อภิธรรมในชีวิต [15] เวทนาขันธ์
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เวทนาขันธ์ ... มีจริง "ความรู้สึก-ทุกอย่าง" เป็น เวทนาขันธ์
บางครั้ง จำแนก เป็น ๓ คือ
สุขเวทนา ๑
ทุกขเวทนา ๑
อุเบกขาเวทนา (อทุกขมสุขเวทนา) ๑
บางครั้ง จำแนก เป็น ๕ คือ
โสมนัสเวทนา ๑
โทมนัสเวทนา ๑
อทุกขมสุขเวทนา ๑
สุขเวทนา ๑
ทุกขเวทนา ๑
"ความรู้สึกทางกาย" มี "กายปสาท" ซึ่งเป็น รูปธรรม ที่สามารถกระทบสัมผัสทางกาย เป็น ปัจจัย ความรู้สึก เป็น นามธรรม แต่ มี กายปสาทรูป เป็น ปัจจัย ขณะที่ อารมณ์ กระทบกับ กายปสาท (รูป) ความรู้สึก จะต้องเป็น ทุกข์ (ทุกขเวทนา) หรือ สุข (สุขเวทนา) ไม่เป็น อุเบกขาเวทนา (หมายความว่า) ขณะที่เป็น ทุกขเวทนา ขณะนั้น เป็น อกุศลวิบาก (ผลของอกุศลกรรม) ขณะที่เป็น สุขเวทนา ขณะนั้น เป็น กุศลวิบาก (ผลของกุศลกรรม)
เพราะว่า เวทนาต่างๆ เกิดขึ้นแล้ว ก็ดับไปๆ จึงยากที่จะรู้ ว่า เป็น "เวทนาแต่ละประเภท" เช่นเรา "อาจจะ" ปน สุขเวทนาทางกาย ซึ่งเป็น กุศลวิบาก (ซึ่งเกิดก่อน) กับ โสมนัสเวทนาที่พอใจ ในสุขเวทนา ซึ่ง เกิดภายหลัง หรือ "อาจจะ" เข้าใจผิด ว่า ทุกขเวทนา ซึ่งเกิดขึ้นก่อน เป็น โทมนัสเวทนา คือ ความรู้สึกไม่สบายใจ ซึ่งเกิดขึ้นภายหลัง.
"ทุกขเวทนา" เป็น วิบากเจตสิกซึ่งเกิดพร้อมกับ วิบากจิตที่รู้อารมณ์ที่กระทบสัมผัสทางกาย
"โทมนัสเวทนา" เกิดร่วมกับ อกุศลจิต (โทมนัสเวทนา จึงไม่ใช่วิบากเจตสิก) โทมนัสเวทนา เกิดขึ้นเพราะ "โทสะที่สะสมไว้" เป็น "ปัจจัย" แม้ว่า ทุกขเวทนา และ โทมนัสเวทนา เป็น นามธรรม แต่ก็เป็น "ความรู้สึก ที่ต่างกัน" ซึ่งเกิดขึ้นเพราะ "ปัจจัย ที่ต่างกัน" เมื่อ "ดับ-เหตุ-ที่ทำให้เกิดโทสะ" ได้แล้ว ทุกขเวทนา ก็ยังเกิดได้ แต่ "ไม่มี-โทมนัสเวทนา" อีกต่อไป
พระอรหันต์ ยังมี อกุศลวิบาก ตราบเท่าที่ ยังมีชีวิตอยู่แต่ ไม่มี โทสะ เลย ใน สังยุตตนิกาย สคาถวรรค มารสังยุตต์ ทุติยวรรคที่ ๒ สกลิกสูตร ที่ ๓ ข้อ ๔๕๒ มีข้อความ ว่า
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ มัททกุจฉิมิคทายวัน เขตกรุงราชคฤห์ ก็โดยสมัยนั้น พระบาทของพระผู้มีพระภาค ถูกสะเก็ดหินเจาะแล้ว ได้ยินว่า เวทนาทั้งหลาย อันยิ่ง เป็นไป ในพระสรีระเป็นทุกข์ แรงกล้า เผ็ดร้อน ไม่เป็นที่ยินดี ไม่เป็นที่ทรงพระสำราญย่อมเป็นไป แด่พระผู้มีพระภาคฯพระองค์ มี "สติสัมปชัญญะ" อดกลั้น ซึ่ง เวทนา เหล่านั้น ไม่กระสับกระส่าย
หนังสือ "พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน" [Abhidhamma in Daily Life] โดย นีน่า วันกอร์คอม แปลโดย อ. ดวงเดือน บารมีธรรม จัดพิมพ์ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดย มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
เปิดอ่านหรือดาวน์โหลดหนังสือ...