อภิธรรมในชีวิต [18] ทุกขสูตร - ก็ ทุกข์ เป็นไฉน

 
พุทธรักษา
วันที่  10 ก.พ. 2554
หมายเลข  17868
อ่าน  1,604

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น



ตราบใด ที่ยังยึดติดใน ขันธ์ ๕ ก็เป็นเสมือน คนป่วยแต่ ความป่วยไข้ ก็อาจจะหายได้เมื่อประจักษ์แจ้ง ขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง
ขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง จึงเป็น ทุกข์

ใน สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค ขันธสังยุตต์ จุลลปัญณาสก์ อันตรวรรคที่ ๑

ทุกขสูตร

พระผู้มีพระภาคฯ ทรงแสดง อริยสัจจ์ ๔ กะภิกษุทั้งหลาย ว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง ทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (มรรค) แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงฟัง ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็ ทุกข์ เป็นไฉน คำว่า ทุกข์ นั้น ควรจะกล่าวว่า อุปาทานขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน คือ อุปาทานขันธ์ คือ รูป ๑ อุปาทานขันธ์ คือ เวทนา ๑ อุปาทานขันธ์ คือ สัญญา ๑ อุปาทานขันธ์ คือ สังขาร ๑ อุปาทานขันธ์ คือ วิญญาณ ๑ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย นี้ เรียกว่า "ทุกข์"

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็ ทุกขสมุทัย เป็นไฉน คือ ตัณหา อันนำให้เกิด ในภพใหม่มีปกติ เพลิดเพลินยิ่งในภพ หรือ อารมณ์นั้น คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ดูกร ภิกษุทั้งหลาย นี้ เรียกว่า "ทุกขสมุทัย"

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็ ทุกขนิโรธ เป็นไฉน คือ ความดับ-ไม่เหลือ แห่งตัณหา นั้นแล ด้วยมรรค คือ วิราคะ ความสละ ความสละคืน ความหลุดพ้น ความไม่มีอาลัย ดูกร ภิกษุทั้งหลาย นี้ เรียกว่า "ทุกขนิโรธ"

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็ นิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน คือ อริยมรรค ประกอบด้วยองค์ ๘ ฯ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย นี้ เรียกว่า "ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา" ฯลฯ

ตราบใด ที่ยังยึดติดใน ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ก็จะเกิดขึ้น ในภพชาติต่อไป ซึ่ง ต้องเป็นทุกข์ เมื่อ "อบรม-เจริญ-มรรคมีองค์ ๘" ก็จะเริ่ม-รู้-สภาพ ของ ขันธ์ ตามความเป็นจริง เป็นการดำเนินไปสู่ "ความดับทุกข์" ซึ่ง ไม่มีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย อีกเลย ผู้ที่บรรลุ "อริยสัจจธรรม ขั้นสุดท้าย" คือ พระอรหันตบุคคล ซึ่ง เมื่อสิ้นชีวิต (ดับ-ขันธ-ปรินิพพาน) แล้ว ขันธ์ ๕ ก็ไม่เกิด อีกเลย


หนังสือ "พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน" [Abhidhamma in Daily Life] โดย นีน่า วันกอร์คอม แปลโดย อ. ดวงเดือน บารมีธรรม จัดพิมพ์ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดย มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

เปิดอ่านหรือดาวน์โหลดหนังสือ...

พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
พุทธรักษา
วันที่ 10 ก.พ. 2554

คำถามท้ายบทที่ ๒

ปรมัตถธรรมใด เป็น นามธรรม

ปรมัตถธรรมใด เป็น สังขารธรรม

ปรมัตถธรรมใด เป็น วิสังขารธรรม

สังขารธรรมใด เป็น นามธรรม

เจตสิก ทั้งหมด เป็น สังขารธรรม ใช่ไหม

เวทนาเจตสิก เป็น ขันธ์ ใช่ไหม

สัญญาเจตสิก เป็น ขันธ์ ใช่ไหม

ความรู้สึก-ไม่สบาย-ทางกาย (ทุกขเวทนา) เป็น วิบาก ใช่ไหม

ความรู้สึก-ไม่สบาย-ทางใจ (โทมนัสเวทนา) เป็น วิบาก ใช่ไหม

ขันธ์ ใดบ้าง เป็น นามธรรม

จักขุวิญญาณ เป็น ขันธ์ หรือไม่

"คำ" ว่า "มนุษย์" เป็นขันธ์ หรือไม่

เสียง เป็น ขันธ์ หรือไม่

ปรมัตถธรรม ใด เป็น ขันธ์

... ขออนุโมทนา ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 10 ก.พ. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เซจาน้อย
วันที่ 12 ก.พ. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
chatchai.k
วันที่ 9 มี.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ