โพชฌงค์ ๗ ย่อมเป็นไปเพื่อละธรรมเป็นที่ตั้งสังโยชน์ [เอกกรรมสูตร]
[เล่มที่ 30] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 241
๙. เอกกรรมสูตร
โพชฌงค์ ๗ ย่อมเป็นไปเพื่อละธรรมเป็นที่ตั้งสังโยชน์
[๔๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเรายังไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้ข้อหนึ่งที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อละธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์เหมือนโพชฌงค์ ๗ นี้เลย โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์.
[๔๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมเป็นไปเพื่อละธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์.ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อละธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์.
[๒๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์เป็นไฉน.จักษุเป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ เครื่องผูก เครื่องจองจำ คือ สังโยชน์เหล่านั้นย่อมเกิดที่จักษุนี้ โสต .. ฆานะ . . ชิวหา . . ใจเป็นธรรมที่ตั้งแห่งสังโยชน์ เครื่องผูก เครื่องจองจำ คือ สังโยชน์เหล่านั้น ย่อมเกิดที่ใจนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์
จบเอกธรรมสูตรที่ ๙