ความประพฤติเป็นธรรมทางวาจา ๔ อย่าง

 
ธรรมทัศนะ
วันที่  8 ส.ค. 2549
หมายเลข  1789
อ่าน  1,573

ความประพฤติเป็นธรรมและความประพฤติสม่ำเสมอ

ทางกายมี ๓ อย่าง ทางวาจามี ๔ อย่าง ทางใจมี ๓ อย่าง

ทางวาจา ๔ อย่าง เป็นอย่างไร

บุคคลบางคนในโลกนี้ละการกล่าวเท็จ

เป็นผู้เว้นขาดจากการกล่าวเท็จไม่ว่าอยู่ในที่ประชุม อยู่ในบริษัท อยู่กลางญาติ

อยู่กลางพรรคพวกหรืออยู่กลางราชตระกูลก็ตาม

เมื่อไม่รู้ก็พูดว่าไม่รู้ เมื่อรู้อยู่ก็พูดว่ารู้ เมื่อเห็นก็พูดว่าเห็น

ทั้งนี้ไม่ว่าเพราะตนเป็นเหตุ เพราะคนอื่นเป็นเหตุ หรือ

เพราะอามิส เป็นผู้ไม่พูดเท็จทั้งๆ ที่รู้อยู่

ละคำพูดส่อเสียด เป็นผู้เว้นขาดจากคำพูดส่อเสียดคือ

ไม่เป็นผู้ฟังจากทางนี้แล้วไปบอกทางโน้น เพื่อทำลายพวกเหล่านี้

เป็นผู้ส่งเสริมผู้ที่สนิทกันแล้วให้สนิทกันยิ่งขึ้น พอใจผู้ที่พร้อมเพรียงกัน

ชอบผู้ที่พร้อมเพรียงกัน เป็นผู้พูดวาจาที่ทำให้สมัครสมานกัน

ละคำพูดหยาบ เป็นผู้พูดแต่คำที่ไม่มีโทษ สบายหู น่ารัก ดื่มด่ำในหัวใจ

เป็นภาษาชาวกรุง คนส่วนมากรัก คนส่วนมากชอบใจเห็นปานนั้น

ละคำสำรากเพ้อเจ้อ เป็นผู้เว้นขาดจากคำสำรากเพ้อเจ้อ

พูดเป็นเวลา พูดคำที่เป็นจริง พูดคำมีประโยชน์ พูดเป็นธรรม พูดเป็นวินัย

เป็นผู้พูดคำที่มีหลักฐาน มีที่อ้างอิงตามเวลา มีที่สิ้นสุดประกอบด้วยประโยชน์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓

สาเลยยกสูตรที่ ๑ หน้า ๒๕๑-๒๕๕


  ความคิดเห็นที่ 2  
 
saowanee.n
วันที่ 9 ส.ค. 2549

สำหรับคำจริงที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ควรนิ่งเฉยเสีย ไม่ควรพูดใช่มั้ยคะ?

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
prakaimuk.k
วันที่ 9 ส.ค. 2549

ใช่ค่ะ เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
prakaimuk.k
วันที่ 11 ส.ค. 2549

".....หากวาจาแม้ตั้งพันประกอบด้วย

บทอันไม่เป็นประโยชน์ไซร้

บทอันเป็นประโยชน์บทหนึ่ง

ที่บุคคลฟังแล้วย่อมสงบ ประเสริฐกว่า...."

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
pamali
วันที่ 30 ก.ย. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
chatchai.k
วันที่ 27 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ