อภิธรรมในชีวิต [32] อกุศลกรรมบถ ๑๐
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
การกระทำชั่ว ภาษาบาลี เรียกว่า "อกุศลกรรม" กรรม เป็น "เจตสิกธรรม" (นามธรรม-ที่เกิดร่วมกับจิต) กรรม เป็น ความตั้งใจ หรือ ความจงใจซึ่ง ภาษาบาลี เรียกว่า "เจตนา"
คำว่า "กรรม"โดยทั่วไป หมายถึง การกระทำ-ซึ่งเกิดจากเจตนาที่จงใจ
คำว่า "กรรมบถ" (โดยพยัญชนะ หมายความว่า ทางแห่งกรรมกระทำ) หมายถึง เจตนาเจตสิก (กรรม)
กรรมมีทั้ง อกุสล-กรรมบถ และ กุศล-กรรมบถ ซึ่งหมายถึง การกระทำ ทางกาย ทางวาจา และ ทางใจ
อกุศลกรรมบถ มี ๑๐ อย่างซึ่งมี โลภะ โทสะ และ โมหะ เป็น "เหตุ-ปัจจัย" ให้เกิดขึ้น
โมหะ หรือ อวิชชา เกิดกับ อกุศลจิต ทุกประเภท โมหะ เป็น รากเหง้า-ของอกุศลธรรมทั้งปวง ขณะใด ที่เป็น อกุศลกรรมบถ ขณะนั้น ต้องมี "โมหะ" เกิดร่วมด้วยเสมอ อกุศลกรรมบถ บางอย่าง เกิดขึ้นเพราะ โลภมูลจิต และ บางอย่าง ก็เกิดเพราะ โทสมูลจิต เพราะฉะนั้น ขณะที่เห็นใครทำอกุศลกรรม เราจึงไม่อาจรู้ได้แน่ชัดว่า กรรมนั้น เกิดจากจิตประเภทใด
อกุศลกรรมบถ ๑๐
๑. การฆ่า
๒. การถือเอาทรัพย์-ที่เจ้าของไม่ได้ให้
๓. การประพฤติผิดในกาม.
๔. การพูดเท็จ
๕. การพูดส่อเสียด
๖. การพูดคำหยาบ
๗. การพูดเพ้อเจ้อ
๘. การเพ่งเล็ง-อยากได้ของ ของผู้อื่น มาเป็นของตน
๙. การคิดร้าย-คิดเบียดเบียดผู้อื่น ให้เดือดร้อน
๑๐. การเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ)
การฆ่า การลักทรัพย์ และ การประพฤติผิดในกามเป็น อกุศลกรรมบถ-ทางกาย
การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดคำหยาบ และ การพูดเพ้อเจ้อเป็น อกุศลกรรมบถ-ทางวาจา
การเพ่งเล็ง-อยากได้ของของผู้อื่น การคิดร้าย และ การเห็นผิดเป็น อกุศลกรรมบถ-ทางใจ ฯลฯ
การกล่าวถึงคนอื่น โดยไม่ได้มีเจตนา ที่จะทำลายชื่อเสียงของคนอื่น ไม่เป็น อกุศลกรรมบถ แต่ ถ้าพูดจนเป็น "นิสัย" โอกาสที่จะเป็นอกุศลกรรมบถ ก็เกิดง่ายขึ้น ฯลฯ การกล่าวร้าย เพื่อประโยชน์ตน หรือ เพื่อให้คนอื่นพอใจมี โลภมูลจิต เป็นเหตุแต่ ขณะที่มุ่งร้ายบุคคลอื่น ก็มี โทสมูลจิต เป็นเหตุ เราจะพูดถึง "เรื่องของคนอื่น" หรือ วิจารณ์คนอื่น น้อยลง เมื่อเรา "เข้าใจ" ว่า ทั้งตัวเราเอง และ คนอื่นนั้น เป็น "สภาพธรรม-ที่เกิดขึ้น-เพราะเหตุปัจจัย" และ ไม่เที่ยง
ขณะที่กำลังพูดถึงเรื่อง "การกระทำ" ของคนอื่น ขณะนั้น "สภาพธรรม" เหล่านั้น ดับไปหมดแล้ว ฯลฯ อกุศลกรรมบถ-ทางใจ คือ ความพยาบาท ความคิดมุ่งร้ายความคิดที่จะเบียดเบียนคนอื่น มี โทสมูลจิต เป็น ปัจจัย ส่วนการเพ่งเล็ง-อยากได้ของของคนอื่น และ ความเห็นผิด นั้นมี โลภมูลจิต เป็น ปัจจัย เจตนา-ที่จะเอาวัตถุสิ่งของของคนอื่นมาเป็นของตน "โดยทุจริต" เป็น อกุศลกรรมบถ-ทางใจ
สำหรับ "มิจฉาทิฏฐิ" (ความเห็นผิด) นั้น มีหลายประเภทแต่ "ทิฏฐิ ๓" เป็น อกุศลกรรมบถ-ทางใจ คือ
๑. อเหตุกทิฏฐิ หมายถึง "ความเห็น" ว่า สัตว์ทั้งหลาย เกิดขึ้น โดยไม่มีเหตุ และ ความดี ความชั่ว ไม่มีเหตุ
๒. อกิริยทิฏฐิ หมายถึง "ความเห็น" ว่าไม่มีกรรมดี และ กรรมชั่ว ซึ่งจะทำให้เกิดผลในอนาคต
๓. นัตถิกทิฏฐิ หมายถึง "ความเห็น" ว่า ผลของกรรม ไม่มี ตายแล้ว ไม่เกิด
หนังสือ "พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน" [Abhidhamma in Daily Life] โดย นีน่า วันกอร์คอม แปลโดย อ. ดวงเดือน บารมีธรรม จัดพิมพ์ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดย มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
เปิดอ่านหรือดาวน์โหลดหนังสือ...
" ... เราจะพูดถึง "เรื่องของคนอื่น" หรือ วิจารณ์คนอื่น น้อยลงเมื่อเรา "เข้าใจ" ว่า ทั้งตัวเราเอง และ คนอื่นนั้น ... เป็น "สภาพธรรม-ที่เกิดขึ้น-เพราะเหตุปัจจัย"และ ไม่เที่ยง.
ขณะที่กำลังพูดถึงเรื่อง "การกระทำ" ของคนอื่นขณะนั้น "สภาพธรรม" เหล่านั้น ดับไปหมดแล้ว. ... "ตรงนี้เตือนใจดีมาก เพราะชักนำให้น้อมประพฤติปฏิบัติตามกุศลธรรมครับขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ