ทุกขเวทนา อุเบกขาเวทนา เป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาอย่างไร

 
pirmsombat
วันที่  30 พ.ย. 2553
หมายเลข  17577
อ่าน  2,681

ข้อความบางตอนจากการบรรยายธรรมโดยท่านอาจารย์ สุจินต์ บริหารวนเขตต์

ท่านอาจารย์ ก็เป็นปัจจัยให้เวทนาเกิดขึ้น มีความสุข หรือ มีความทุกข์โสมนัส หรือ โทมนัส หรือว่า อุเบกขาเฉยๆ ก็เป็นสภาพธรรมซึ่งต้องเกิดไม่มีใครยับยั้งว่า เมื่อผัสสะ กระทบแล้ว จะไม่ให้มีเวทนา

เพราะฉะนั้น ในขณะนี้เองก็มีเวทนา ซึ่งแล้วแต่ว่า เวทนาในขณะนี้เป็นปัจจัยแก่ ตัณหา หรือไม่ ถ้าเป็นปัจจัยแก่ตัณหาซึ่งเป็นไปใน สังสารวัฏฏ์ ก็เป็นเรื่องของการเกิดอีกๆ ๆ ไม่จบ จนกว่าจะเป็นหนทางที่รู้สภาพธรรม จึงจะเป็นหนทางดำเนินไปสู่ทางดับ ซึ่งเป็น สัมมาปฏิปทา

มีคำถามว่า เรื่องเวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา ถ้า ผัสสะ กระทบกับอารมณ์ที่ไม่ทำให้ สุขเวทนา เกิด แต่ทำให้ ทุกข์ โทมนัส เกิด เป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา ได้หรือครับ หรือจะหมายเอาเพียงสุขเวทนาเท่านั้น ที่ทำให้เกิดตัณหา

ผู้ฟัง คลัายๆ กับคำถามของท่านผู้ฟังเมื่อกี้นี้ ที่ถามว่า เมื่อผัสสะกระทบกับอารมณ์ที่ไม่ทำให้สุขเวทนาเกิด แต่ทำให้ทุกข์ โทมนัส เกิด เป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาได้หรือครับ

ท่านอาจารย์ ไม่ว่าจะเป็นเวทนา ประเภทใดทั้งสื้น เป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาได้ ถึงแม้ อุเบกขาเวทนา ตัณหาก็ชอบ ไม่เดือดร้อน ชอบจริงๆ พอใจที่จะได้มีอุเบกขาเวทนานั้นอีก ถ้าเป็น สุขเวทนา ตัณหาก็ชอบ พอใจที่จะให้เกิดสุข ถ้าเป็น ทุกขเวทนา ตัณหาก็ชอบ ที่จะให้ไม่ทุกข์ หรือ โทมนัสในขณะนั้น เพราะฉะนั้นไม่มีอะไรสักอย่างเดียวที่จะไม่ทำให้เกิด ตัณหา เวลาที่มีทุกข์แล้วไม่มีตัณหาเป็นไปได้ไหมคะที่ไม่อยากจะพ้นทุกข์ แต่ทุกคนก็ทนทุกข์นั้นไม่ได้ เพราะฉะนั้น ก็ไม่อยากที่จะให้มีทุกข์นั้น โดยอยากให้ทุกข์นั้นหมดไป

เพราะฉะนั้น ในขณะที่อยากให้ทุกข์หมดก็เป็นตัณหาที่ต้องการให้ทุกข์นั้นหมดไป และสำหรับ โทมนัสก็เช่นเดียวกันไมมีใครชอบความโศก ความทุกข์ ความไม่สบายใจ

เพราะฉะนั้น ทุกคนก็ถามว่าทำอย่างไร ถึงจะไม่ทุกข์ ไม่โทมนัส ไม่เสียใจ เพราะว่าทราบได้เลยจากคำถามว่า เป็นอารมณ์ที่ไม่พึงปราถนา แต่ว่าปรารถนาอารมณ์์อื่น เพราะฉะนั้นก็มีตัณหาความต้องการ ที่จะให้พ้นจากอารมณ์นั้น


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chaiyut
วันที่ 1 ธ.ค. 2553

"ไม่ว่าจะเป็นเวทนา ประเภทใดทั้งสื้น เป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาได้ ถึงแม้อุเบกขาเวทนา ตัณหาก็ชอบ ไม่เดือดร้อน ชอบจริงๆ พอใจที่จะได้มีอุเบกขาเวทนานั้นอีก ถ้าเป็น สุขเวทนา ตัณหาก็ชอบ พอใจที่จะให้เกิดสุข ถ้าเป็นทุกขเวทนา ตัณหาก็ชอบ ที่จะให้ไม่ทุกข์หรือ โทมนัสในขณะนั้น เพราะฉะนั้น ไม่มีอะไรสักอย่างเดียวที่จะไม่ทำให้เกิดตัณหา"

ท่านอาจารย์กล่าวไว้ลึกซึ้งมากครับ

ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 2 ธ.ค. 2553

ผมก็เพิ่งจะเข้าใจเดียวนี้ว่า ทุกขเวทนานั้น ก็เป็นเหตุให้เกิดตัณหาได้เช่นกัน

กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาท่านอาจารย์และคุณหมอครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
pirmsombat
วันที่ 2 ธ.ค. 2553

ผมดีใจครับที่คุณ จักรกฤษณ์ และ คุณ chaiyut ได้รับประโยชน์

ขอบคุณมากและอนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 2 ธ.ค. 2553

ขอบพระคุณและขออนุโมทนา ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
สามา
วันที่ 6 เม.ย. 2554

อนุโมทนาในข้อธรรมนี้ด้วยค่ะ สาธุๆ ๆ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
one_someone
วันที่ 4 ต.ค. 2555

เป็นหัวข้อที่ควรศึกษาอย่างละเอียด

เป็นหัวข้อที่น่าสนใจ ขออนุโมทนา

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ส.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ