อภิธรรมในชีวิต [30] มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิด

 
พุทธรักษา
วันที่  1 มี.ค. 2554
หมายเลข  17968
อ่าน  1,394

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

    "การยึดถือ-ร่างกาย" ว่า เป็นตัวตน นั้น เป็น "ความเห็นผิด" อย่างหนึ่ง ภาษาบาลี เรียกว่า "ทิฏฐิ"   ทิฏฐิ เป็น เจตสิก-ประเภทหนึ่งซึ่ง เกิดพร้อมกับ โลภมูลจิต (จิต-ที่มีโลภเจตสิก-เป็นมูล)   โลภมูลจิต มี ๘ ประเภท   โลภมูลจิต ๔ ประเภท ประกอบด้วย "มิจฉาทิฏฐิ" ขณะใดที่ โลภมูลจิต ประกอบด้วย มิจฉาทิฏฐิขณะนั้น ก็มี ความเห็นผิด ความเห็นผิด มีหลายประเภท ความเห็น ว่า มี "ตัวตน" เป็น ความเห็นผิด ประเภทหนึ่ง ขณะที่ "ยึดมั่น-สิ่งหนึ่งสิ่งใด" ว่า เป็น "ตัวตน" ขณะนั้น เป็น "มิจฉาทิฏฐิ"   บางคน มีเห็นว่า มีตัวตนอยู่ในชาตินี้ และ จะมีตัวตนอยู่ต่อไปอีก หลังจากสิ้นชีวิตแล้วนี้ เป็น "สัสสตทิฏฐิ"   บางคน มีความเห็นว่ามีตัวตนอยู่ในชาตินี้เท่านั้น และ จะสูญไป เมื่อสิ้นชีวิตแล้วนี้ เป็น "อุจเฉททิฏฐิ"   ทิฏฐิ อีกอย่างหนึ่ง คือ เห็นว่า ไม่มีกรรม ที่จะทำให้เกิด วิบากคือ เห็นว่า กรรม ไม่มี ผล มีคนในประเทศต่างๆ ที่เชื่อว่า เขาจะชำระตนให้บริสุทธิ์ จาก บาป-อกุศล ได้เพียงด้วยการชำระล้างร่างกายในน้ำ หรือ การสวดอ้อนวอน เขาเชื่อว่า การกระทำอย่างนั้น จะขจัดปัดเป่า ไม่ให้อกุศลกรรม เกิดขึ้นเขา "ไม่รู้" ว่า "กรรมแต่ละอย่าง ย่อมเป็นเหตุให้เกิดผล"   เราสามารถ "ดับกิเลส" ด้วย "การอบรมเจริญ-ปัญญา" เท่านั้น ผู้ที่คิดว่า กรรม ไม่ให้ผลตามควรแก่กรรม นั้นก็อาจจะ "เชื่ออย่างง่ายๆ" ว่า การเจริญกุศล เปล่าประโยชน์ "การเชื่อ" อย่างนี้ ย่อมเป็น "เหตุ" ให้กระทำอกุศลกรรม ฯลฯ   ใน โลภมูลจิต ๘ ประเภท นั้น โลภมูลจิต ๔ ประเภท เกิดร่วมกับ ความเห็นผิด ภาษาบาลี เรียกว่า "ทิฏฐิคตสมฺปยุตฺต" (สมฺปยุตฺต หรือ สัมปยุตต์ แปลว่า ประกอบด้วย) โลภมูลจิต อีก ๔ ประเภท ไม่มีความเห็นผิด เกิดร่วมด้วย ภาษาบาลี เรียกว่า "ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺต" (วิปปยุตฺต หรือ วิปปยุตต์ แปลว่า ไม่ประกอบด้วย)   สำหรับ "เวทนา" (ความรู้สึก) ที่เกิดพร้อมกับ โลภมูลจิต นั้นอาจเป็น "โสมนัสเวทนา" หรือ "อุเบกขาเวทนา" ก็ได้ แต่ "โทมนัสเวทนา" จะไม่เกิดกับ โลภมูลจิต โลภะ จะแรงขึ้น เมื่อเกิดกับโสมนัสเวทนา สำหรับ โลภมูลจิตทิฏฐิคตตสัมปยุตต์ ๔ ประเภท นั้นเกิดร่วมกับ โสมนัสเวทนา ๒ ประเภท ภาษาบาลี เรียกว่า "โสมนสฺสสหคต" (ประกอบด้วยความรู้สึกดีใจ) และ โลภมูลจิตทิฏฐิคตตสัมปยุตต์ อีก ๒ ประเภท เกิดร่วมกับ อุเบกขาเวทนา ภาษาบาลี เรียกว่า "อุเปกฺขาสหคต" (ประกอบด้วยความรู้สึกเฉยๆ) เช่น ขณะที่ยึดมั่นใน สสตทิฏฐิ นั้นจิต อาจประกอบด้วย โสมนัสเวทนา หรือ อุเบกขาเวทนา ก็ได้   สำหรับ โลภมูลจิตทิฏฐิคตวิปยุตต์ (๔ ประเภท) นั้นเกิดร่วมกับ โสมนัสเวทนา ๒ ประเภท และ อีก ๒ ประเภท เกิดกับเกิดร่วมกับ อุเบกขาเวทนา
ฉะนั้น ในโลภมูลจิต ๘ ประเภท นั้นเกิดร่วมกับ โสมนัสเวทนา ๔ ประเภท และ เกิดร่วมกับ อุเบกขาเวทนา ๔ ประเภท   โลภมูลจิต นั้น จำแนกอีกนัยหนึ่ง คือ โลภมูลจิต ที่เป็น "อสังขาริก" (ไม่มีการชักจูง) และ "สสังขาริก" (มีการชักจูง) คำว่า "อสังขาริก" บางแห่ง แปลว่า ไม่ได้ถูกชักจูง ไม่ได้ถูกกระตุ้น หรือ เกิดขึ้นเองทันที คำว่า "สสังขาริก" แปลว่า ถูกชักจูง ถูกกระตุ้น   ในวิสุทธิมรรค มีข้อความเรื่อง โลภมูลจิต ที่เป็น สสังขาริก ว่า "เป็นจิตที่เฉื่อยชา ต้องกระตุ้น" และ โลภมูลจิต ที่เป็น อสังขาริก นั้น "อาศัยคำแนะนำ หรือ คำขอร้องของคนอื่น หรือ ความจูงใจของตนเอง" แม้ โลภมูลจิต ที่เกิดขึ้นเพราะ "ความจูงใจของตนเอง" ก็เป็น สสังขาริก เพราะว่า "เป็นจิตที่เฉื่อยชา และ ถูกชักจูง" ฉะนั้น เมื่อ โลภมูลจิต เป็น อสังขาริก จึงมี "กำลัง" แรงกว่า โลภมูลจิต ที่เป็น สสังขาริก   สำหรับ โลภมูลจิต ๔ ประเภท ที่ประกอบด้วย มิจฉาทิฏฐิเป็น อสังขาริก ๒ ประเภท และ เป็น สสังขาริก ๒ ประเภท โลภมูลจิต ๔ ประเภท ซึ่งไม่ประกอบด้วย มิจฉาทิฏฐิเป็น อสังขาริก ๒ ประเภท และ เป็น สสังขาริก ๒ ประเภท ฉะนั้น โลภมูลจิต ๘ ประเภทจึงเป็น อสังขาริก ๔ ประเภท และ เป็น สสังขาริก ๔ ประเภท จะเห็นได้ว่า โลภมูลจิต เป็น อสังขาริก หรือ สสังขาริก ก็ได้

ใน อัฏฐสาลินีฯ มีตัวอย่างของ โลภมูลจิต ที่ประกอบด้วย มิจฉาทิฏฐิ และ เป็นสสังขาริก อุปมา ว่า บุตรชายเศรษฐีคนหนึ่ง แต่งงานกับหญิงที่มีความเห็นผิด เขาจึงส้องเสพกับพวกที่มีความเห็นผิด ไม่ช้า เขาก็คล้อยตาม และ พอใจในความเห็นผิด นั้น

ตัวอย่างของ โลภมูลจิต ซึ่งไม่ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ และ เป็นสสังขาริก เช่น บุคคล ที่ตอนแรก ไม่ดื่มสุรา แต่เมื่อถูกชักชวนให้ดื่มตอนหลัง ก็มีความยินดีพอใจในการดื่มสุรา

ตัวอย่างของ โลภมูลจิตที่ไม่ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิซึ่ง เกิดร่วมกับ โสมนัสเวทนา เช่น ขณะที่เพลิดเพลินยินดีในสีสวยๆ หรือ เสียงเพราะๆ ฯลฯ ขณะนั้น เกิดความยินดีพอใจ "โดยไม่มีความเห็น-เรื่องตัวตน" แต่ก็มีบางขณะ ที่มี "มิจฉาทิฏฐิ-ที่เห็นว่า-เป็นตัวตน" เกิดร่วมด้วย

ตัวอย่างของ โลภมูลจิต ซึ่งไม่ประกอบด้วย มิจฉาทิฏฐิ ที่มี อุเบกขาเวทนา เกิดร่วมด้วย เช่น ขณะที่อยากจะยืน หรือ อยากจะหยิบจับอะไรๆ เพราะ (ตามปกติ) ธรรมดา เราไม่รู้สึกว่า เป็นสุข ที่ได้ทำอย่างนั้น ขณะนั้น เป็น โลภมูลจิต ที่เกิดร่วมกับ อุเบกขาเวทนา

ฉะนั้น จะเห็นได้ว่า "โลภะ" เป็นเหตุให้ทำสิ่งที่ธรรมดาที่สุด บ่อยๆ ในชีวิตประจำวัน

คำถามท้ายบทที่ ๔

๑. โสมนัสเวทนา เกิดกับ โลภะ ทุกครั้ง หรือ

๒. ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) เกิดเฉพาะกับ โลภมูลจิต เท่านั้นหรือ

๓. โลภมูลจิต มีกี่ประเภท รู้แล้ว มีประโยชน์อย่างไร


หนังสือ "พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน" [Abhidhamma in Daily Life] โดย นีน่า วันกอร์คอม แปลโดย อ. ดวงเดือน บารมีธรรม จัดพิมพ์ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดย มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

เปิดอ่านหรือดาวน์โหลดหนังสือ...

พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 1 มี.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
สมศรี
วันที่ 7 มี.ค. 2554
ขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ