สังฆเภท

 
WS202398
วันที่  10 พ.ย. 2553
หมายเลข  17502
อ่าน  24,507

เรียน ความเห็นที่ 3

ถ้าแตกแยกกัน โดยโวหารเรียกว่า สังฆเภท หรือสังฆราซี ขอเชิญคลิกอ่านเพิ่มที่ สังฆเภท ไม่ตกนรก

เรียน ความเห็นที่ 4

ผู้ที่ไม่ใช่พระภิกษุ ทำสังฆเภทไม่ได้ เป็นเพียงสังฆราชี และรายละเอียดตามความเห็นที่ ๕ ยกมาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 10 พ.ย. 2553

สังฆเภท หรือการแตกกันของสงฆ์ เป็นเรื่องของพระภิกษุสงฆ์โดยเฉพาะ เป็นเรื่องที่เข้าใจยากพอสมควรครับ

ลองอ่านกระทู้เรื่องสังฆเภทที่

สังฆเภท

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 11 พ.ย. 2553

การทำสังฆเภท เป็นเรื่องของพระภิกษุโดยตรง ไม่เกี่ยวกับคฤหัสถ์ เป็นกรรมที่หนัก เป็นอนันตริยกรรม เมื่อตายจากโลกนี้ไปตกนรกอเวจี เช่น พระเทวทัตได้รับทุกข์ทรมานแสนสาหัส ซึ่งตอนนี้ท่านก็ยังอยู่ในนรก ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
WS202398
วันที่ 15 พ.ย. 2553

จากกระทู้เรื่องสังฆเภทที่ สังฆเภท หากมีพระฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามธรรมวินัย ประกาศอธรรมอวินัย ว่าเป็นธรรมเป็นวินัย พระฝ่ายที่ปฏิบัติตามธรรมวินัย ประกาศธรรมประกาศวินัยโดบชอบ ต้องทำอย่างไรถึงจะไม่เป็นสังฆเภท การแยกกันโดยไม่เป็นสังฆเภทมีหรือไม่ แล้วที่ว่านานาสังวาส อะไรทำนองนี้คืออะไรครับ ที่ผ่านมา 2553 ปี มีการแตกการแยกของนักบวชในศาสนามากหมายหลายกรณี แต่ละครั้งเป็นหรือไม่เป็นสังฆเภทด้วยเหตุอะไรครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
homenumber5
วันที่ 16 พ.ย. 2553

เรียน ท่านความเห็นที่ 1

ส่วนตัวดิฉันเห็นว่า หากผู้ใดได้มีการประพฤติปฏิบัติ หรือกล่าววาจา และแสดงธรรมที่เข้าข่ายตามรายละเอียด กระทู้สังฆเภท ที่ท่านยกมาให้อ่านนั้น คนๆ นั้น ไม่ว่าอยู่ในสถานะภาพใด ได้ชื่อว่า ก่อให้เกิด สังฆเภท แล้ว ใช่หรือไม่ คะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
PUM
วันที่ 17 พ.ย. 2553

สังฆเภท

สังฆเภท แปลว่า การทำสงฆ์ให้แตกกัน การทำลายสงฆ์ ความแตกกันแห่งสงฆ์

สังฆเภท หมายถึง การยุยง การขวนขวายให้สงฆ์แตกความสามัคคีกัน ไม่ปรองดองกันจนถึงกับแยกกันทำอุโบสถสังฆกรรม แม้จะมีการห้ามปรามตักเตือนจนสงฆ์ประชุมกันให้เลิกละการกระทำอย่างนั้นเสีย ก็ยังไม่ปฏิบัติตาม ยังฝืนทำเช่นนั้นอีก เช่นนี้ จัดเป็นสังฆเภท สังฆเภท จัดเป็นอนันตริยกรรมคือกรรมที่มีโทษหนักที่สุดเท่ากับโทษฆ่าบิดามารดา มีผลถึงห้ามสวรรค์ห้ามนิพพานทีเดียว ผู้ที่ทำลายสงฆ์ท่านมุ่งเอาเฉพาะภิกษุเท่านั้น คำว่า ทำลายสงฆ์ หมายเอาการทำให้สงฆ์แตกแยกกันเป็น ๒ ฝ่าย หรือมากกว่านั้น โดยที่สงฆ์ เหล่านั้นไม่ยอมทำอุโบสถกรรม ปวารณากรรม หรือสังฆกรรรมอย่างอื่นๆ ร่วมกัน เพราะเกิดความแตกแยก ความรังเกียจ หรือความอาฆาตพยาบาทจองเวรกัน

อุกเขปนียกรรม คือ กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุอันจะพึงยกเสีย หมายถึง วิธีการลงโทษที่สงฆ์กระทำแก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติ แล้ว ไม่ยอมรับว่าเป็นอาบัติหรือไม่ยอมทำคืนอาบัติ หรือมีความเห็นชั่วร้าย (ทิฏฐิบาป) ไม่ยอมสละซึ่งเป็นทางเสียสีลสามัญญตา
หรือ ทิฏฐิสามัญญตา โดยยกเธอเสียจากการสมโภคกับสงฆ์ คือ ไม่ให้ฉันร่วม ไม่ให้อยู่ร่วม ไม่ให้มีสิทธิ เสมอกับภิกษุทั้งหลาย หรืออีกนัยหนึ่งว่า ถูกตัดสิทธิแห่งภิกษุชั่วคราว

บุคคลผู้ทำสังฆเภท

บุคคล ผู้อาจทำสังฆเภทได้นั้น จะต้องเป็นภิกษุเท่านั้น และต้องมีคุณสมบัติ ๓ ประการ คือ

๑. เป็นปกตัตตะภิกษุ หมายถืง ผู้ เป็นพระภิกษุโดยปกติ ที่ประกอบด้วยสีลสามัญตา คือ มีศีลเสมอเป็นอันเดียวกันกับภิกษุทั้งหลายโดยปกติ คือ ไม่เป็นผู้ต้องอาบัติปาราชิก หรือถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม

๒. เป็นสมานสังวาส คือ เป็นภิกษุผู้มีการอยู่กินร่วมเสมอกัน มีความพร้อมเพรียงกัน ทำสังฆกรรมร่วมกัน ทำอุโบสถกรรมร่วมกัน เป็นต้น กับภิกษุทั้งหลายในอาวาสนั้น ฯ

๓. อยู่ในสีมาร่วมกัน หมายถึง อยู่ในเขตกำหนดสงฆ์ที่สงฆ์ได้ตกลงไว้สำหรับภิกษุทั้งหลาย ภายในเขตกำหนดหนึ่งๆ ที่จะต้องทำสังฆกรรมหรือทำอุโบสถร่วมกัน ในวัดเดียวกันที่เป็นพัทธสีมา หรืออพัทธสีมาก็ตาม บุคคลผู้ไม่อาจทำสังฆเภท

บุคคล ผู้ไม่อาจทำสังฆเภท คือ ทำลายสงฆ์ให้แตกแยกกันได้ แต่บุคคลเหล่านี้เป็นแต่เพียงสนับสนุน ส่งเสริม ยุยงให้สงฆ์แตกแยกกันให้ทำสังฆเภท มี ๖ ประเภท คือ

๑. ภิกษุณี

๒. นางสิกขมานา

๓. สามเณร

๔. สามเณรี

๕. อุบาสก

๖. อุบาสิกา

สาเหตุที่ทำให้สงฆ์แตกแยกกัน มี ๒ ประการ คือ

๑. มีความเห็นปรารภพระธรรมวินัยต่างกัน จนเกิดเป็นวิวาทาธิกรณ์ขึ้น คือ เสียทิฏฐิสามัญญตา

๒. มีความประพฤติปฏิบัติไม่สม่ำเสมอกัน มีศีลไม่เสมอกัน ยิ่งหย่อนกว่ากันจนเป็นเหตุให้เกิดความรังเกียจขึ้น คือ เสียสีลสามัญญตา

อาการ ที่สงฆ์จะแตกแยกกัน ในคัมภีร์บริวารท่านกล่าวไว้ว่าด้วย เหตุ ๕ ประการ คือ

๑. ด้วยกรรม ได้แก่ ทำสังฆกรรม

๒. ด้วยอุทเทส ได้แก่ การสวดพระปาฏิโมกข์

๓. กล่าวด้วยโวหาร ได้แก่ตั้งญัตติ

๔. ด้วยอนุสาวนา ได้แก่ประกาศด้วยกรรมวาจา

๕. ด้วยการให้จับสลาก ได้แก่ให้ลงคะแนนชี้ขาด

ความ แตกต่างแห่ง สังฆเภท สังฆราชี และสังฆสามัคคี

สังฆเภท คือ ความแตกแยกแห่งสงฆ์ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงบัญญัติให้สงฆ์ทำอุโบสถกรรม ปวารณากรรม และสังฆกรรมน้อยใหญ่อย่างอื่นภายในสีมาเดียวกัน พร้อมเพรียงกันด้วยสังฆสามัคคี แต่เมื่อไรก็ตามที่ภิกษุทั้งหลายแตกกันเป็น ก๊ก เป็นเหล่า เป็นพวก แยกกันทำอุโบสถกรรม แยกกันทำปวารณากรรม หรือแยกกันทำสังฆกรรม หรือกรรมน้อยใหญ่ภายในสีมาเดียวกัน ซึ่งการทำสังฆเภทนี้จะต้องประกอบไปด้วยภิกษุที่ครบองค์สงฆ์ คือ ประกอบด้วยภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปทั้งสองฝ่าย การกระทำเหล่านี้จัดเป็น สังฆเภท

สังฆราชี คือ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ เมื่อภิกษุสองฝ่าย ต่างมีจำนวนครบองค์สงฆ์ คือ ๔ รูปขึ้นไป มีความเห็นไม่ลงรอยกัน ประพฤติปฏิบัติไม่เสมอกัน แต่ยังไม่ถึงกับแยกกันทำอุโบสถกรรม ปวารณากรรม และสังฆกรรมน้อยใหญ่อื่นๆ คือถึงแม้จะแตกแยกร้าวรานทะเลาะเบาะแว้งกันแต่ยังคงทำสังฆกรรมร่วมกันภายใน สีมาเดียวกันเป็นปกติ จัดเป็นเพียง สังฆราชี

สังฆสามัคคี คือ ความพร้อมเพรียงกันแห่งสงฆ์ ความปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน มีอุทเทส คือ ฟังปาติโมกข์ร่วมกัน มีวัตรปฏิบัติเสมอกัน มีการทำสังฆกรรมร่วมกันอย่างสามัคคี ย่อมอยู่ผาสุกและความพร้อมเพรียงกันแห่งสงฆ์ย่อมเป็นมูลเหตุแห่งความตั้ง มั่น และความเจริญยั่งยืนแห่งพระศาสนา ซึ่งในบาลีโกสัมพีขันธกะ ได้แสดงสังฆสามัคคีไว้ ๒ ประการ คือ

๑. สงฆ์ไม่วินิจฉัยเรื่อง ไม่สาวเข้าไปหามูลเหตุ การทำสังฆสามัคคีอย่างนี้ทำให้เสียอรรถคือ เนื้อความ ได้แต่พยัญชนะไม่เป็นธรรม

๒. สงฆ์วินิจฉัยเรื่อง สาวเข้าไปหามูลเหตุ แล้วทำสังฆสามัคคี อย่างนี้ได้ทั้งอรรถได้ทั้งพยัญชนะ จัดว่าเป็นธรรมสงฆ์ ผู้พร้อมเพรียงกันนั้น อาจจะแตกแยกกันได้ง่าย เมื่อแตกแยกกันแล้วจะสามัคคีกันได้ยากมาก เพราะเหตุนั้นพระบรมศาสดาจึงตรัสเตือนให้คำนึงถึงการแตกแยกกันให้มากๆ ไม่ควรเอาแต่ใจตนเอง ควรมุ่งความสามัคคีเป็นใหญ่ ไม่ดื้อรั้นด้วยอำนาจทิฏฐิมานะ การจะประพฤติปฏิบัตินั้น ให้มุ่งเอาความเจริญรุ่งเรืองความมั่นคงแห่งพระศาสนาและพระธรรมวินัยเป็น หลักจาก//www.phuttha.com/

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
prachern.s
วันที่ 18 พ.ย. 2553

เรียน ความเห็นที่ 3

ถ้าแตกแยกกัน โดยโวหารเรียกว่าสังฆเภท หรือสังฆราซี ขอเชิญคลิกอ่านเพิ่มที่ สังฆเภท ไม่ตกนรก

เรียนความเห็นที่ 4

ผู้ที่ไม่ใช่พระภิกษุ ทำสังฆเภทไม่ได้ เป็นเพียงสังฆราชี และรายละเอียดตามความเห็นที่ ๕ ยกมาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
homenumber5
วันที่ 20 พ.ย. 2553

ขออนุโมทนา ในกุสลที่ท่านความเห็นที่ 5 ได้แสดงชัดเจนมาด้วย

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
WS202398
วันที่ 26 พ.ย. 2553

เรียน ความเห็นที่ 6

ที่ไม่ตกนรก เพราะ ไม่อำพรางความเห็น ไม่อำพรางความถูก ใจ ไม่อำพรางความชอบใจ ไม่อำพรางความจริง ใช่หรือไม่ หรือเพราะเหตุใด

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
chaiyut
วันที่ 15 ธ.ค. 2553

เรียน ความเห็นที่ 9

ตามความเห็นส่วนตัวของผม ผมเห็นว่า เป็นเพราะท่านแสดงสิ่งที่ไม่ใช่ธรรมที่ถูกต้องออกไปก็จริง แต่ท่านได้ประกาศให้มีการจับสลากตกลงกันกับภิกษุรูปอื่นว่า ได้มีความเห็นที่คล้อยตาม หรือมีความเห็นที่แตกต่างไปจากธรรมที่ท่านกล่าวไว้หรือไม่ ซึ่งถ้าภิกษุผู้ที่ศึกษาธรรมถูกต้องมีปัญญาพากันไม่เห็นด้วยกับท่าน ก็ยังพอจะมีโอกาสช่วยเหลือให้ผู้ที่จะกำลังกระทำสังฆเภทนั้นๆ ไม่ต้องตกนรก และกลับมามีความเห็นที่ถูกต้องตรงตามพระธรรมวินัยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
เซจาน้อย
วันที่ 20 ม.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
chatchai.k
วันที่ 6 เม.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ