ความอิจฉา
ดิฉันขอรบกวนเพื่อนธรรมช่วยอบรมด้วยค่ะ "พระพุทธเจ้าสละ ราชสมบัติ สละทุกสิ่งทุกอย่าง เพื่อออกผนวชและตรัสรู้
ดิฉันทราบดีว่าทรัพย์ ไม่ใช่สิ่งประเสริฐ อริยทรัพย์เป็นสิ่งประเสริฐ เมื่อดิฉันได้โบนัส ก็ดีใจมาก แต่เมื่อทราบว่าพี่ที่ทำงานได้มากกว่าดิฉัน ๓ เท่า ดิฉันก็รู้สึกซึมและอิจฉาเล็กน้อย"
เป็นเรื่องธรรมดาค่ะ เพราะคุณทับทิมยังไม่ใช่พระโสดาบัน กิเลสที่ได้สะสมมาอย่างยาวนานในสังสารวัฏฏ์ เมื่อถึงเวลา ถึงพร้อมด้วยเหตุปัจจัยก็ต้องเกิด โดยที่ไม่มีใครยับยั้งได้ ถ้าเราจะพยายาม "บังคับ" ไม่ให้กิเลสประเภทนั้นๆ เกิด ซึ่งเราเองคิดว่าจะเป็นการขัดเกลา แต่ความเป็นจริงแล้วกลับเป็นการเพิ่มความเป็น "ตัวตน" เข้าไปอีก
ดังนั้น แทนที่เราจะเดือดร้อนกับกิเลสที่กำลังเกิดขึ้น เราควรอาศัยกิเลสประเภทนั้นแหละ พิจารณาด้วยความแยบคายตามสภาวลักษณะที่เป็นจริง ความอิจฉาเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ความเดือดร้อนใจเพราะความอิจฉาก็เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง (เกิดขึ้นเป็นไปเพราะเหตุปัจจัย ไม่ใช่มีเราหรือใครบังคับให้เกิดให้ดับได้ตามใจชอบ)
ขณะที่พิจารณาอย่างนั้นความอิจฉาและความเดือดเนื้อร้อนใจก็ดับไปชั่วขณะ เพราะมีสภาพธรรมอื่นแทรกเข้ามา คือสติและโยนิโสมนสิการ และสติก็ยังสามารถพิจารณาสภาพธรรมนั้นๆ ต่อไปได้อีกค่ะ
ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม อบรมปัญญาไปจนกว่าจะรู้ว่า ธรรมแต่ละอย่างเป็นธรรมอย่างหนึ่งๆ ซึ่งไม่ปนกัน และไม่ใช่เรานะครับ คุณทับทิม
ปล. ขออนุญาตเรียนเสริมนิดนึงครับ
อิจฉา ในบาลีหมายถึง โลภเจตสิก คือ ความติดข้อง ความต้องการ แต่ อิสสา เป็นเจตสิกธรรมที่ริษยา ขึ้งเคียดต่อสมบัติที่ผู้อื่นมีหรือที่ผู้อื่นได้ครับ
"ความอิจฉาเป็น สภาพธรรมอย่างหนึ่ง ความเดือดร้อนใจเพราะความอิจฉาก็เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง"
ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาคุณไตรสรณคมณ์ครับ