มนุษย์เปรด

 
chaiyut
วันที่  9 ก.พ. 2554
หมายเลข  17861
อ่าน  2,245

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 35

ในคำนั้น เทวดาแสดงองค์ด้วยคำว่า อหํ. เทวดากล่าวว่ามนุสฺเสสุ ในหมู่มนุษย์แล้วกล่าวย้ำว่า มนุสฺสภูตา ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ก็เพื่อแสดงว่า ในครั้งนั้น คุณของมนุษย์ทั้งหลาย มีอยู่ในตน. จริงอยู่ผู้ใดเกิดเป็นมนุษย์ กระทำกรรมที่ไม่ควรมีฆ่าสัตว์เป็นต้น ก็สมควรรับโทษ เมื่อต้องโทษมีการตัดมือเป็นต้น จากพระราชาเป็นอาทิในที่นั้นๆ ย่อมเสวยทุกข์เป็นอันมาก ผู้นี้ชื่อว่ามนุษย์นรก. อีกคนหนึ่ง เกิดเป็นมนุษย์ไม่ได้อาหารและเครื่องนุ่งห่ม เพราะกรรมที่คนทำไว้แต่ก่อนต้องกระหายหิวโหย มากไปด้วยทุกข์ เมื่อไม่ได้หลักแหล่ง ก็เร่ร่อนไป

ผู้นี้ชื่อว่า มนุษย์เปรต. อีกคนหนึ่ง เกิดเป็นมนุษย์ อาศัยผู้อื่นเลี้ยงชีพต้องทำงานหนักให้เขา หรือเป็นคนขาดมรรยาท ประพฤติแต่อนาจาร ถูกเขาข่มขู่ กลัวตายก็ไปอาศัยป่ารก มากไปด้วยทุกข์ ต้องซอกซอนไปไม่รู้ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ ได้แต่บรรเทาทุกข์ คือความหิวโหยด้วยการนอนเป็นต้นเป็นเบื้องหน้า ผู้นี้ชื่อว่า มนุษย์ดิรัจฉาน. ส่วนผู้ใดรู้จักประโยชน์มิใช่ประโยชน์ของตน เธอผลแห่งกรรม มีหิริ ละอายบาป โอตตัปปะ เกรงกลัวบาป สมบูรณ์ พรั่งพร้อมด้วยความเอ็นดูในสัตว์ทั้งปวง มากไปด้วยความสลดใจ งดเว้นอกุศลกรรมบถ ประพฤติเอื้อเฟื้อในกุศลกรรมบถ บำเพ็ญบุญกิริยาวัตถุทั้งหลาย ผู้นี้ตั้งอยู่ในมนุษยธรรมชื่อว่า มนุษย์โดยปรมัตถ์. แม้เทวดาองค์นี้ ก็เป็นเช่นนั้น ด้วยเหตุนั้นเทวดาจึงกล่าวว่า มนุสฺเสสุ มนุสฺสภูตา ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ในหมู่มนุษย์. อธิบายว่า ดิฉันถึงความเป็นมนุษย์ในหมู่สัตว์ที่เป็นมนุษย์ และไม่ละมนุษยธรรมดำรงอยู่.


เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ