เรียนแล้วไม่เข้าใจธรรม ... ประโยชน์จะอยู่ที่ไหน

 
สารธรรม
วันที่  7 ก.พ. 2554
หมายเลข  17841
อ่าน  1,599

(พระพุทธรูปในพระวิหารวัดเจดีย์หลวง อ.เมือง จ.เชียงใหม่)

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

ถอดเสียงจาก ชุดปกิณณกธรรม แผ่นที่ ๑๒ ครั้งที่ ๖๘๒ สนทนาธรรมที่หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑ พ.ศ. ๒๕๔๗ โดย ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

"เรียนแล้วไม่เข้าใจธรรม ... ประโยชน์จะอยู่ที่ไหน"

คุณลุงนิภัทร คนที่ศึกษาพระอภิธรรมโดยยึดตำราเป็นหลัก ก็เป็นมิจฉาทิฏฐิมาไม่น้อยครับ แนะนำคนผิดด้วย และไม่กลัวบาปดูถูกการให้ทานด้วย เพราะว่ามันต่ำ ดูถูกการรักษาศีลด้วยเพราะ (คิด) ว่าอภิธรรมนี้สูง เรียนอภิธรรม นึกว่าเลิศ ไม่ติดดินเนี่ย มีเยอะ เพราะฉะนั้น อย่าหยิ่งผยอง ... ว่าได้เรียนอภิธรรมแล้ว เพราะว่าอภิธรรมน่ะ ท่านอาจารย์ท่านก็เตือนพวกเราอยู่เสมอว่าไม่ใช่อยู่ในหนังสือ เดี๋ยวนี้ อภิธรรมมีอยู่ตลอดเลย ใครจะเรียนหรือเปล่า ใครจะศึกษาหรือเปล่า หรือจะมุ่งจ้องแต่ตำรานี้อย่างเดียว ถ้า (เป็น) อย่างนี้แล้ว เราก็จะเข้าใจอภิธรรมช้าประโยชน์ที่จะได้ก็น้อย

ท่านอาจารย์  เพราะฉะนั้น จุดประสงค์ก็คือเรียนให้เข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏให้ถูกต้อง ถ้าเรียนแล้วไม่เข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏนะคะ ประโยชน์จะอยู่ที่ไหน

ท่านผู้ถาม ก็ไม่ได้อะไรเลยล่ะครับ อย่างที่ท่านอาจารย์ก็กล่าวบ่อยๆ ว่า ... รู้ตัวหรือเปล่าว่ายังไม่รู้อะไร นี่ตรงนี้ ตรงนี้ผมก็ยังไม่รู้อะไร คือรู้เรื่องราว แล้วก็รู้สภาพธรรมที่ท่านอาจารย์บรรยายนี้ ก็พอจะระลึกรู้ได้บ้าง

ท่านอาจารย์ แต่ถ้าจะพิจารณาทางของคนเสื่อม ถ้าเราผ่านข้อที่ ๑ ไป "ผู้ใคร่ธรรมเป็นผู้เจริญ ผู้เกลียดธรรมเป็นผู้เสื่อม" อันนี้คร่าวมากใช่ไหม เพราะเหตุว่า "ใคร่ธรรม" เหมือนกับว่าทุกคนเนี่ย "ใคร่ธรรม" แต่เข้าใจธรรมหรือเปล่า

หรือว่าเพียงแต่ว่า เราใคร่ เราอยากฟัง (แต่) ฟังแล้วก็ไม่ได้พิจารณาไตร่ตรองในเหตุในผล ในความเป็นจริง อย่างนั้นก็ไม่ได้ (เข้าใจอะไร) แต่ต้องเริ่มจากการเห็นประโยชน์ เมื่อเห็นประโยชน์แล้วต้องละเอียด ว่าธรรมที่ได้ฟังเนี่ยค่ะ ถูกต้องอย่างไรนะคะ ข้อไหนที่ผู้กล่าวยังเข้าไม่ถึง หรือว่ายังเข้าใจผิดอยู่ อันนั้นก็เป็นเรื่องของแต่ละบุคคล ซึ่งจะได้ประโยชน์ คือ ความเห็นถูกของตนเอง ซึ่ง พึ่งใครไม่ได้เลย นอกจากตัวเองเท่านั้น มีธรรมเป็นที่พึ่ง มีตนเป็นที่พึ่ง ก็คือมีปัญญาความเห็นถูกเป็นที่พึ่ง

แล้วก็จะไปถึงข้อต่อไปนะคะที่ว่า "คนมี อสัตบุรุษเป็นที่รัก ไม่กระทำสัตบุรุษให้เป็นที่รัก" นี่แสดงให้เห็นแล้วใช่ไหมคะ ว่าแม้ว่าจะเป็นผู้ใคร่ในธรรม แต่ว่ามี อสัตบุรุษ เป็นที่รัก ไม่กระทำสัตบุรุษเป็นที่รัก เพราะไม่ได้เห็นถูก ไม่เข้าใจถูก ก็อย่าประมาทเพียงแต่ว่า เราจะเป็นผู้ใคร่ในธรรม แต่ใคร่ในธรรมอย่างเดียวไม่พอค่ะ ต้องรู้ว่าธรรมคืออะไร แล้วก็พิจารณาละเอียดรอบคอบ จึงจะเป็นผู้ที่ไม่มี อสัตบุรุษ เป็นที่รัก แต่ว่าถ้าใครก็ตามเป็นคนมี อสัตบุรุษ เป็นที่รัก ไม่กระทำสัตบุรุษเป็นที่รัก ชอบใจธรรมของอสัตบุรุษ ข้อนั้นเป็นทางของคนเสื่อม


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 7 ก.พ. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

"ถ้าใครก็ตามเป็นคนมี สัตบุรุษ เป็นที่รัก ไม่กระทำสัตบุรุษเป็นที่รัก ชอบใจธรรมของสัตบุรุษ ข้อนั้นเป็นทางของคนเสื่อม" เป็นเครื่องเตือนใจที่ดีเป็นอย่างยิ่ง

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 7 ก.พ. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เซจาน้อย
วันที่ 7 ก.พ. 2554

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
pat_jesty
วันที่ 7 ก.พ. 2554

เป็นข้อเตือนใจที่ดีค่ะ ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
intira2501
วันที่ 8 ก.พ. 2554
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Noparat
วันที่ 8 ก.พ. 2554

สาระสำคัญของการฟังพระธรรม คือ เพื่อความเข้าใจ เพื่ออบรมเจริญปัญญา และ เป็นไปเพื่อการละ แต่ถ้าไม่เข้าใจพระธรรม ประโยชน์ก็หามีไม่ เสียเวลาเปล่า

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
pamali
วันที่ 8 ก.พ. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 13 ก.พ. 2554

"...แม้ว่าจะเป็นผู้ใคร่ในธรรม แต่ว่ามี อสัตบุรุษ เป็นที่รัก ไม่กระทำสัตบุรุษเป็นที่รัก เพราะไม่ได้เห็นถูก ไม่เข้าใจถูก ก็อย่าประมาทเพียงแต่ว่า เราจะเป็นผู้ใคร่ในธรรม แต่ ใคร่ในธรรมอย่างเดียวไม่พอค่ะ ต้องรู้ว่าธรรมคืออะไร แล้วก็พิจารณาละเอียดรอบคอบนะคะ จึงจะเป็นผู้ที่ไม่มี อสัตบุรุษ เป็นที่รัก..."

"...ธรรม ย่อม รักษา ผู้ประพฤติธรรม..."

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
wannee.s
วันที่ 15 ก.พ. 2554

มีธรรมเป็นที่พึ่ง มีตนเป็นที่พึ่ง ก็คือมีปัญญาความเห็นถูกเป็นที่พึ่ง

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
เจริญสุข
วันที่ 23 ก.พ. 2554

สติฏฐาน (ไม่แน่ใจว่าสะกดถูกไหม) คืออะไรคะ "ใครที่เห็นแก้วน้ำว่าเป็นแก้วน้ำถือว่ายังเห็นผิดอยู่" แล้วที่เห็นถูกนั้นเป็นเช่นไรคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
chaiyut
วันที่ 23 ก.พ. 2554

เรียน ความเห็นที่ 10 ครับ

สติปัฏฐาน มี ๓ ความหมายครับ ความหมายหนึ่ง ก็คือ สติเจตสิก ได้แก่สภาพรู้ที่ระลึกถูกในสิ่งที่มีจริงที่ปรากฏ สิ่งที่มีจริงที่ปรากฏ เช่น เสียง เป็นสิ่งที่มีจริง ขณะที่ได้ยิน มีเสียงปรากฏ แต่ปกติหลงลืมสติ ไม่รู้ความจริงของเสียงว่าไม่ใช่ตัวตน ไม่มีใครสร้างเสียงให้เกิดขึ้นเพราะเสียงแต่ละเสียงเกิดจากปัจจัยต่างๆ แต่ไม่ว่าเสียงนั้นจะเกิดจากปัจจัยใด จะดัง ค่อย สูง ต่ำ อย่างไร ลักษณะของเสียงนั้น ก็เป็นแต่เพียงสิ่งที่มีจริง ซึ่งปรากฏให้รู้ได้ว่ามี แล้วก็ดับไปเท่านั้น เมื่อเราศึกษาธรรม สะสมความเข้าใจธรรมมากขึ้น จนมีเหตุปัจจัยให้สติฯระลึกตรงลักษณะของเสียงที่กำลังปรากฏ ขณะนั้นสติเกิดพร้อมกับปัญญา สติทำกิจระลึก ปัญญาทำกิจรู้ชัดในสิ่งที่สติระลึกได้ถูกต้อง ไม่คลาดเคลื่อน สติระลึกตรงเสียง ปัญญารู้ลักษณะของเสียง ว่าเป็นแต่เพียงเสียง ไม่ใช่เสียงของสิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่ใช่ขณะที่รู้ความหมายของเสียง ไม่ใช่การคิดว่าตัวเองกำลังรู้เสียง ไม่ใช่เสียงของคน ของสัตว์ หรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดทั้งสิ้น ไม่ใช่การคิดคำว่า "เสียง" แต่ขณะนั้นมีลักษณะของเสียงปรากฏให้เข้าใจถูกว่าเป็นแต่เพียงสิ่งที่ปรากฏที่มีจริง เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ไม่ใช่สภาพธรรมอย่างอื่น เป็นต้น ส่วนความหมายอื่นๆ ของสติปัฏฐาน

เชิญคลิกอ่านตามกระทู้ด้านล่างครับ

เชิญคลิกอ่าน >>

สติปัฏฐาน มี ๓ ความหมาย

"ใครที่เห็นแก้วน้ำเป็นแก้วน้ำ ถือว่าเห็นผิดอยู่"

ความจริงจะเป็นเช่นนั้นทั้งหมดหรือไม่

ฟังคำตอบได้ที่ >>

เห็นแล้วรู้ว่าสิ่งที่เห็นเป็นอะไร ไม่ใช่มิจฉาทิฏฐิก็ได้

เห็นเป็นสิ่งใด ไม่จำเป็นต้องเห็นผิด

แล้วที่เห็นถูกเป็นเช่นไร

ที่เห็นถูก คือ ปัญญาเห็นสภาพธรรมตามความเป็นจริงว่าไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตนเช่น สิ่งที่ปรากฏทางตา เป็นสิ่งที่มีจริงอย่างหนึ่ง ถ้าไม่มีการเห็น สิ่งที่ปรากฏทางตา ย่อมไม่ปรากฏ แต่เมื่อมีการเห็น จึงได้รู้แจ้งในสิ่งที่ปรากฏทางตา แล้วก็มีการคิดนึกต่อจากนั้นว่าได้เห็นอะไร หมายรู้กันว่าอะไร เรียกชื่อว่าอะไร ที่รู้ว่าได้เห็นอะไร เช่น เห็นแก้วน้ำ ขณะนั้นเป็นจิตที่กำลังคิด ไม่ใช่จิตเห็น เพราะจิตเห็นเห็นแก้วน้ำไม่ได้ จิตเห็น เห็นแต่เพียงสีที่ปรากฏทางตาเท่านั้น แต่จิตคิดที่เกิดสืบต่อหลังจากที่ได้เห็นแล้ว ก็รับรู้สีต่อ แล้วก็คิดต่อเป็นรูปร่างสัณฐานจากสีที่ปรากฏนั้นๆ อย่างรวดเร็วสุดที่ประมาณ แต่ก่อนที่จะรู้ว่าเป็นอะไร ก็มีสิ่งที่ปรากฏทางตา ที่ปรากฏกับการเห็น ซึ่งเกิดก่อนการคิด ซึ่งปัญญาควรเห็นถูกในสิ่งนี้ตามความเป็นจริง ว่าเป็นเพียงสิ่งที่มีจริง ซึ่งไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน ทางหูจมูก ลิ้น กาย ก็โดยนัยเดียวกัน ส่วนทางใจ ก็มีสิ่งที่มีจริงปรากฏ โดยรับรู้ต่อจากทางตา หู จมูก ลิ้น กาย รวมถึงสภาพธรรมอื่นๆ ที่ทางใจสามารถรู้ได้ สิ่งใดก็ตามที่มีจริง ที่เกิดปรากฏ เป็นสิ่งที่ปัญญาควรศึกษาจนกว่าจะเห็นถูกและรู้ทั่วในสิ่งนั้นแต่ละทางๆ ว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เราครับ

ฟังคำตอบได้ที่ >>

เห็นถูกมีจริง เห็นผิดมีจริง เป็นธรรมะ

ปัญญาคือสัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูก

ปัญญา คือ ความเข้าใจถูก เห็นถูก ตามเป็นจริงของสภาพธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
เจริญสุข
วันที่ 24 ก.พ. 2554

อยู่ในช่วงที่เริ่มฟังและอ่านเลยรู้สึกว่าเข้าใจเวลาที่อ่านเท่านั้น แต่พอวางหนังสือลงแล้วพยายามนึกทำความเข้าใจกับสิ่งที่อ่านไปแล้วนั้น นึกยังไงก็นึกไม่ออกหรือจะสมมติเป็นเหตุการณ์ก็ไม่เกิดเป็นภาพในใจเลย เป็นเพราะไม่เคยได้สั่งสมบุญไว้? แต่จะตั้งมั่นและเพียรที่จะศึกษาต่อไปค่ะ ขอบคุนมากค่ะ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
chatchai.k
วันที่ 2 ม.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ