ง ก็ยังนอนไม่หลับ นึกขึ้นมาได้ว่า แค่สิ่งที่ปรากฏให้เห็นทางตาผ่านจอทีวี และเสียงที่ได้ยินทางหู ก็ยังทำให้เพลิดเพลินติดข้องกับความคิดถึงบัญญัติได้หลายชั่วโมง นึกถึงคำของท่านอาจารย์ว่า ถ้านอนไม่หลับก็ดีจะได้พิจารณาธรรมที่ได้ยินได้ฟังมา จึงเริ่มทบทวนเรื่องปรมัตถธรรมว่า เป็นสภาพที่มีจริง แบ่งเป็น ๔ ประเภท คือ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน คิดถึงตอนนี้ก็จำไม่ได้ว่าคิดอะไรต่อหรือไม่ เพราะหลับไปก่อน สังเกตตัวเองหลายครั้งว่า เมื่อนอนไม่หลับ คิดจะพิจารณาธรรม ได้ไม่กี่ประโยค ก็จะหลับทันที คิดเองว่า ความฟุ้งซ่านคงจะกลัวปัญญาที่จะเกิดจากการพิจารณาธรรม ทำให้เข้าใจธรรมมากขึ้น ลูกพี่ของความฟุ้งซ่าน คืออวิชชา ก็จะมีกำลังน้อยลง หรือโลภมูลจิตไม่ชอบพิจารณาธรรม เพราะไม่สนุกเพลิดเพลิน เลยหลับดีกว่าตื่น


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
choonj
วันที่ 18 ต.ค. 2553

ความฟุ้งซ่าน อุทธัจจ กุกกุจจ กลัว สุข (เวทนา)

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
eternity
วันที่ 19 ต.ค. 2553

หนูก็ชอบคิดฟุ้งซ่านเหมือนกันค่ะ โดยเฉพาะช่วงนี้จะเป็นบ่อยมาก เพราะใกล้จะเรียนจบ และต้องหางานทำเอง ซึ่งชีวิตคงจะเปลี่ยนไปมากทีเดียว เลยชอบคิดอยู่คนเดียวว่าจะหางานทำที่ไหน จะเริ่มต้นอย่างไร และจะช่วยเหลือเรื่องการเงินให้ทางบ้านได้หรือไม่ ทั้งๆ ที่ เกรดเฉลี่ยหรือผลการเรียนก็ดีมาโดยตลอดนะคะ ก็ไม่รู้ว่าจะเครียดไปทำไม คงเพราะต้องการให้แม่ภูมิใจในตัวหนูมากที่สุดน่ะค่ะ ช่วงนี้เลยเครียดๆ ค่ะ ตอนก่อนนอนยิ่งเป็นหนัก คิดมากจนปวดหัวแทบทุกคืน ไม่รู้จะแก้ไขตัวเองอย่างไร ทั้งๆ ที่รู้ตัวนะคะ แต่ไม่สามารถบังคับตนเองให้หยุดคิดฟุ้งซ่านได้เลยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
วิริยะ
วันที่ 19 ต.ค. 2553

เรียนถามความเห็นที่ 1 ความฟุ้งซ่านกลัวสุขเวทนาอย่างไรคะ กรุณาอธิบายหรือขยายความให้เข้าใจด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 20 ต.ค. 2553

สุขเวทนาเป็นเจตสิกชาติวิบากไม่มีอุทธัจจเจตสิก (ความฟุ้งซ่าน) ชาติอกุศลเกิดร่วมด้วยสุขที่เป็นชื่อของโสมนัสสเวทนาที่เกิดร่วมกับกุศลจิตจะไม่มีความฟุ้งซ่านอาจจะกล่าวว่าความฟุ้งซ่านกลัวสุขที่เป็นโสมนัสสเวทนา (กุศลเจตสิก) ความฟุ้งซ่านเกิดร่วมกับอกุศลจิตทุกดวงเชิญคลิกอ่าน....ความฟุ้งซ่านสุขเวทนา - ทุกขเวทนา - ชาติวิบาก ความหมายของคำว่าสุข[ธรรมสังคณี]



ขออนุโมทนาคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
peesilp
วันที่ 20 ต.ค. 2553

น้อง eternity หากเปรียบความฟุ้งซ่านเป็นทุกข์ ก็คือขาดสติ ขาดความรอบคอบ รีบร้อน เร่งรีบ แก้ด้วยการผ่อนคลายลง เริ่มทำจากสิ่งที่เป็นภาระกิจตรงหน้าเราก่อน ทำให้ดีที่สุดวิเคราะห์ปัญหาให้ละเอียด และลึกที่สุด อาจใช้เวลาสักหน่อย แต่มันจะให้ผลคุ้มค่า และน้องจะพบคำตอบได้ด้วยตัวเอง เป็นเพียงวิธีการหนึ่งที่เราจะจัดลำดับความสำคัญด้วย

ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
วิริยะ
วันที่ 21 ต.ค. 2553

ขอขอบคุณความเห็นที่สี่ค่ะ ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Belief
วันที่ 22 ต.ค. 2553

ขอบคุณที่มีข้อมูลและความเห็นดีๆ ค่ะ ขออนุโมทนาด้วย

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
บัวขาว
วันที่ 22 ต.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
kanchana.c
วันที่ 22 ต.ค. 2553

หลาน eternity เรื่องราวของหนูทำให้ป้านึกถึงเรื่องของตัวเองเมื่อเกือบ ๔๐ ปีก่อน เมื่อใกล้จะเรียนจบปริญญาตรีจากภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี ๒๕๑๖ นั้น ก็มีความกังวล กลัดกลุ้ม ฟุ้งซ่าน กลัวจะหางานทำไม่ได้เหมือนอย่างหนูนี่แหละ แต่ก็เป็นความกังวล กลุ้มใจไปเปล่าๆ เรียนจบเพียง ๒ เดือนก็ได้เข้ารับราชการ ซึ่งเป็นอาชีพที่มั่นคง และทำงานยืนยาวจนจะเกษียณอายุในปีหน้า นึกย้อนไปถึงตอนนั้น เพราะอยากจะให้พ่อแม่ดีใจชื่นชมกับความสำเร็จในการจบศึกษาและมีอาชีพเลี้ยงตัวเองได้มาก จนกลัวจะไม่ได้ดังปรารถนา จึงเป็นทุกข์กลัดกลุ้ม ฟุ้งซ่าน เพราะมีความอยากมากนั่นเอง คิดเอาเองว่า เพราะตอนนั้นยังไม่ได้ศึกษาธรรม ยังไม่เข้าใจธรรมว่า ทุกอย่างเกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่ได้ทำไว้แล้ว จะทำอาชีพอะไร หรือไม่ได้ทำ ก็เป็นไปตามกรรมที่ทำไว้แล้ว และกรรมในปัจจุบันของเราด้วย ไม่มีใครจะเปลี่ยนแปลงอะไรได้ เสียเวลากลุ้มใจไปเปล่าๆ เสียทั้งเวลาและสุขภาพ และยังทำให้พ่อแม่ที่เราอยากให้มีความสุขที่สุดนั้น กลุ้มใจไปกับเราด้วย มาถึงตอนนี้ ได้ฟังธรรม ศึกษาธรรมมาพอสมควร พอเข้าใจบ้าง แต่ก็ยังกลัดกลุ้ม ฟุ้งซ่านอยู่เหมือนเดิม เพียงแต่เปลี่ยนเรื่องจากกลัวไม่มีงานทำ เป็นกลัวไม่มีอะไรทำและเรื่องสุขภาพ ซึ่งเป็นความจริง เพราะความเข้าใจธรรมเพียงเล็กน้อยนั้น ไม่ทำให้ความวิตกกังวล ความฟุ้งซ่านหมดไปได้ แม้จะรู้จากการฟังว่า ความฟุ้งซ่านก็เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ที่เกิดขึ้นแล้วดับไป เหมือนสภาพธรรมอื่นๆ แต่ก็เป็นเพียงความเข้าใจขั้นจำ ยังไม่เห็นรู้จริงๆ ว่า ความฟุ้งซ่านเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน และที่แน่ๆ คือ ไม่อยากให้ความกังวล ฟุ้งซ่านเกิดขึ้น โดยเฉพาะเวลานอน ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะเรายังเป็นปุถุชน มีกิเลสทุกอย่างเกิดกับเรา รู้แต่เพียงว่า สภาพจิตของเราขณะนี้เป็นกุศล หรืออกุศล ถ้าเป็นกุศลก็ควรเจริญให้มีมากขึ้น และถ้าเป็นอกุศลก็ควรละ ไม่ให้เกิดขึ้นบ่อยๆ ก็น่าจะดีที่สุด เหมาะที่สุดสำหรับปัญญาขั้นนี้

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
คุณ
วันที่ 24 ต.ค. 2553

ขอขอบคุณและอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
chaiyut
วันที่ 24 ต.ค. 2553

ทุกขณะในชีวิตประจำวันของเรา ถ้าเราเข้าใจธรรมมากขึ้น มีการใส่ใจพิจารณาธรรมมากขึ้น ก็จะเห็นว่าธรรมที่มีจริงนั้น ค่อยๆ เผยความเป็นอนัตตาทีละเล็กทีละน้อย ให้ปัญญาที่อบรมดีแล้วได้พิสูจน์ความจริงได้ ชีวิตประจำวัน ก็คือธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา แม้ อกุศล , กุศล, วิบาก หรือรูปธรรมที่ปรากฏครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
Komsan
วันที่ 25 ต.ค. 2553

ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
saifon.p
วันที่ 28 ต.ค. 2553

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 28 ต.ค. 2553

ขอเพิ่มเติมในความคิดเห็นที่ 4 สุขเวทนา หมายถึงเวทนาในเวทนา 5 ได้แก่ สุขเวทนา (ชาติวิบาก) ทุกขเวทนาโสมมนัสเวทนา โทมนัสเวทนา และอุเบกขาเวทนา หากกล่าวถึงสุขเวทนาในเวทนา 3 ได้แก่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมเวทนา สุขเวทนาหมายถึงรวมโสมมนัสเวทนาด้วย ซึ่งเป็นได้ทั้งชาติกุศลและชาติอกุศลหากเป็นชาติกุศลจะไม่มีอุทธัจจเจตสิก (ความฟุ้งซ่าน) ชาติอกุศลเกิดร่วมด้วย

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
sulome
วันที่ 29 ต.ค. 2553

ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ