กาม และ กิเลส เป็นเครื่องผูก
[เล่มที่ 40] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๔๐ - หน้าที่ ๔๑๗
สองบทว่า เย จิตฺตํ ความว่า ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง คือเป็นบุรุษหรือสตรี เป็นคฤหัสถ์หรือบรรพชิต เมื่อไม่ให้กิเลสที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ละกิเลสที่เกิดขึ้นแล้วเพราะความฟั่นเฟือนแห่งสติ ชื่อว่าจักสำรวมจิต คือจักทำจิตให้สงบ ได้แก่ ไม่ให้ฟุ้งซ่าน
บาทพระคาถาว่า โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา ความว่า ชนเหล่านั้นทั้งหมด ชื่อว่าจักพ้นจากวัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ ๓ อันนับว่าเป็นเครื่องผูกแห่งมาร เพราะไม่มีเครื่องผูกคือกิเลส
[เล่มที่ 46] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๔๖ - หน้าที่ ๑๗๐
บทว่า คิหิพนฺธนานิ ได้แก่ เครื่องผูกคือกาม เพราะกามทั้งหลาย เป็นเครื่องผูกแห่งคฤหัสถ์ทั้งหลาย
[เล่มที่ 67] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖๗ หน้าที่ ๕๕๐
บุตร ทาสี ทาส แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา นา ที่ดิน เงิน ทอง บ้าน นิคม ราชธานี แว่นแคว้น ชนบท ฉาง คลัง และวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดทุกชนิด ท่านกล่าวว่า เครื่องผูกแห่งคฤหัสถ์