จิต และ เจตสิกต่างกันอย่างไร

 
895228
วันที่  5 ส.ค. 2549
หมายเลข  1756
อ่าน  15,092

จิต และ เจตสิก เป็นนามธรรม ที่เป็นสภาพรู้ เช่นเดียวกัน เกิด - ดับ พร้อมกันเกิด - ดับ ที่เดียวกันรู้อารมณ์ เดียวกัน แล้วจะต่างกันอย่างไร ครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 6 ส.ค. 2549

จิตและเจตสิกเป็นนามธรรมและมีสภาพรู้เหมือนกัน แต่จิตทั้งหมดมีกิจเดียว คือ เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์เท่านั้น ส่วนเจตสิกแต่ละประเภทมีกิจรู้อารมณ์ที่แตกต่างกัน เช่น ผัสสะ ทำกิจกระทบอารมณ์ เวทนาทำกิจเสวยอารมณ์ สัญญาทำกิจจำอารมณ์วิตกทำกิจตรึกหรือจรดในอารมณ์ ปัญญาทำกิจรู้ทั่ว เป็นต้น

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
กลมวิเชียร
วันที่ 10 ธ.ค. 2549

จิต และ เจตสิก เป็นนามธรรม ที่เป็นสภาพรู้ เช่นเดียวกัน

อยากทราบว่า อะไร คือ สิ่งที่เป็นตัวรับรู้ของสิ่งที่ถูกรับรู้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
สามารถ
วันที่ 12 ธ.ค. 2549

สิ่งที่เป็นตัวรับรู้ คือ สภาพรู้ (นามธรรม) สิ่งที่ถูกรับรู้ (เรียกว่า "อารมณ์") คือ สภาพไม่ได้รู้ (คือ รู้ไม่ได้"รูปธรรม") ทั้ง จิต และ เจตสิก เป็นนามธรรม ดังนั้น ทั้งจิต และ เจตสิก จึงรู้ในอารมณ์แต่ ชื่อว่า จิต เพราะ รู้แจ้ง ใน อารมณ์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
supakorn
วันที่ 13 ธ.ค. 2549
แค่อ่านดูก็รู้สึกยากแล้วครับ ลึกซึ้งมากๆ เลย
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ