อภิธรรมในชีวิต [24] ชีวิต หมุนเวียนไปตาม สังสารวัฏฏ์
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ชาติก่อน ชาติปัจจุบัน และ ชาติหน้าเป็น "การสืบต่อ-ของจิต-มากมายหลายประเภท" โดย ไม่ขาดสาย จิตแต่ละขณะ (ประเภท) เกิดขึ้น แล้วดับไปทันทีแล้ว จิตขณะต่อไป ก็เกิดสืบต่อ จิต ไม่เที่ยง แต่ก็ไม่มีสักขณะเดียว ที่ไม่มีจิต
ถ้าขณะใด ไม่มีจิต หมายความว่า ร่างกายขณะนั้น เป็นร่างที่ตายแล้ว แม้ในขณะที่กำลังหลับสนิท ก็มีจิตที่กำลังเกิด-ดับ (คือ ภวังคจิต) จิตแต่ละขณะ (แต่ละประเภท) ซึ่งเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเป็น "ปัจจัย" ให้จิตขณะต่อไป เกิดขึ้น-สืบต่อ "จิตขณะสุดท้าย" ของชาตินี้ (จุติจิต) ก็เป็นปัจจัยให้ "จิตขณะแรก" ของชาติหน้า คือ ปฏิสนธิจิต เกิดขึ้น
ฉะนั้น จะเห็นได้ว่า ชีวิต ย่อมหมุนเวียนไปตาม "สังสารวัฏฏ์" ไม่มีที่สิ้นสุดเป็น สังสารวัฏฏ์ ของการเกิด และ การตาย จิต ขณะต่อไป จะเกิดขึ้นไม่ได้ จนกว่า จิตขณะก่อน ได้ดับไปแล้ว หมายความว่าในขณะหนึ่งๆ จะมีจิตเพียงขณะเดียว เท่านั้น.!แต่ จิต ก็เกิด-ดับ-สืบต่อ-รวดเร็ว จนทำให้เรารู้สึกว่า ในขณะหนึ่งนั้น มีจิตมากกว่าหนึ่งขณะ (ประเภท)
เราอาจจะคิดว่า เราเห็น และ ได้ยิน พร้อมกันแต่ "ความจริง" นั้น จิต แต่ละขณะ (ประเภท) เกิดต่างขณะกัน เราสามารถ พิสูจน์ได้ ด้วยตัวเอง ว่า "การเห็น" เป็น จิตประเภทหนึ่ง ซึ่งต่างจาก "การได้ยิน" จิต แต่ละประเภท (แต่ละขณะ) เกิดขึ้นเพราะ "เหตุ-ปัจจัย" ต่างกันและ มี "การรู้-อารมณ์" ต่างกัน จิต เป็น สภาพธรรม-ที่รู้อารมณ์จิต ทุกประเภท (ทุกขณะ) ต้อง รู้-อารมณ์ จะมี "จิต" โดยไม่มี "อารมณ์" ไม่ได้
จิต รู้-อารมณ์ต่างๆทาง ๖ ทวารคือ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และ ทางใจ (เช่น) "การเห็น" เป็น "จิต-ที่รู้-อารมณ์-ที่ปรากฏ-ทางตา" "อารมณ์-ที่ปรากฏ-ทางตา" ใช้คำว่า "สิ่งที่ปรากฏทางตา" เพื่อเรียก "สิ่งที่ถูกเห็น" ฯลฯ เมื่อ สิ่งที่ปรากฏทางตา กระทบกับ จักขุปสาท (รูป-ที่อยู่ตรงกลางตา) ก็มี "ปัจจัย" ที่ทำให้ การเห็น เกิดขึ้น
การเห็น ต่างกับ การคิดนึก ถึง "เรื่อง-สิ่งที่เห็น" "การคิดนึก" เป็น จิตอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นรู้ "อารมณ์-ทางมโนทวาร" การได้ยิน ก็ต่างกับ การเห็น เพราะ การได้ยิน มี "เหตุปัจจัย" และ "รู้-อารมณ์" ต่างกับการเห็น เมื่อ เสียง (สัททรูป) กระทบ โสตปสาท (รูป) ก็มีมี "ปัจจัย" ให้ จิตได้ยิน เกิดขึ้น และ รู้-เสียง นั้น จะต้องมี "เหตุปัจจัย" ที่เหมาะควรแก่การเกิดขึ้นของจิตแต่ละประเภท
เราไม่สามารถรู้-กลิ่น ทางหู และ ไม่สามารถ ลิ้ม-รส ทางตาจิต ที่ได้กลิ่น ต้องรู้-กลิ่น-ทางจมูกจิต ที่ลิ้มรส ต้องลิ้ม-รส-ทางลิ้นจิต ที่กระทบสัมผัส ต้องรู้-โผฏฐัพพารมณ์-ทางกาย
จิต ที่รู้-อารมณ์-ทางใจ (ทางมโนทวาร) สามารถรู้-อารมณ์ ได้ทุกอย่าง โดย ปริยัติ เราอาจจะเข้าใจว่า จิตเห็น มีลักษณะต่างจาก จิตได้ยินและ รู้ว่า จิต ต่างกับ รูปธรรม-ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่ไม่รู้อะไรการรู้เช่นนี้ ดูเหมือนว่า เป็นเรื่องง่ายๆ แต่ การรู้ โดย "ปริยัติ" ต่างกับ การรู้ โดย "การประจักษ์แจ้ง" ด้วยตนเอง การรู้โดยปริยัติ ฯ ไม่สามารถดับความเห็นผิดให้หมดสิ้นได้การมี สติ-ระลึก-รู้-สภาพธรรม-ที่เกิดขึ้นทางทวาร ๖ เท่านั้นที่ทำให้เรา "รู้แจ้งความจริง" ด้วยตนเองได้
"ปัญญา" (การเข้าใจสภาพธรรมถูกต้อง-ตรงตามความเป็นจริง) ซึ่ง ประจักษ์แจ้ง-สภาพธรรมสามารถ "ดับความเห็นผิด" ให้หมดสิ้นได้
อารมณ์-ที่เรารู้ เป็น โลก-ที่เราอยู่ (หมายความว่า) ขณะที่กำลังเห็น-สิ่งที่ปรากฏทางตาก็เป็น โลก-ที่กำลังปรากฏทางตา และ โลก-ที่ปรากฏทางตา ไม่ยั่งยืน เกิดขึ้นแล้ว ก็ดับไปทันที
ขณะที่กำลังได้ยิน-เสียง ก็เป็น โลก-ที่กำลังปรากฏทางหูซึ่งเกิดขึ้นแล้ว ก็ดับไปทันที เราติด-เพลิดเพลินไปกับสิ่งที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และ ทางใจ แต่ สภาพธรรมเหล่านั้น ไม่เที่ยง สิ่งใด ไม่เที่ยงย่อมไม่ควร ยึดถือ ว่า เป็นตัวตน
หนังสือ "พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน" [Abhidhamma in Daily Life] โดย นีน่า วันกอร์คอม แปลโดย อ. ดวงเดือน บารมีธรรม จัดพิมพ์ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดย มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
เปิดอ่านหรือดาวน์โหลดหนังสือ...