อภิธรรมในชีวิต [22] สัตว์โลก ย่อมเป็นไป ตามกรรม
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
กรรม (เจตนาเจตสิก) เป็น นามธรรมประเภทหนึ่ง ซึ่ง มีการสะสมไว้ด้วยฉะนั้น ทุกคน จึง "สะสม" กิเลส และ กรรม ต่างๆ กัน การสะสม-กรรมต่างๆ กันเป็น ปัจจัยให้เกิด ผล ในชีวิตต่างๆ กันซึ่งเป็น กฏ ของ กรรม และ วิบากกฏ ของ เหตุ และ ผล ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคฯ ตรัสว่า ทุกคน ย่อมได้รับ ผลของการกระทำของตน กรรม ที่ได้กระทำแล้ว สามารถให้ผล ในกาลภายหน้าเพราะ อกุศลกรรม และ กุศลกรรม ได้สะสมไว้แล้วเมื่อมีเหตุปัจจัยถึงพร้อมแล้ว ผล ก็เกิดขึ้น เป็น วิบาก เมื่อใช้คำว่า "ผล" บางคนอาจจะคิดถึง "ผลที่ได้กระทำต่อบุคคลอื่น" แต่ "ผล" ที่เป็น วิบาก ไม่ใช่ เช่นนั้น "วิบากจิต" เป็น จิตที่ประสบกับ สภาพธรรมที่ไม่น่ายินดีพอใจหรือ จิตที่ประสบกับ สภาพธรรมที่น่ายินดีพอใจ จิต ที่เป็น วิบาก (วิบากจิต) นั้นเป็น ผลของการกระทำของเราเอง
เราเคยคิดว่า "เป็นตัวตน" ที่ประสบสิ่งที่ไม่น่ายินดีพอใจหรือ "เป็นตัวตน" ที่ประสบกับสิ่งที่น่ายินดีพอใจ แต่ แท้จริงแล้ว ไม่มีตัวตน มีแต่ "จิต" เท่านั้น ที่เกิดขึ้น-รู้-อารมณ์ต่างๆ จิตบางขณะ (บางประเภท) เป็น "เหตุ" เป็น "เหตุ" ให้เกิดกุศลกรรม หรือ อกุศลกรรม
กุศลกรรม หรือ อกุศลกรรมสามารถทำให้เกิด "ผล-ซึ่งสมควรแก่เหตุนั้นๆ " จิตบางขณะ (บางประเภท) เป็น "ผล" หรือ "วิบาก" เช่น ขณะที่กำลังเห็นสิ่งที่ไม่น่ายินดีพอใจขณะนั้น "ไม่ใช่ตัวตน" ที่กำลังเห็นแต่ เป็น "จิต" (ซึ่งกระทำกิจเห็น) คือ จักขุวิญญาณ
จักขุวิญญาณ เป็น ผลของอกุศลกรรมหนึ่ง ที่ได้กระทำแล้วในชาตินี้ หรือในชาติก่อนๆ จิตประเภทนี้ เป็น "อกุศลวิบากจิต" หรือ ขณะที่เห็นสิ่งที่น่ายินดีพอใจ ขณะนั้น เป็น "กุศลวิบากจิต" ฯลฯ ทุกครั้ง ที่ประสบอารมณ์ ซึ่งไม่เป็นที่น่ายินดีพอใจ ทางทวารใด ทวารหนึ่ง ใน ทวารทั้ง ๕ คือ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ขณะนั้น เป็น "อกุศลวิบากจิต" และ ทุกครั้ง ที่ประสบอารมณ์ ซึ่งเป็นที่น่ายินดีพอใจ ทางทวารทั้ง ๕ ขณะนั้น เป็น "กุศลวิบากจิต"
ถ้าถูกบุคคลอื่น ทำร้ายร่างกายความรู้สึกเจ็บปวด ไม่ใช่ วิบาก (ผล) จากการกระทำของบุคคลอื่นหมายความว่า ขณะนั้น ผู้ที่-ถูกทำร้าย กำลังได้รับผลของอกุศลกรรม ซึ่งตนได้กระทำมาแล้ว ขณะนั้น เป็น "อกุศลวิบากจิต-ของตนเอง" ที่กำลังเกิดขึ้น (ให้ผล) ทางกาย การกระทำของบุคคลอื่น เป็นเพียง ปัจจัยของความเจ็บปวด ส่วนบุคคลที่ทำร้ายผู้อื่นนั้น ก็เป็น "อกุศลจิต-ของบุคคลนั้น" และ "อกุศลจิต-ของบุคคลนั้น" ซึ่งเป็น "เหตุ" ให้เกิด อกุศลกรรม (การทำร้าย) ซึ่งไม่ช้า ก็เร็ว บุคคล (ผู้กระทำร้าย) ก็จะได้รับ "ผล-ของอกุศลกรรม" นั้น
เมื่อเข้าใจ เรื่อง "กรรม และ วิบาก" ดีขึ้นก็จะเข้าใจ "เหตุการณ์ต่างๆ " ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ได้ชัดเจนขึ้น ใน อัฏฐสาลินี ตอน ๒ จิตตุปาทกัณฑ์มีข้อความ เรื่องกรรมของบุคคลต่างๆ ซึ่งให้ผลต่างกัน ในขณะปฏิสนธิ และ ในปวัตติกาลต่อมาแม้แต่ รูปร่าง-ลักษณะ ก็เป็นผลของกรรมซึ่งมีข้อความว่า เพราะอาศัย "ความต่างกัน-แห่งกรรม" (คือ) สัตว์ทั้งหลาย เป็นสัตว์ไม่มีเท้า มี ๒ เม้า มี ๔ เท้า มีมากเท้ามีรูป ไม่มีรูป มีสัญญา ไม่มีสัญญา มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ "ความต่างกัน-แห่งเหตุอุบัติ ของสัตว์ทั้งหลาย" คือ ความที่สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้สูงและต่ำ เลวและประณีตไปสู่ที่ดี และ ไปสู่ที่ชั่วย่อมปรากฏ เพราะอาศัย "ความต่างกัน-แห่งกรรม""ความต่างกัน-ในอัตภาพ-ของสัตว์ทั้งหลาย" คือ ความเป็นผู้มีผิวพรรณดี หรือ ผิวพรรณทรามเกิดดี หรือ เกิดชั่ว มีสัณฐานดี หรือ สัณฐานชั่วย่อมปรากฏ ... เพราะอาศัย "ความต่างกัน-แห่งกรรม"
"ความต่างกัน-ในโลกธรรม" คือ มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข และ ทุกข์ย่อมปรากฏ แก่สัตว์ทั้งหลายเพราะอาศัย "ความต่างกัน-แห่งกรรม" ฯลฯ แม้ข้ออื่น ก็ตรัสไว้ว่า สัตว์โลก ย่อมเป็นไป ตามกรรม หมู่สัตว์ ย่อมหมุนไป ตามกรรม สัตว์ทั้งหลาย ย่อมมีกรรม เป็นเครื่องผูกพันเหมือน ลิ่มสลักเพลารถ ที่วิ่งไปอยู่ ฉะนั้น
หนังสือ "พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน" [Abhidhamma in Daily Life] โดย นีน่า วันกอร์คอม แปลโดย อ. ดวงเดือน บารมีธรรม จัดพิมพ์ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดย มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
เปิดอ่านหรือดาวน์โหลดหนังสือ...