อภิธรรมในชีวิต [11] สัญญาเจตสิก ต้องเกิดกับจิตทุกดวง
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
สภาพธรรม ที่มี "ลักษณะ-จำ" ซึ่ง ภาษาบาลี เรียกว่า "สัญญา" เป็น เจตสิก อีกประเภทหนึ่ง ซึ่งต้องเกิดกับจิตทุกดวง (ประเภท)
ใน วิสุทธิมรรค ขันธนิทเทสแสดง "ลักษณะของสัญญา" ซึ่งมี "ลักษณะจดจำ" ว่า มีการทำเครื่องหมาย อันเป็นปัจจัยแก่ การจำได้ ต่อไป ว่า นี้ คือ สิ่งนั้นเอง"เป็นกิจ" ดุจช่างถาก เป็นต้น ฯ
จิต รู้-อารมณ์ เท่านั้นจิต ไม่ "จดจำ-อารมณ์"
"สัญญา" จำหมาย-อารมณ์-ที่ปรากฏซึ่ง เมื่ออารมณ์นั้น ปรากฏอีก "สัญญา" ก็จำได้ขณะที่จำได้ นั้น ขณะนั้น เป็น "สัญญาเจตสิก" ซึ่งทำกิจ-จำได้ (หมายความว่า) ไม่ใช่ "ตัวตน" ที่จำได้ แต่ เป็น สภาพธรรม ที่เรียกว่า) "สัญญา-เจตสิก" ที่จำได้ เช่น (สัญญา) จำได้ว่า นี้ เป็นสีแดง นี้ เป็นบ้าน หรือ นี้ เป็นเสียงนก เป็นต้น
เจตนา คือ ความตั้งใจ เจตนา เป็น เจตสิกอีกประเภทหนึ่ง ที่เกิดกับจิตทุกดวง (ประเภท)
หนังสือ "พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน" [Abhidhamma in Daily Life] โดย นีน่า วันกอร์คอม แปลโดย อ. ดวงเดือน บารมีธรรม จัดพิมพ์ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดย มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
เปิดอ่านหรือดาวน์โหลดหนังสือ...