อภิธรรมในชีวิต [16] เวทนา จำแนกเป็น ๖

 
พุทธรักษา
วันที่  5 ก.พ. 2554
หมายเลข  17823
อ่าน  1,268

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เวทนา จำแนกเป็น ๖ (ประเภท) โดยนัยของ "ทวาร ๖" คือ เวทนา (ซึ่ง) เกิดทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และ ทางใจ เวทนา ๖ (ประเภท) นี้ ต่างกัน เพราะ "เกิดจากปัจจัยต่างกัน "เวทนา เกิด-ดับ พร้อมกับ จิต-ที่เวทนานั้นๆ เกิดร่วมด้วย ฉะนั้น ทุกขณะ จึงไม่ใช่เวทนาเดียวกันเลย

ใน สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เคลัญญสูตรที่ ๒ มีข้อความว่า

ดูกร ภิกษุทั้งหลายภิกษุ พึงเป็น ผู้มี "สติสัมปชัญญะ" รอกาลเวลานี้ เป็นคำเรา สั่งสอนพวกเธอ ฯ ถ้าเมื่อภิกษุ มี "สติสัมปชัญญะ" เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว อยู่อย่างนี้สุขเวทนา ย่อมเกิดขึ้นเธอ ย่อมรู้อย่างนี้ ว่า สุขเวทนา เกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ก็ สุขเวทนา นั้นแลอาศัย จึงเกิดขึ้น ไม่อาศัย ไม่เกิดขึ้น อาศัย อะไร อาศัย "ผัสสะ" นี้เอง

ก็แต่ว่า "ผัสสะ" นี้ ไม่เที่ยง ปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัย เกิดขึ้น ก็ สุขเวทนา ซึ่ง อาศัย "ผัสสะ" อันไม่เที่ยงปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น (สุขเวทนา) เกิดขึ้นแล้ว แก่เรา (สุขเวทนา) จักเที่ยง แต่ที่ไหน เธอ ย่อมพิจารณา เห็น "ความไม่เที่ยง" เธอ ย่อมพิจารณา เห็น "ความเสื่อมไป" พิจารณา เห็น "ความคลายไป" พิจารณา เห็น "ความดับไป" พิจารณา เห็น "ความสละคืน" เมื่อเธอ พิจารณา เห็น "ความไม่เที่ยง" พิจารณา เห็น "ความเสื่อมไป" พิจารณา เห็น "ความคลายไป" พิจารณา เห็น "ความดับไป" พิจารณา เห็น "ความสละคืน" ใน "ผัสสะ" และ ใน "สุขเวทนา" อยู่ย่อม "ละ" ราคานุสัย ใน "ผัสสะ" และ "สุขเวทนา" เสียได้ ฯ

เวทนา ยังจำแนกได้ อีกหลายนัย เมื่อรู้วิธีจำแนกเวทนา โดยนัยต่างๆ ก็จะทำให้เข้าใจจริงๆ ว่าเวทนา เป็นเพียง นามธรรมชนิดหนึ่งซึ่งเกิดขึ้น เพราะ เหตุปัจจัย เรามักจะ "ยึดมั่น" ใน เวทนาที่ดับไปแล้ว แทนที่จะ "ระลึก-รู้-สภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ" ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และ ทางใจ

ใน วิสุทธิมรรค ที่กล่าวถึงข้างต้น นั้นอุปมา นามธรรม และ รูปธรรม ที่เกิดขึ้น เสมือน เสียงขลุ่ย ซึ่ง ไม่ได้มาจากที่ใดเลย หรือ ไปยังที่ใดเลย เมื่อเสียงดับไป ก็ไม่สะสมหรือเก็บไว้ ณ ที่ใดเลย แต่ เรา "ยึดติด" ใน เวทนานั้น เสียจนไม่รู้เลย ว่า"เว ทนา-ที่ดับไปแล้ว" นั้น ดับไปหมด ไม่เหลืออยู่เลย


หนังสือ "พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน" [Abhidhamma in Daily Life] โดย นีน่า วันกอร์คอม แปลโดย อ. ดวงเดือน บารมีธรรม จัดพิมพ์ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดย มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

เปิดอ่านหรือดาวน์โหลดหนังสือ...

พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 5 ก.พ. 2554

เรามักจะ "ยึดมั่น" ใน เวทนา-ที่ดับไปแล้ว แทนที่จะ "ระลึก-รู้-สภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ"

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
intira2501
วันที่ 7 ก.พ. 2554

ท่านอาจารย์กล่าวเสมอว่าให้ ระลึก-รู้-สภาพธรรมที่ กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้ ขณะนี้

ขอบพระคุณ และ ขออนุโมทนาในกุศลจิตค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chaiyut
วันที่ 8 ก.พ. 2554

"ผัสสะ เป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา" ธรรมทั้งหลายไหลมาแต่เหตุ

ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ