อภิธรรมในชีวิต [31] รู้จักตนเอง

 
พุทธรักษา
วันที่  2 มี.ค. 2554
หมายเลข  17974
อ่าน  1,297

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 

เมื่อศึกษาเรื่อง "จิต" ละเอียดขึ้น ก็จะทำให้เรา "รู้จักตนเอง" เราไม่สามารถบังคับตัวเอง ไม่ให้มีโลภะ แต่ เราก็สามารถ "รู้-ลักษณะ" ของโลภะ ได้ เมื่อ โลภะ ปรากฏ ฯลฯ พระธรรมวินัยทั้งหมด คือ พระวินัย พระสูตร และ พระอภิธรรม ทำให้ เรา "รู้จักตัวเอง" ดีขึ้น

เมื่อศึกษาพระวินัย จะเห็นว่าแม้พระภิกษุ ซึ่งดำเนินชีวิตอย่างมักน้อย สันโดษก็ยัง "สะสมเหตุปัจจัยของโลภะ" มาแล้วด้วย ทุกครั้ง ที่มีเหตุการณ์ ที่พระภิกษุหันเหจากเพศบรรพชิต พระผู้มีพระภาคฯ ก็ทรงบัญญัติพระวินัยขึ้น เพื่อ อนุเคราะห์พระภิกษุ ให้ "สำรวม-ยิ่งขึ้น" ฉะนั้น เราจึงเข้าใจ "คุณประโยชน์ของพระวินัย" ซึ่งมีข้อปลีกย่อย "เรื่องความประพฤติของพระภิกษุสงฆ์" ด้วย

"สิกขาบท" เกื้อกูลพระภิกษุให้ "สังวร" แม้ขณะที่ทำกิจต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การฉัน การดื่ม การครองจีวร และ การเดิน เป็นต้น มีพระวินัย ที่ห้ามพระภิกษุทำสิ่งที่ดูเหมือนว่า ไม่เป็นการเสียหาย เป็นต้นว่า การเล่นในน้ำ หรือ การเล่นน้ำ (ปาจิตตีย์ ๕๒) หรือ การล้อเลียนพระภิกษุอื่นๆ การกระทำเหล่านี้ ไม่ได้เกิดจากกุศลจิต แต่ เกิดจากอกุศลจิต

ใน พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๙ รตนวรรค สิกขาบทที่ ๓ มีข้อความว่า ภิกษุ ไม่ควรเข้าไปในหมู่บ้าน ในเวลาวิกาลด้วยเหตุว่า ย่อมเพลิดเพลินใน "ดิรัจฉานกถา" ได้ง่าย มีข้อความว่า ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ เข้าบ้าน ในเวลาวิกาล แล้วนั่งในที่ประชุม "กล่าว-ดิรัจฉานกถา" มีเรื่องต่างๆ คือ เรื่องพระราชา เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องขุนพล เรื่องภัย เรื่องงาน เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องสุรา เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องทะเล เรื่องความเจริญ และ ความเสื่อมด้วยประการนั้นๆ

ข้อความดังกล่าว เป็นประโยชน์ต่อ "คฤหัสถ์" ด้วย เราอดพูด "ดิรัจฉานกถา" ไม่ได้ แต่ เราควรรู้ ว่า การพูดของเรานั้น แม้ดูเหมือนไม่มีโทษภัย แต่ก็ "พูด-ด้วยโลภมูลจิต" หรือ "พูด-ด้วยโทสมูลจิต" บ่อยๆ การที่จะ "รู้จักตัวเอง" นั้นควรพิจารณา ว่า "พูด ด้วยจิตอะไร" โลภะ สะสมมากขึ้น ทุกครั้ง ที่โลภมูลจิต เกิดขึ้น เมื่อมีเหตุปัจจัย โลภะ ก็เป็นเหตุ ให้กระทำทุจริต ทางกาย ทางวาจา หรือ ทางใจ เมื่อเรา "เข้าใจ" ว่า การกระทำใด เกิดจาก โลภะก็จะ (เป็นเหตุปัจจัยให้) ขวนขวายยิ่งขึ้น ที่จะ "ละ" โลภะ


หนังสือ "พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน" [Abhidhamma in Daily Life] โดย นีน่า วันกอร์คอม แปลโดย อ. ดวงเดือน บารมีธรรม จัดพิมพ์ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดย มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

เปิดอ่านหรือดาวน์โหลดหนังสือ...

พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prakaimuk.k
วันที่ 2 มี.ค. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 2 มี.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เมตตา
วันที่ 2 มี.ค. 2554

พระธรรมวินัยทั้งหมด คือ พระวินัย พระสูตร และ พระอภิธรรมทำให้ เรา "รู้จักตัวเอง" ดีขึ้น

ขออนุโมทนาในกุศลวิริยะ คุณพุทธรักษา ด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 3 มี.ค. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
intira2501
วันที่ 6 มี.ค. 2554
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ