...เรื่องของกฎเกณฑ์.........
๒๗ มกราคม ๒๕๕๑
" ... เรื่องของกฎเกณฑ์ ... "
คุณบุษบงรำไพ โดยทั่วไป ไม่ว่าจะทำอะไร เขาก็ต้องวางระเบียบ กำหนด
กฎเกณฑ์ พอถึงการเจริญสติปัฏฐาน บอกว่าไม่สามารถจะวางระเบียบกำหนดกฎเกณฑ์ได้ ท่านอาจารย์ช่วยขยายความ อยากให้อาจารย์บอกเยอะๆ
ท่านอาจารย์ ใครวางกฎเกณฑ์คะ ถ้ากฎเกณฑ์ แล้วใครเป็นคนวางกฎ-
เกณฑ์ เพราะฉะนั้น เป็นธรรม หรือว่า เป็นเรา กำลังวางกฎ-เกณฑ์ (ความจริง) เป็นนามธรรม หรือ รูปธรรม แล้ววางกฎเกณฑ์อะไรคะ จิตที่วางกฎเกณฑ์เป็นจิตประเภทไหน ....เห็นไหมคะเรื่องที่จะเข้าใจธรรมมีมาก และลึกไปตามลำดับ ไม่ใช่เพียงแค่พูด แล้วก็ไม่เห็นด้วย หรือว่าขัดแย้ง แต่ต้องพิจารณาถึงความจริง ทุกคำที่พูด
ถ้าจะมีการวางกฎเกณฑ์ ใครวาง? แล้วกฎเกณฑ์นั้นเป็นกฎเกณฑ์ที่ดี หรือไม่ดี เกิดจากจิตประเภทไหน ลึกลงไปได้ตลอด จนกระทั่ง ....เพราะอะไรจึงคิดวางกฎเกณฑ์
อีกอย่างหนึ่ง ถ้าไม่มีจิตเลย จะมีกฎเกณฑ์ไหม? จะมีการวางกฎเกณฑ์ใดๆ ไหมคะ ? ....ก็ไม่มี เพราะฉะนั้น ก็เป็นเราวาง หรือว่า เป็นจิตที่คิด .....จิตคิดเกิดแล้วดับไหม ?
คุณบุษบงรำไพ ดับค่ะท่านอาจารย์ ก็เท่านั้นเองคุณบุษบงรำไพ โดยส่วนมาก ทั่วๆ ไป ในยุคปัจจุบันนี้ ก็เหมือนกับมีการ
วางกฎเกณฑ์ ต้องอย่างนี้ ต้องอย่างนั้น ซึ่งจริงๆ แล้วมันก็ขัดกับที่เรามาอบรมที่นี่ วางกฎเกณฑ์อะไรไม่ได้ สภาพธรรมใดปรากฏ ระลึกตรงนั้น
ท่านอาจารย์ พระผู้มีพระภาค ทรงวางกฎเกณฑ์ ว่าสภาพธรรมที่เกิด
(เกิดแล้วต้อง) ดับหรือเปล่า? ...เปล่าเลยค่ะ แต่ (เพราะ) สภาพธรรมเป็นอย่างนั้น ก็ทรงแสดงความจริงของสภาพธรรมนั้น ไม่ใช่พระองค์ไปทรงกำหนดกฎเกณฑ์เป็นตัวตนที่จะบังคับ แต่เมื่อสภาพธรรมเป็นอย่างนี้ ก็ทรงแสดงตามความเป็นจริงของสภาพธรรม
คุณบุษบงรำไพ เพราะฉะนั้น ผู้ที่ชอบ ที่จะให้มีกฎเกณฑ์ (ในการ
เจริญสติปัฏฐาน) ก็เป็นผู้ปฏิบัติผิดไปแล้ว (เพราะ) ไม่ได้เข้าใจว่า อะไรปรากฏ (สติปัฏฐานเกิด) ก็ระลึก (ตรง) สภาพธรรมนั้น
ถ้าจะมีการวางกฎเกณฑ์ ใครวาง? แล้วกฎเกณฑ์นั้น เป็นกฎเกณฑ์ที่ดี หรือไม่ดี เกิดจากจิตประเภทไหน ลึกลงไปได้ตลอด จนกระทั่ง....เพราะอะไรจึงคิดวางกฎเกณฑ์
พระผู้มีพระภาค ทรงวางกฎเกณฑ์ ว่าสภาพธรรมที่เกิด (เกิดแล้วต้อง) ดับหรือเปล่า? ...เปล่าเลยค่ะ
แต่เมื่อสภาพธรรมเป็นอย่างนี้ ก็ทรงแสดงตามความเป็นจริงของ สภาพธรรม.............ขออนุโมทนา............
..ผู้ที่ชอบที่จะให้มีกฎเกณฑ์ (ในการเจริญสติปัฏฐาน)
ก็เป็นผู้ปฏิบัติผิดไปแล้ว..
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็ เป็นเราวาง หรือว่า เป็นจิตที่คิด...
....จิตคิดเกิด แล้วดับไหม ?
คุณบุษบงรำไพ ดับค่ะท่านอาจารย์ ก็เท่านั้นเอง
..............
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
กฎเกณฑ์ (โดยทางโลก) เป็นแค่เพียงกติกาทางสมมติบัญญัติ (ภาษาไทยในกรณีที่ใช้กับคนไทย) เขียนเป็นภาษาที่มนุษย์อ่านออก (ภาษาไทยอีกเช่นกัน) ที่สำคัญคือ กลั่นออกมาจากจิต (นาม) ผ่านอักขระต่างๆ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสะดวกแก่ผู้ใช้ (ผู้นำไปปฏิบัติ) ดังเช่น กฎเกณฑ์ในการเจริญสติปัฏฐานที่ปรากฎในกระทู้นี้ แต่ความจริงแล้ว (ในทางปรมัตถ์) น่าจะสอดคล้องกับ "กฎแห่งไตรลักษณ์"และ "กฎของอิทัปปัจจยตา" มากกว่า ดังนั้น ผู้ที่เดินทางสายนี้อย่างจริงจัง (คือออกจากความพ้นโลก) จึงต้องเพียรสร้างปัญญาตัวที่3 (ภาวนามยปัญญา) ให้เกิดขึ้น แต่ยังคงต้องพึ่ง "สุตมยปัญญา (การฟัง) " และ "จินตามยปัญญา (โยนิโสมนสิการ) " เป็นนั่งร้านคำยัน ไปพร้อมๆ กันจนสามารถเข้าใจความจริงแท้ของสิ่งที่มาปรากฏเฉพาะหน้าในแต่ละขณะจิตอยู่เนืองๆ ให้ได้ ทำให้ต้องอาศัย สติ (ในพละ ๕) และอิทธิบาท ๔ เพื่อให้ "สติ+สัมปชัญญะ" เกิดขึ้นด้วย"วิริยะ" ที่แฝงไว้ใน พละ ๕ และอิทธิบาท ๔ จนเกิดเป็นมหาสติที่มีพลังกล้าแข็ง ก้าวไปสู่สติสัมโภชฌงค์ เพื่อเข้าสู่อริยมรรคที่สมบูรณ์ต่อไป ผมมีความเห็นอย่างนี้นะครับ ผิดถูกไม่ว่ากัน ถ้าไม่ถูกอย่างไรขอกัลยาณมิตรโปรดชี้แนะด้วย
เรื่องที่จะเข้าใจธรรมมีมาก และลึกไปตามลำดับ ไม่ใช่เพียงแค่พูด แล้วก็ไม่เห็นด้วย หรือว่าขัดแย้ง แต่ต้องพิจารณาถึงความจริง ทุกคำที่พูด
...ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ...
คำว่า..กฏเกณฑ์-เป็นข้อกำหนดที่วางไว้ให้ประพฤติปฏิบัติธรรมะเป็นอนัตตาเกิดตามเหตปัจจัยบังคับบัญชาไม่ได้..ดังนั้นถึงมีกฏเกณฑ์ที่มีผู้กำหนด (สำหรับผู้มีโลภะ) หรือกฏเกณฑ์ที่เกิดจากความคิด (ด้วยโลภะหรือความเป็นเรา) โดยไม่รู้สภาพธรรมะที่กำลังปรากฏก็ไม่เป็นหนทางที่จะเจริญสติปัฏฐานได้...ขออนุโมทนาคะ...