อภิธรรมในชีวิต [35] อกุศลธรรม อกุศลวิบาก

 
พุทธรักษา
วันที่  12 มี.ค. 2554
หมายเลข  18022
อ่าน  1,479

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 

ความเสียดาย ความกังวล ภาษาบาลี เรียกว่า "กุกกุจจะ" กุกกุจจะ เป็น อกุศลเจตสิก ที่เกิดร่วมกับ โทสมูลจิต เช่น ได้กระทำสิ่งที่ไม่ดี หรือ ไม่ได้กระทำสิ่งที่ดี (ถ้าเกิดความเสียใจด้วยเหตุนี้) ขณะนั้น เป็นขณะที่คิดถึงอดีต แทนที่จะ "ระลึกถึงปัจจุบันขณะ" เมื่อได้กระทำผิดพลาดไปแล้ว ก็ไม่มีประโยชน์ ที่จะ "กังวลใจ"

ความริษยา (อิสสา) เป็น อกุศลเจตสิกอีกประเภทหนึ่ง ที่เกิดร่วมกับ โทสมูลจิต เช่น ขณะที่ไม่อยากให้ใครได้รับสิ่งที่ยินดีพอใจ ขณะนั้น เป็นความริษยาเพราะขณะนั้น จิต ไม่พอใจในอารมณ์นั้น ควรพิจารณา สังเกต ว่า ความริษยา เกิดบ่อยเพียงใดแม้ว่า จะเป็น ความริษยาเพียงเล็กน้อย ก็ตามเป็นวิธีที่จะรู้ได้ ว่า เราใส่ใจคนอื่น หรือ เราคิดถึงแต่ตัวเอง เมื่อคบหาสมาคมกับคนอื่น

ความตระหนี่ (มัจฉริยะ) เป็น อกุศลเจตสิก อีกประเภทหนึ่ง ที่เกิดร่วมกับ โทสมูลจิต เพราะขณะที่ตระหนี่ ขณะนั้นไม่อยากให้คนอื่นมีส่วนในสมบัติที่เรามี

โทสเจตสิก เกิดร่วมกับ ความรู้สึกไม่สบายใจ (โทมนัสเวทนา) เสมอ คนส่วนมาก ไม่ชอบโทสะ เพราะไม่ชอบ ความรู้สึกไม่สบายใจขณะที่อบรมเจริญปัญญา (ระลึก-รู้-ลักษณะของโทสะ ที่กำลังเกิดและปรากฏ) ก็ใคร่ที่จะ ละ-โทสะ มากขึ้นทั้งนี้ โดยไม่ใช่เพราะไม่ชอบโทมนัสเวทนาแต่ เป็นเพราะ "เห็นโทษภัยของอกุศลธรรม"

โทสะ เกิดขึ้นได้ เมื่อกระทบกับ "อารมณ์ที่ไม่น่ายินดีพอใจ" ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และ ทางใจขณะที่ "รู้สึกไม่สบายใจ" ไม่ว่าจะเล็กน้อยเพียงใด ก็ตามแสดงว่า ขณะนั้น เป็น โทสะ (คือ โทสเจตสิก ที่กำลังเกิดและปรากฏ โดยเป็นอารมณ์ของจิต)

โทสะ เกิดขึ้น เมื่อมี "เหตุปัจจัย" โทสะ เกิดขึ้นได้เสมอ ตราบใด ที่ยัง "ติดข้อง" ในกามอารมณ์ ๕ ที่ปรากฏทางปัญจทวาร อีกปัจจัยหนึ่ง ที่ทำให้โทสะเกิดขึ้น ก็คือ "ความไม่รู้ ไม่เข้าใจธรรม"

ถ้าไม่รู้ ไม่เข้าใจในเรื่องของ กรรม วิบาก เหตุ และ ผลโทสะ ก็อาจจะเกิดขึ้นได้ง่ายๆ เมื่อกระทบกับอารมณ์ที่ไม่น่ายินดีพอใจ ทางทวารใดทวารหนึ่งฉะนั้น โทสะ จึงเพิ่มพูนขึ้น เรื่อยๆ ขณะที่กระทบกับอารมณ์ที่ไม่น่ายินดีพอใจนั้นๆ

บุคคล ผู้ศึกษา "ธรรม" ย่อมเข้าใจ ว่าการที่ได้ยินคำพูด (เสียง) ที่ไม่น่ายินดีพอใจ นั้นเป็น อกุศลวิบาก ซึ่งเป็น ผลของกรรมที่ (ตนเอง) ได้กระทำแล้วไม่ได้เกิดจาก การกระทำของบุคคลอื่น แม้กระนั้น อกุศลวิบากจิต เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็ต้องดับไปทันที ไม่ดำรงยั่งยืนแต่ เรามักจะครุ่นคิดถึง "อารมณ์ที่ไม่น่ายินดี ที่ดับไปแล้ว" นั้นอีก ไม่ใช่หรือ

เพราะฉะนั้น ถ้า มีปัจจัยให้ "สติ" เกิดขึ้นระลึกรู้ "ลักษณะของสภาพธรรม" ที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้.!ก็เป็นปัจจัยให้เกิด การละ-คลาย-การคิดถึงอกุศลวิบาก ด้วยโทสะ ลงได้


หนังสือ "พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน" [Abhidhamma in Daily Life] โดย นีน่า วันกอร์คอม แปลโดย อ. ดวงเดือน บารมีธรรม จัดพิมพ์ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดย มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

เปิดอ่านหรือดาวน์โหลดหนังสือ...

พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chaiyut
วันที่ 12 มี.ค. 2554

"บุคคล ผู้ศึกษา "ธรรม" ย่อมเข้าใจ ว่าการที่ได้ยินคำพูด (เสียง) ที่ไม่น่ายินดีพอใจ นั้นเป็น อกุศลวิบาก ซึ่งเป็น ผลของกรรมที่ (ตนเอง) ได้กระทำแล้วไม่ได้เกิดจาก การกระทำของบุคคลอื่น"

ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
prakaimuk.k
วันที่ 12 มี.ค. 2554

 ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
สมศรี
วันที่ 14 มี.ค. 2554
ขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 15 มี.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Supakij.k
วันที่ 16 มี.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

ผมขออนุญาตเรียนถาม 2 เรื่องดังนี้ครับ

1) กามฉันทะในนิวรณ์ 5 กับ กามราคะในสังโยชน์ 10 นั้น ต่างกันอย่างไร

2) พยาปาทิ ในนิวรณ์ 5 กับ ปฎิฆะ ในสังโยชน์ 10 ต่างกันอย่างไร

ทั้งนี้เพื่อจะได้นำมาเป็นหลักในการพิจารณาสภาวธรรมต่อไป

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
paderm
วันที่ 16 มี.ค. 2554

เรียน ความเห็นที่ 5

1. กามฉันทะและกามราคะ โดยองค์ธรรมแล้วไม่ต่างกันเลยคือโลภเจตสิก อันหมายถึงความพอใจ ยินดี ติดข้อง   แต่พระพุทธองค์ทรงแสดงโดยนัยที่ว่าโลภะเป็นได้ทั้งเครื่องกั้นกุศลธรรมคือนิวรณ์และโลภะเป็นได้ทั้งเครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพคือสังโยชน์   กามราคะบางครั้งมุ่งหมายถึงโลภะที่มีกำลังมีเมถุนธรรม เป็นต้น

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 760

บทว่า กามราคสญฺโชนา คือ สังโยชน์กล่าวคือความยินดีในเมถุน เพราะกามราคะนั้นย่อมประกอบสัตว์ไว้ในกามภพ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าว สัญโญชนะ

2. พยาปาทะและปฏิฆะก็เช่นเดียวกันก็คือโทสเจตสิก ต่างกันโดยโวหารเทศนาของพระพุทธองค์ พยาบาทหมายถึงการทำให้จิตเสียด้วยการคิดปองร้าย เป็นต้น ปฏิฆะการ กระทบกระทั่งแห่งจิตด้วยการเห็นนิมิตอันทำให้จิตเกิดโทสะ เป็นต้น

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Supakij.k
วันที่ 21 มี.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ 

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ