ทุกกรการิกปัญหา [มิลินทปัญหา]
มิลินทปัญหา - หน้าที่ 415
ทุกกรการิกปัญหา ที่ ๖
ราชา สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี จึงมีวาจาตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา สพฺเพ โพธิสตฺตา สมเด็จพระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลายทุกพระองค์ กระทำซึ่งทุกรกิริยาเหมือนพระโคดมโพธิสัตว์เจ้าหรือประการใด พระนาคเสนวิสัชนา แก้ไขว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร พระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลายอื่นจะ กระทำทุกรกิริยาเหมือนพระโคดมบรมโพธิสัตว์เจ้านั้นหามิได้นะ บพิตรพระราชสมภาร สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่ พระนาคเสนผู้ปรีชา ถ้าว่าฉะนั้นจะควรที่ไหน เหตุไรจึงไม่เหมือนกัน ตกว่าพระโพธิสัตว์ทั้ง หลายนั้นเป็นเวมัติต่างกันหรือประการใด
พระนาคเสนวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ขอ ถวายพระพรบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ ตกว่าพระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลายนั้นเป็นเว มัติต่างกัน อตูหิ เนหิ ด้วยฐาน ๔ ประการ กุลเวมตฺตตา คือ ต่างด้วยตระกูล บางที เป็นตระกูลกษัตริย์ บางทีเป็นตระกูลพราหมณ์ อย่างนี้ ประการ ๑ อทฺธานํ เวมตฺตตา คือ ต่างด้วยสร้างพระบารมี บางทีบารมีมี ๑๖ อสงไขยแสน กัลป์ บางที ๘ อสงไขย แสน กัลป์ บางที ๔ อสงไขยแสนกัลป์ ต่างกันฉะนี้ประการ ๑ อายุ เวมตฺตตา คือ ต่างกันด้วยพระชนมายุ บางทีน้อย เหมือนหนึ่งสมเด็จพระสัพพัญญูบรมครูเจ้าของเรานี้ บางทีก็มากกว่านี้ เหมือนพระชนมายุแห่งสมเด็จพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าต่างกัน อย่างนี้ ประการ ๑ ปมาณํ เวมตฺตตา ต่างกันด้วยประมาณ คือ ประมาณพระรูปบ้าง บางทีเล็ก บางทีใหญ่ประการ ๑ สิริเป็นต่างกันถ้วน ๔ ประการเท่านี้ ส่วนการกระทำทุกรกิริยานี้ไม่ เหมือนกันเป็นอัทธานเวมัติ ต่างกันด้วยกระทำบ้าง มิได้กระทำบ้าง แต่เมื่อได้ตรัสเป็น สมเด็จพระสัพพัญญูแล้ว ก็ตรัสรู้เหมือนกัน ประกอบด้วยพระสิริรูปและฌาน ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะและ จตุเวสารัชญาณ ทศพลญาณ จุททสพุทธญาณ อัฏฐารพุทธ ธรรมเหมือนกัน จะได้แปลกต่างกันหามิได้ นะบพิตรพระราชสมภาร
สมเด็จ พระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสน ผู้ปรีชา ตกว่าพระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลาย จะตรัสเป็นเป็นสมเด็จพระสัพพัญญูรู้ ธรรมนั้นรู้ เหมือนกันเท่ากัน เมื่อเช่นนั้นพระโพธิสัตว์เจ้าของเรากระทำทุกรกิริยาเพื่อประโยชน์ ประการใด พระนาคเสนวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อันพระโพธิสัตว์เจ้าแต่กาลก่อนนั้น ต่อบารมีแก่กล้าท่านจึงออกสู่มหาภิเนษกรมณ์ พระโคดมโพธิสัตว์เจ้าออกสู่มหาภิเนษกรมณ์ แต่บารมียังอ่อนอยู่ เหตุนี้จึงต้องกระทำ ทุกรกิริยาเพื่อจะให้พระญาณแก่กล้า ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา เหตุไฉนพระโคดมโพธิสัตว์เจ้าจึงออกสู่มหาภิเนษกรมณ์แต่บารมียังอ่อนให้ ผิดกว่าพระโพธิสัตว์แต่ ก่อนเล่า พระนาคเสนถวายพระพรว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร พระโคดมโพธิสัตว์เห็นวิปปการแห่งพระสนมกรมคณานางนอนหลับ กรน คราง น้ำลาย ไหล สารพัด จะวิการไปทุกอย่าง ปรางค์ปราสาทสงัดเหมือนชัฏแห่งป่าช้า พระนิพพิทาญาณ ก็บังเกิดในพระบวรราชสันดานในอัฑฒรัตติกสมัยเที่ยงคืน พระองค์ก็ บังเกิดเหนื่อยหน่ายหนีออกสู่มหาภิเนษกรมณ์ บรรพชาเสียแต่พระญาณยังอ่อน
เพราะเหตุฉะนี้ จึงผิดกว่าโพธิสัตว์แต่ก่อน ............พระองค์จะได้เปล่าไปจากความเพียรนั้นหา มิ ได้ กระทำทั้งนี้ เพราะปรารถนาที่จะให้พระบารมีแก่กล้าสำเร็จแก่พระโพธิญาณ บพิตร พึง สันนิษฐานเข้าพระทัยเถิด จะว่าพระองค์มีพระสติเคลิบเคลิ้มฟุ้งซ่านไปนั้น หามิได้ ที่ว่าทรงกระทำทุกรกิริยานั้น เพื่อจะให้พระบารมีแก่กล้าขึ้นเท่านั้น ขอถวายพระพร สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีพระราชโองการตรัสว่า สาธุ ภนฺเต ข้าแต่พระผู้ เป็นเจ้า สมฺปฏิจฺฉามิ โยมจะรับคำของพระเป็นเจ้าไว้ พระโพธิสัตว์เจ้าของเรานี้ พระองค์กระทำทุกรกิริยาเพื่อว่าจะให้พระบารมีแก่กล้าอย่างนั้นหรือ โยมพึ่งจะมนสิการ เข้าใจในกาลบัดนี้ ทุกกรการิกปัญหา คำรบ ๖ จบเพียงนี้