กฐิน ในพระพุทธศาสนา [ตอนจบ]

 
khampan.a
วันที่  21 ต.ค. 2553
หมายเลข  17410
อ่าน  5,517

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ก่อนที่จะจบตอนที่ ๔ นั้น ค้างไว้ที่คำถามของคุณอุดร ที่ถามที่อาจารย์สุจินต์ ว่ายุคสมัยเปลี่ยนไป แล้วถ้ากฐินมีการเปลี่ยนไปตามยุคสมัย จะถูกต้องหรือไม่ คำตอบของท่านอาจารย์จะเป็นอย่างไรนั้น ทุกท่านกำลังจะได้อ่าน ดังต่อไปนี้ ครับ

คุณอุดร กราบท่านอาจารย์ครับ ยุคสมัยก็เปลี่ยนไป การทอดกฐินจึงมีการเปลี่ยน ไปตามยุคสมัย อย่างนี้ถูกต้องหรือไม่อย่างไร

อ. สุจินต์ เปลี่ยนพระวินัยได้ไหม

คุณอุดร เปลี่ยนไม่ได้ ไปแก้ไขเพิ่มเติมก็ไม่ได้ ครับ ขอบพระคุณมากครับ

อ.ประเชิญ ขอโทษนะครับ คุณอุดร ที่ว่าจะให้เปลี่ยนนี้ เปลี่ยนอย่างไร

คุณอุดร ก็ไม่เชิงเปลี่ยน แต่ว่าเมื่อมีการถวายผ้าแล้ว ก็มีการเสริมเข้าไปตรงที่ว่า มีการสร้างสิ่งก่อสร้างอะไรต่างๆ โบสถ์ วิหาร เป็นต้น

อ.ประเชิญ อันนั้น เป็นส่วนของเสนาสนะ ไม่ใช่กฐิน เป็นเรื่องของอาวาส เป็นเรื่องของเสนาสนะ ไม่ใช่เรื่องของกฐิน

คุณอุดร เวลาจะถวาย ต้องแยกไปต่างหาก (คนละส่วนกัน) ถ้าถวายพร้อมกัน จะได้ไหมครับ

อ.ประเชิญ ตอนที่ถวายกฐิน ก็คือ ถวายผ้าเท่านั้น (ผืนใดผืนหนึ่ง) ที่พระภิกษุ ท่านจะทำกฐิน อย่างอื่นไม่ใช่กฐิน

คุณเพ็ญโฉม เรียน คุณประเชิญ จริงๆ แล้ว อุบาสก อุบาสิกาเพียงแต่ถวายผ้า กับพระภิกษุ แล้วพระภิกษุท่านถึงจะนำผ้าดังกล่าว ไปทำตามพระวินัยกรรม ซึ่งเป็น สังฆกรรมอย่างหนึ่ง คือ การกรานกฐิน ด้วยกันเอง แต่อุบาสก อุบาสิกา จะไม่เกี่ยวแล้วใช่ไหมคะ

อ.ประเชิญ ใช่ครับ อุบาสก อุบาสิกา แค่เป็นผู้ถวายเท่านั้น ไม่มีสิทธิ์จะไปยุ่งว่า จะถวายรูปนั้นรูปนี้ เลือกองค์ไม่ได้ จะถวายกับใครนั้นอยู่ที่ทางคณะสงฆ์ ท่านจะเป็นผู้เลือก ว่าผ้าผืนนี้จะให้ใครกราน ซึ่งท่านจะให้นัยไว้ว่า จะต้องเป็นพระเถระ เป็นผู้ทรงคุณ เป็นพหูสูต จะต้องเป็นผู้รู้วิธีการกรานกฐิน อย่างถูกต้องตามพระวินัย สามารถที่จะ ตัด เย็บ ย้อมทำสำเร็จภายในวันนั้น นี้คือ คุณลักษณะของผู้ที่ควรแก่ผ้ากฐินนั้น

อ.สุจินต์ คุณประเชิญคะ และจะต้องเป็นพระที่มีจีวรเก่าด้วย

อ.ประเชิญ ใช่ครับ ถ้ามีพระเถระหลายรูป ก็เลือกเอาพระเถระที่มีผ้าที่เก่าและชำรุดที่สุด


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 21 ต.ค. 2553

อ.สุรีย์ “มีเหตุผลอะไรหรือไม่ ที่จะเป็นกฐิน ในช่วงเวลาหนึ่งเดือนหลังออกพรรษา แล้ว”

อ.ประเชิญ “ข้อความที่ปรากฏในพระวินัย เป็นการแสดงกาลจีวร หรือ กาลเวลาที่แสวงหาจีวรได้ ก็เป็นช่วงที่หลังจากหน้าฝนผ่านไปแล้ว ก็เป็นช่วงหลังออกพรรษาแล้วหนึ่งเดือน ซึ่งก็เข้าใจว่าในยุคนั้น เป็นช่วงเวลาที่ชาวบ้านมีผ้า เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก และก็มีการเก็บเกี่ยวฝ้ายที่จะมาทำเป็นผ้าได้ ที่จะให้อุบาสกอุบาสิกา ซึ่งเป็นชาวบ้านได้เจริญกุศลในการถวายผ้าใหม่ ผ้าที่เกิดขึ้นตามฤดูกาล พระภิกษุก็แสวงหาไม่ลำบาก

เพราะฉะนั้น กาล จีวร หนึ่งปี จะมีครั้งหนึ่ง ก็ช่วงที่ล่วงเลย ฤดูฝนออกพรรษาแล้ว หนึ่งเดือน (ช่วงเดือน ๑๑) ทำให้ภิกษุไม่ลำบากในการแสวงหาผ้า เนื่องจากว่า มีผ้าของชาวบ้านเกิดขึ้นมาก หาไม่ลำบาก แต่ถ้าเป็นช่วงเวลาอื่น เช่น ช่วง ฝนตกชุก หรือ หน้าแล้ง ก็อาจจะไม่มีผ้าเกิดขึ้น การแสวงหาก็จะลำบาก เพราะฉะนั้น ก็จึงแสดงช่วงที่เป็นช่วงออกพรรษาใหม่ๆ ก็เป็นช่วงกาลจีวร”

อ.สุจินต์ “ที่สำคัญที่สุด เพื่อความสามัคคีของสงฆ์”

อ.ประเชิญ “ใช่ครับ พุทธประสงค์หลัก ก็เพื่อความพร้อมเพรียง เพื่อความสามัคคีของหมู่คณะสงฆ์ที่อยู่ร่วมกัน”

อ.สุรีย์ “พระภิกษุสงฆ์มีตั้งเยอะแยะ แล้วจะถวายให้ใครดี ที่จะเป็นผู้รับกฐิน”

อ.ประเชิญ “จริงๆ แล้ว อยู่ที่คณะสงฆ์ ที่ท่านจะมีมติว่าจะมอบให้ภิกษุรูปใดเป็นผู้กรานกฐิน หรือ ได้รับผ้าซึ่งเป็นผ้ากฐินนั้น ซึ่งมีรายละเอียดอยู่มากพอสมควร ตามที่ได้เรียนไปแล้วว่า

๑. ภิกษุรูปนั้นต้องเป็นผู้ที่มีผ้าที่เก่า ที่ควรที่จะเปลี่ยน

๒. ต้องเป็นภิกษุที่รู้พระธรรมวินัย สามารถที่จะทำการกรานกฐินให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย หลักๆ คือ ๒ อย่างนี้ แล้วก็ต้องเป็นพระเถระที่ทรงคุณ เป็นพหูสูต ที่ควรเหมาะสมแก่ผ้าที่เกิดขึ้นนั้น”

คุณอรวรรณ คุณประเชิญ คะ แล้ววัดหนึ่ง รับกฐินได้เพียงครั้งเดียวใช่ไหมคะ

อ.ประเชิญ ใช่ครับ ปีหนึ่งได้แค่ครั้งเดียว และผ้าผืนเดียวด้วย ไม่ใช่ทั้งชุดแต่เป็นผืนเดียวเท่านั้น ผืนใดผืนหนึ่งที่เหลือก็ไม่ใช่กฐิน

คุณอรวรรณ สมัยนี้มีอย่างนี้ด้วยคือ ถ้าวัดนี้คุณสมบัติไม่เพียงพอ ก็ไปรวมกับวัดอื่น

อ.ประเชิญ อย่างนั้น ไม่ใช่กฐินอย่างแน่นอน

อ.สุจินต์ คุณประเชิญคะ ผ้าที่เหลือหรือส่วนอื่นๆ ที่เหลือ จะบอกว่าเป็นบริวารกฐิน ได้ไหม

อ.ประเชิญ เท่าที่ตรวจสอบค้นคว้าในพระไตรปิฎกและอรรถกถา ไม่พบคำว่าบริวารกฐิน

อ.สุจินต์ แล้วที่บอกว่า เพื่อความสามัคคี ก็เพราะว่าสงฆ์ จะต้องกระทำร่วมกันเป็นสังฆกรรม ที่จะให้ภิกษุรูปใดเป็นผู้รับผ้ากฐิน โดยความพร้อมเพรียงของ สงฆ์ ไม่ใช่ไปเลือกตามใจชอบ

อ.ประเชิญ และเป็นสังฆกรรมที่จะต้องร่วมแรงร่วมใจกันทำให้เสร็จในวันนั้นด้วย

คุณบุษกร กฐิน จะถวายก่อนหรือหลังภายในเวลาหนึ่งเดือนหลังออกพรรษาได้หรือไม่

อ.ประเชิญ อย่างนั้น ไม่เป็นกฐิน ถวายก่อนหรือหลังไม่ได้ ต้องเป็นภายในเวลาที่กำหนดเท่านั้น

คุณคำปั่น กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์สุจินต์ และ อาจารย์ประเชิญ เป็นอย่างยิ่ง ที่ให้ความกระจ่างในเรื่องกฐิน นี้ ถึงแม้ว่าจะเป็นช่วงเวลาอันสั้น แต่ก็ สามารถทำให้เข้าใจ เรื่องกฐินนี้ ได้ค่อนข้างมาก ตรงตามพระวินัย สืบเนื่องจากอาทิตย์ที่แล้ว ท่านอาจารย์สุจินต์ได้ถามว่า บริวารกฐิน มีในพระไตรปิฎกหรือไม่ แล้วก็ได้ไปค้นคว้าในพระไตรปิฎก ปรากฏว่า บริวารกฐิน ไม่มีในพระไตรปิฎก และก่อนที่ ท่านอาจารย์สุจินต์ จะเดินทางกลับเมื่อสนทนาธรรมจบลง นั้น

ท่านอาจารย์ ได้กล่าวเตือนให้ ได้คิดไว้ดีมากเลยทีเดียวว่า ถ้าเราไม่ทำให้ถูกต้อง แล้วใครจะทำให้ถูกต้อง” อันนี้ ก็เตือนให้ เป็นผู้มีความมั่นคง ในพระธรรมคำสอน ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงว่า ต้องเป็นไปตามพระธรรมวินัยจริงๆ ขอกราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาท่านอาจารย์ด้วยครับ

อ.สุจินต์ การศึกษาธรรม เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง และธรรมก็ทั้งสามปิฎกด้วย เมื่อศึกษาแล้วก็ควรที่จะทำสิ่งที่ถูกต้องด้วย


ก็เป็นอันว่า จบลงแล้วสำหรับ กฐิน ในพระพุทธศาสนา ซึ่งตัวผู้นำเสนอเอง ก็ได้ประโยชน์ค่อนข้างมาก จากการที่ได้เรียบเรียง และนำเสนอในเรื่องนี้ จากที่ไม่เคยรู้ และเข้าใจผิดมานาน ก็ได้เข้าใจถูกต้องขึ้น แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ในชีวิตประจำวัน ว่าเป็นไปเพื่อความเข้าใจถูก เห็นถูกยิ่งขึ้น จริงๆ และท่านผู้อ่านทุกท่าน ก็คงจะได้รับประโยชน์ เช่นเดียวกัน ไม่มากก็น้อย นะครับ"

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 21 ต.ค. 2553

"การศึกษาธรรม เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง และธรรมก็ทั้งสามปิฎกด้วย เมื่อศึกษาแล้วก็ควรที่จะทำสิ่งที่ถูกต้องด้วย"


กราบท่านอาจารย์

และขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของคุณคำปั่นด้วยครับ

กระทู้เรื่อง "กฐิน ในพระพุทธศาสนา" นี้ ให้ความเข้าใจได้ชัดเจนดีมากครับ เป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่เห็นประโยชน์ และ มีความเคารพในพระธรรมวินัยเป็นที่ยิ่งครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
pornpaon
วันที่ 22 ต.ค. 2553

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Noparat
วันที่ 22 ต.ค. 2553

ถ้าเราไม่ทำให้ถูกต้อง แล้วใครจะทำให้ถูกต้อง

ขอกราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ค่ะ

เมื่อเกิดมาได้ทำสิ่งที่ดีมีประโยชน์ เท่าที่จะกระทำได้ เท่านี้ ... ชีวิตก็มีค่าแล้ว

ขอบคุณ และขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของคุณคำปั่น ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 22 ต.ค. 2553

ขอบพระคุณและขออนุโมทนามากครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
orawan.c
วันที่ 22 ต.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ ตั้งกระทู้เหมาะกับกาล เพื่อเข้าใจถูกและปฏิบัติถูกค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chaiyut
วันที่ 22 ต.ค. 2553

ได้ติดตามอ่านตั้งแต่ต้นจนจบ ได้รับประโยชน์มากจริงๆ ครับ

ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
wannee.s
วันที่ 22 ต.ค. 2553

ประโชน์ของการศึกษาพระธรรม เพื่อการประพฤติปฏิบัติตามค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
aditap
วันที่ 24 ต.ค. 2553

ขอบพระคุณ และ ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
chvj
วันที่ 24 ต.ค. 2553
ขอบพระคุณ และ ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ที่พึ่งที่ระลึก
วันที่ 26 ต.ค. 2553
ขอบพระคุณและอนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
อินทรีย์พละ
วันที่ 28 ต.ค. 2553

กราบเรียน ถามอาจารย์คำปั่น

หลังจาก พ้นฤดูกาลแห่งกฐินไปแล้ว แต่ปรากฏว่าพระภิกษุรูปอื่นที่ไม่ได้รับกฐิน เนื่องจาก มติของสงฆ์ได้ถวายให้พระเถระ ที่มีจีวรเก่า ชำรุดมากแล้ว หลายเดือนต่อมาภิกษุบางรูปก็มีจีวรเก่ามากเช่นเดียวกัน ฆราวาสอย่างเราสามารถหาจีวรมาถวายได้หรือไม่ แต่ว่าไม่ได้เรียกว่า กฐินครับ

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
khampan.a
วันที่ 29 ต.ค. 2553

เรียนความคิดเห็นที่ 12

ตามข้อความที่ได้นำเสนอไปแล้วว่า กฐิน เป็นเรื่องของผ้า ซึ่งเป็นผ้าผืนใดผืนหนึ่งในบรรดา ๓ ผืนเท่านั้น ซึ่งมีผู้ถวาย ขอบเขตในการถวายกฐินนั้น มีระยะเวลา ๑ เดือน คือ หลังออกพรรษาแล้ว ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึง วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒

เมื่อมีผู้ถวายผ้าแล้ว สงฆ์ท่านจะมีมติว่าจะมอบผ้านั้นแก่ผู้ใด ซึ่งเป็นสังฆกรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งจะต้องทำให้เสร็จ ภายในวันนั้น ตั้งแต่ต้นจนจบ คณะสงฆ์อนุโมทนา ทั้งภิกษุผู้ได้รับผ้า และพระภิกษุผู้อนุโมทนาซึ่งอยู่ในสังฆกรรมนั้น ก็ได้ชื่อว่า ผู้กรานกฐิน เช่นเดียวกันและได้รับอานิสงส์ เหมือนกัน โดยเฉพาะอานิสงส์ที่เกี่ยวกับผ้าโดยตรง คือ อานิสงส์ข้อที่ ๔ และข้อที่ ๕ ดังนี้ คือ

๔. ทรงอติเรกจีวรได้ตามปรารถนา ในช่วงกาลจีวรนี้ สามารถเก็บผ้าที่ได้มาที่จะมาทำจีวรได้ โดยไม่กำหนดเวลา ในช่วงที่ได้รับอานิสงส์กฐินนี้ ซึ่งปกติจะเก็บไว้ได้เพียง ๑๐ วัน เท่านั้น

๕. จีวรอันเกิดขึ้น ณ ที่นั้น จักได้แก่พวกเธอ โดยปกติแล้วในอาวาสหนึ่ง ถ้ามีผู้ถวายผ้า ซึ่งถวายแก่สงฆ์ ทั้งภิกษุที่อยู่จำพรรษา และทั้งที่เป็นภิกษุอาคันตุกะ สงฆ์ จะต้องทำการแบ่งให้กับทุกรูป แต่ในกรณีที่ได้กรานกฐิน พระอาคันตุกะไม่มีสิทธิ์ ได้เฉพาะภิกษุผู้จำพรรษา ณ อาวาสนั้นเท่านั้น เมื่อผ่านพ้นฤดูแห่งกฐินไปแล้ว อุบาสกอุบาสิกาสามารถถวายผ้าแก่พระภิกษุได้ แต่ผ้าที่ถวาย นั้น ไม่ใช่กฐิน ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณอินทรีย์พละ และ ทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
อินทรีย์พละ
วันที่ 31 ต.ค. 2553

กราบขอบพระคุณที่อาจารย์คำปั่นที่ได้ให้ความกระจ่างแจ้งในเรื่องนี้ครับ

อนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
เมตตา
วันที่ 1 พ.ย. 2553

...ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนา อ. คำปั่น ค่ะ...

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
jirat wen
วันที่ 5 ก.ย. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
Nataya
วันที่ 4 พ.ค. 2563

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
chatchai.k
วันที่ 4 ต.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ