ขอทราบคำแปล
ขอความกรุณาแปลความหมาย วรรคต่อวรรค ให้ด้วย
ทุกขเมวะ หินะโกจิ ทุกขิโต การะโกนะ กิริยาวะ วิชชะติ อัตถิ นิพพุติ นะนิพพุโต ปุมา มะคะ มัตติ คะมะโกนะ วิชชะตีติ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
แปลประโยคต่อประโยค คำต่อคำ ได้ดังนี้ ครับ ทุกฺขเมว หิ น โกจิ ทุกฺขโต (จริงอยู่ ทุกข์เท่านั้น มีอยู่ แต่ใครๆ ที่เป็นทุกข์ ย่อมไม่มี) การโก น กิริยาว วิชฺชติ (การกระทำ นั่นแล มีอยู่ แต่บุคคลผู้กระทำ ย่อมไม่มี) อตฺถิ นิพฺพุติ น นิพฺพุโต ปุมา (ความดับ มีอยู่ แต่บุคคลผู้ดับ ย่อมไม่มี) มคฺคมตฺถิ คมโก น วิชฺชติ (ทางมีอยู่ แต่ผู้เดินทาง ย่อมไม่มี) คำบาลีที่ คุณgavajidham ได้ยกมานั้นมีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก ขุททกนิกายปฏิสัมภิทามรรค ที่แสดงถึงความจริงของสภาพธรรม เพราะเหตุว่า สิ่งที่มีจริงทุกอย่างเป็นธรรม เมื่อว่าโดยสภาพธรรมแล้ว ไม่พ้นไปจากสิ่งที่มีจริง ๔ อย่าง คือ จิต เจตสิก รูป และ พระนิพพาน สิ่งที่มีจริง ๔ อย่างเหล่านี้ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตนแต่เป็นสภาพธรรมแต่ละอย่างๆ ที่ว่างเปล่า (สูญ) จากความเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตน
ขอเชิญคลิกอ่านข้อความดังกล่าว ได้ที่นี่ ครับ
ธรรม เป็นของสูญ [ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค]
ประโยชน์สูงสุดของการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม คือ เข้าใจความจริง ศึกษาเพื่อละ กล่าวคือ ละตั้งแต่ต้น ละคลายความไม่รู้ และ ละความเห็นผิด ที่ยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตน ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
"จริงอยู่ ทุกข์เท่านั้นมีอยู่ แต่ใครๆ ที่เป็นทุกข์ย่อมไม่มี การกระทำนั่นแลมีอยู่ แต่บุคคลผู้กระทำย่อมไม่มี ความดับมีอยู่ แต่บุคคลผู้ดับย่อมไม่มี ทางมีอยู่ แต่ผู้เดินทางย่อมไม่มี" เป็นพระคาถาที่ไพเราะมากค่ะ
ขออนุโมทนา
ขออนุญาตเรียนถามอาจารย์คำปันเพิ่มเติมครับว่า พระคาถาบทนี้มีนัยเกี่ยวข้องกับอริยสัจจ์ ๔ ด้วยหรือไม่ครับ เนื่องจากกล่าวถึง ทุกข์ กรรมหรือการกระทำ (ซึ่งน่าจะหมายถึงเหตุให้เกิดทุกข์) ความดับ และทาง (ซึ่งน่าจะหมายถึงมรรค) ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เรียน ความคิดเห็นที่ ๔ ครับ
ความเห็นของคุณจักรกฤษณ์ ถูกต้องครับ เพราะในที่นั้นแสดงไว้ชัดเจนว่า สัจจะเหล่านั้น ... ซึ่งก็หมายถึง สัจจะ ทั้ง ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และ มรรค เมื่อกล่าวถึง สัจจะ ทั้ง ๔ นั้น ก็ไม่พ้นจากปรมัตถธรรมทั้ง ๔ เลย กล่าวคือ รูปทั้งหมด (รูปปรมัตถ์) โลกิยจิต ๘๑ (จิตปรมัตถ์) เจตสิก ๕๑ (เจตสิกปรมัตถ์ เว้น โลภะ) เป็น ทุกขสัจจ์ โลภเจตสิก (เจตสิกปรมัตถ์) เป็น สมุทัยสัจจ์ พระนิพพาน (นิพพานปรมัตถ์) เป็น นิโรธสัจจ์ เจตสิก ๘ ประเภทซึ่งเป็นองค์แห่งสัมมามรรค มีสัมมาทิฏฐิ (ปัญญาเจตสิก เป็นต้น : เจตสิกปรมัตถ์) เป็น มัคคสัจจ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีจริงทั้งหมด ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน ครับ ธรรม เป็นเรื่องที่ ละเอียด ลึกซึ้ง ขอให้พิจารณาอีกที นะครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
เห็นด้วยกับความเห็นที่ 2 ค่ะ เพราะมากค่ะ
ขอบคุณและขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณอาจารย์คำปันมากครับที่กรุณาอธิบายเพิ่มเติม ผมขออนุญาตเรียนสอบถามเพิ่มเติมอีกสักนิดว่า ทำไมเพียงแต่ "โลภเจตสิก" เท่านั้นที่เป็นสมุทัยสัจจ์ ครับ ส่วนโมหเจตสิกและโทสเจตสิกเป็นทุกข์สัจจ์ ครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เรียน ความคิดเห็นที่ ๘ ครับ
โลภหรือตัณหา เป็นสมุทัยสัจจ์ เป็นเหตุแห่งทุกข์ เพราะเหตุว่า มีตัณหาหรือโลภะที่เป็นเหตุให้เกิดในภพใหม่ (โปโนพภวิกา) จึงต้องมีการเกิดในภพต่อไป คือมีการเกิดอีก เมื่อมีการเกิดอีก ยังไม่พ้นไปจากทุกข์โดยประการทั้งปวง และ บางนัยท่านก็แสดงว่า เพราะว่าสัตว์โลกมี อวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ จึงต้องท่องเที่ยวไปมาในสังสารวัฏฏ์ ซึ่งรวมถึง อวิชชา ด้วย แต่ตามความเป็นจริงแล้วตัณหาหรือโลภะ กับอวิชชาหรือโมหะ เวลาเกิด เกิดพร้อมกัน และผู้ที่จะดับโลภะกับโมหะได้อย่างเด็ดขาด ต้องเป็นพระอรหันต์เท่านั้น พระอรหันต์ ไม่มีทุกข์ใจเพราะกิเลสอีก เมื่อดับขันธปรินิพพานไปแล้ว ไม่มีการเกิดอีกในสังสารวัฏฏ์ เป็นผู้สิ้นทุกข์โดยประการทั้งปวง ที่แสดงโลภะ เป็นสมุทัยสัจจ์ เพราะเป็นเหตุนำมาซึ่งทุกข์ในวัฏฏะนั่นเอง ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...