ถ้าเลิกใส่ใจในคนอื่นขณะใด จะรู้สึกถึงความเบาสบาย ไม่เดือดร้อน
ข้อความบางตอนจากการบรรยายธรรมโดยท่านอาจารย์ สุจินต์ บริหารวนเขตต์
ท่านอาจารย์ ปกติถ้าท่านผู้ฟังจะสังเกต เวลาที่เกิดอกุศลจิตขึ้นนี้ คิดถึงคนอื่นจึงเกิดอกุศลจิต เช่น โทสะ ถ้าท่านผู้ฟังเป็นผู้มีความประพฤติดี ถ้าท่านขับรถ และ ท่านก็ขับรถถูกต้องตามระเบียบวินัยทุกอย่างถูกกฏจราจร ไม่ได้ใส่ใจในคนอื่น ไม่ว่าคนอื่นจะแซงซ้ายแซงบวา หรือว่าจะขับรถอย่างไรก็ตามแต่ จิตของท่านปกติ เพราะว่าท่านไม่ได้นึกถึงคนอื่น เพราะฉะนั้นโทสะจะเกิดไม่ได้ ถ้าไม่ระลึกถึงคนอื่น แต่ถึงแม้ว่าท่านเป็นผู้ขับรถดีถูกต้องตามกฏทุกอย่าง แต่ยังมองคนอื่นที่ขับผิดกฏ จิตในขณะนั้น จะหวั่นไหวแล้ว ผิดปกติแล้ว ใช่ไหมคะ เพราะว่าดูโทษของคนอื่น เพราะฉะนั้นเวลาที่สติเกิด จะรู้ได้จริงๆ ว่า ถ้าขณะนั้นเพียงใส่ใจในกิจของตน ถ้าเป็นทางโลกก็พิจารณาได้ว่า ประพฤติธรรมสมควรแล้วหรือยัง
ดังที่ได้กล่าวถึงแล้ว ถ้าเป็นผู้ที่ประพฤติธรรมสมควรแล้ว ก็ไม่มีเรื่องที่จะกังวลเดือด ร้อนใจเพราะว่าไม่ใส่ใจว่า คนอื่นทำไมไม่ประพฤติธรรมที่สมควรใช่ไหมคะ แต่ถ้าคิด ถึงคนอื่นแล้วขณะใด ขณะนั้นจะเป็นปัจจัยให้เกิดโทสะ เป็นของที่แน่นอนที่สุด เพราะว่ากังวลกับคนอื่น คนอื่นมีมานะ ทำไมคนอื่นแสดงอาการมานะอย่างนี้กับเรา ใชไหมคะขณะนั้นจิตหวั่นไหวแล้ว ก็เป็นอกุศลอีก แต่ถ้าสติระลึกได้ในขณะนี้ สติของตนเกิดระลึกรู้ลักษณะสภาพธรรมที่กำลังปรากฏหรือเปล่า ไม่ใส่ใจถึง คนอื่นเลยขณะนั้นจะไม่เป็นเหตุให้เดือดร้อนใจ ด้วยอกุศลใดๆ ทั้งสี้น
เช่นเดียวกัน ในการที่เป็ผู้ที่เจริญสติปัฏฐาน ก็เพื่อประโยชน์ที่จะรู้ลักษณะของ สภาพธรรมตามความเป็นจริง ซึ่งไม่ใช่สัตว์ บุคคล ทั้งตนเองและผู้อื่นด้วย อย่างคำถามเมื่อกี้นี้ที่ว่า ให้พิจารณาตน คือให้รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ ปรากฏ ที่เกิดในขณะนั้น ซึ่งเป็นสภาพธรรมแต่ละประเภท ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เพราะฉะนั้นสติปัฏฐานมีประโยชน์มาก เป็นที่จำปราถนาในที่ทั้งปวง และแม้สติขั้นอื่น ก็มีประโยชน์ที่จะรู้ว่า ขณะนี้โทสะเกิดขึ้นเพราะอะไร เพราะใส่ใจในคนอื่น แต่ถ้าเลิกใส่ใจในคนอื่นขณะใด ทันที ในขณะนั้น จะรู้สึกถึงความสบาย ความเบา ความไม่เดือดร้อน
เพราะในขณะนั้น ตนเองเป็นผู้ที่ได้กระทำกิจของตนเองถูกต้อง เพราะฉะนั้นก็ไม่ใช่ หน้าที่ของใครสักคน ซึ่งจะไปจัดการกับคนอื่นได้ เพราะว่าทุกคนก็จะต้องรับผิดชอบ หรือปฏิบัติธรรม เพื่อที่จะขัดเกลากิเลสของตนเองเท่านั้น ถ้ามีหน้าที่ ที่จะต้องกระ ทำเกียวข้องกับบุคคลอื่น ก็กระทำเท่าที่สามารถจะกระทำได้ แล้วไม่ใส่ใจจนกระทั่ง เกิดโทสะ หรืออกุศล เพราะว่าถ้าใส่ใจคนอื่น จะต้องมีอกุศลเพีมขึ้นอีกทันที เพราะ ว่า อกุศลของตนเองก็มี แล้วก็ยังเป็นอกุศลของคนอื่นเพี่มขึ้นมาอีก ใช่ไหมคะ เมื่ออกุศลของตนเองมีจึงเดือดร้อน เมื่อเห็นอกุศลของคนอื่น เพราะฉะนั้นก็บวกไป บวกมาหลายเท่า เพี่มไปเพี่มมาอยู่เรื่อยๆ
"...เพราะฉะนั้นก็ไม่ใช่หน้าที่ของใครสักคน ซึ่งจะไปจัดการกับคนอื่นได้ เพราะว่าทุกคนก็จะต้องรับผิดชอบหรือปฏิบัติธรรม เพื่อที่จะขัดเกลากิเลสของตนเองเท่านั้น ถ้ามีหน้าที่ ที่จะต้องกระทำเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น ก็กระทำเท่าที่สามารถจะกระทำได้ แล้วไม่ใส่ใจจนกระทั่งเกิดโทสะ หรืออกุศล.."
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอขอบพระคุณค่ะ ได้อ่านแล้วรู้สึกสบายใจขึ้นและเห็นทางที่จะประพฤติตัวใหม่
ขอขอบพระคุณและอนุโมทนาอีกครั้งค่ะ
คุณหมอเพิ่มค่ะ
ดูเหมือนว่า......ตอนนี้ทองที่ปิดหลังพระค่อยๆ เริ่มล้นมาข้างหน้าพระแล้วนะคะ
ขออนุโมทนาค่ะ _/'\_
ขอบคุณและอนุโมทนาคุณหน่องมากครับ
ผมไม่เคยมีฉันทะในอะไรอื่นนอกจากปัญญาที่ค่อยๆ เจริญขึ้น พร้อมทั้งความตระหนี่ โดยเฉพาะ ตระหนี่ธรรม ค่อยๆ ลดลง หลังจากอ่านเรื่อง "ปิดทองหลังพระ" ที่คุณโพสต์ในเวปบ้านธรรมแล้ว ขอน้อมรับด้วยความขอบคุณอย่างสูง ด้วยความปีติยินดี ซาบซึ้ง ที่สุดและตั้งใจจะทำความดี เจริญกุศลยีงๆ ขึ้นต่อไป
คำบรรยายข้างบนนี้เป็นประโยชน์มาก กับชีวิตประจำวัน เมื่ออยู่ในกลุ่มญาติๆ เช่น เมื่อเห็นเขาใช้จ่ายของที่ไม่จำเป็น ก็ตักเตือนด้วยความเมตตา แต่เขาก็ไม่สนใจ ก็ทำให้เกิดโทสะนิดๆ พอมองเห็นของสิ่งนั้นก็คิดอีก ก็เป็นปัจจัยให้อกุศลเกิดอยู่เรื่อยๆ อกุศลก็เพิ่มมากไปอีก ยากจริงๆ ที่จะขัดเกลากิเสสให้น้อยลง
กราบขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะ