บุคคล ๔ จำพวก [มูลปัณณาสก์]

 
orawan.c
วันที่  15 มี.ค. 2554
หมายเลข  18050
อ่าน  1,679

[เล่มที่ 18] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 453

บุคคล ๔ จำพวก คือ อุคฆฏิตัญญู วิปัจจิตัญญู เนยยะปทปรมะ ก็ฉันนั้น เหมือนกัน. ในบุคคล ๔ เหล่านั้น บุคคลใดตรัสรู้ธรรมพร้อมกับเวลายกหัวข้อธรรม บุคคลนี้ท่านเรียกว่า อุคฆฏิตัญญู. บุคคลใดตรัสรู้ธรรมเมื่อท่านแจกอรรถแห่งภาษิตสังเขปได้โดยพิสดาร บุคคลนี้ท่านเรียกว่า วิปัจจิตัญญู. บุคคล ใดใส่ใจโดยแยบคายทั้งโดยอุเทศทั้งโดยปริปุจฉา ซ่องเสพคบหาเข้าใกล้กัลยาณ- มิตรจึงตรัสรู้ธรรมบุคคลนี้ท่านเรียกว่า เนยยะ. บุคคลใด ฟังมากก็ดี กล่าวมากก็ดี ทรงจำมากก็ดี สอนมากก็ดี ก็ยังไม่ตรัสรู้ธรรมในชาตินั้น บุคคลนี้ท่าน เรียกว่า ปทปรมะ. บรรดาบุคคลเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดู หมื่นโลกธาตุซึ่งเป็นเสมือนดอกบัว เป็นต้น

ก็ได้ทรงเห็นว่า อุคฆฏิตัญญู เปรียบเหมือนดอกไม้บานในวันนี้ วิปัจจิตัญญู เปรียบดอกไม้บานในวันพรุ่งนี้ เนยยะ เปรียบเหมือนดอกไม้บานในวันที่ ๓ ปทปรมะ เปรียบเหมือนดอกไม้ที่เป็นภักษาของปลาและเต่า. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงเห็น ก็ทรงเห็นโดยอาการทุกอย่าง อย่างนี้ว่า สัตว์มีประมาณเท่านี้ มีกิเลสธุลีในปัญญาจักษุน้อย เหล่านี้มีกิเลสธุลี ในปัญญาจักษุมาก บรรดาสัตว์เหล่านั้น เหล่านี้เป็นอุคฆฏิตัญญู ดังนี้เป็นต้น.

พระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมให้สำเร็จประโยชน์ในอัตภาพนี้เท่านั้น แก่บุคคล ๓ ประเภท ในจำนวนบุคคลเหล่านั้น ปทปรมะ มีวาสนาเพื่อประโยชน์ในอนาคตกาล. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า พระธรรมเทศนาจะนำประโยชน์มาให้แก่บุคคล ๔ ประเภท จึงทรงทำให้เกิดพระพุทธประสงค์ที่จะทรงแสดงธรรม จึงทรงจำแนกเหล่าสัตว์ใน ๓ ภพทั้งหมด อีกสองคือ ภัพพบุคคลและอภัพพบุคคล. ท่านหมายเอาสัตว์เหล่าใด จึงกล่าวคำนี้ไว้ ว่าเหล่าสัตว์ผู้ประกอบด้วยการห้ามกรรมห้ามวิบาก ห้ามกิเลส ไม่มีศรัทธาตัดไม่ขาด ไม่มีปัญญา ไม่ควร ก้าวลงสู่ความชอบในกุศลธรรมแน่นอน สัตว์เหล่านี้นั้นจัดเป็นอภัพพะ. เหล่าสัตว์ ผู้เป็นภัพพะเหล่านั้นเป็นไฉน คือเหล่าสัตว์


  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 11 พ.ค. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ