ไม่เข้าใกล้ แม้ด้วยใจ
ในการบรรยาย “แนวทางเจริญวิปัสสนา” ครั้งหนึ่ง ท่านอาจารย์อธิบายเรื่องความคิดว่า ทุกคนคิดทุกวัน คิดเกือบตลอดเวลา จนบอกไม่ได้ว่า คิดเรื่องอะไรบ้าง ซึ่งส่วนใหญ่คิดเป็นอกุศล และเมื่อไรจึงจะคิดเป็นกุศลมากกว่าอกุศล ในวันเสาร์ที่ ๑๓ พ.ย.๕๓ ชั่วโมงสนทนาพระสูตร ทางมูลนิธิฯ นำพระสูตรชื่อ “ปราภวสูตรที่ ๖” ว่าด้วย ความเสื่อม ๑๒ ประการ เช่น เกลียดธรรม มีอสัตบุรุษเป็นที่รัก ชอบใจธรรมของอสัตบุรุษ เป็นต้น และท่านอาจารย์นำมาสนทนาต่อในระหว่างรับประทานอาหารกลางวันว่า ในพระไตรปิฎก และอรรถกถานั้น พูดถึงเรื่อง การคบคนพาลว่า ไม่คบด้วยการเข้าใกล้ แม้ด้วยใจ (ท่านอาจารย์กล่าวว่า ในพระไตรปิฎก และอรรถกถานั้นมีคำคมมากมาย ซึ่งจะรู้ว่าคมหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับกำลังปัญญาด้วย อย่างเราต้องให้ท่านบอกว่า คำนี้ คมนะ) คือ ไม่แม้แต่จะคิดถึงคนพาล (รวมทั้งตนเองขณะที่เป็นอกุศล ก็เป็นคนพาล เช่นกัน) ซึ่งเราสังเกตดูได้ว่า ขณะที่คิดถึงคนพาลนั้นส่วนใหญ่เป็นอกุศล แต่ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา จะห้ามไม่ให้คิดก็ไม่ได้ แต่ถ้าคิดถึงคนพาล ก็รู้ว่าเพราะความคิดเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล และความคิดก็ไม่เป็นอิสระ เกิดขึ้นมาได้เองลอยๆ ต้องขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยที่สะสมมาด้วย ที่จะทำให้คิดเป็นกุศลหรืออกุศลซึ่งแน่นอนว่า ถ้ามีปัญญาตั้งแต่ขั้นฟัง ขั้นพิจารณา ความคิดก็เริ่มเป็นกุศลมากขึ้น จนกระทั่ง ถ้าเป็นผู้มีปกติอบรมเจริญสติปัฏฐาน ความคิดเป็นกุศลก็ย่อมมากกว่าอกุศลในชีวิตประจำวัน กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ที่ใช้เวลาเกือบทั้งหมดแสดงธรรม แม้เวลาเพียงสั้นๆ แต่ก็เป็นประโยชน์ให้เกิดความเข้าใจพระธรรมที่จะสะสมอยู่ในจิตขณะต่อๆ ไป
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
"กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ที่ใช้เวลาเกือบทั้งหมดแสดงธรรม แม้เวลาเพียงสั้นๆ แต่ก็เป็นประโยชน์ให้เกิดความเข้าใจพระธรรม ที่จะสะสมอยู่ในจิตขณะต่อๆ ไป"
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
แต่ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา จะห้ามไม่ให้คิดก็ไม่ได้ แต่ถ้าคิดถึงคนพาล ก็รู้ว่าเพราะความคิดเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล และความคิดก็ไม่เป็นอิสระ เกิดขึ้นมาได้เองลอยๆ ต้องขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยที่สะสมมาด้วย
กราบอนุโมทนาความมีเมตตาของท่านอาจารย์ค่ะ
กราบขอบพระคุณพี่แดงค่ะ
ท่านอาจารย์กล่าวว่าในพระไตรปิฎก และอรรถกถานั้นมีคำคมมากมาย ซึ่งจะรู้ว่าคมหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับกำลังปัญญาด้วย อย่างเราต้องให้ท่านบอกว่า คำนี้คมนะ
ขออนุโมทนาคะที่นำสิ่งที่เป็นประโยชน์มาลงเสมอ และครั้งนี้บวกด้วยรอยยิ้มด้วย