ที่จะรู้ตัว ว่ามีมานะ มากน้อยแค่ไหน ขณะไหน (๔)
ข้อความบางตอนจากการบรรยายธรรมโดยท่านอาจารย์ สุจินต์ บริหารวนเขตต์
ท่านอาจารย์...."ความโอ้อวด" คือ การไม่กล่าวโดยชอบ เพราะแสดงคุณ
อันตนไม่มีอยู่ ชื่อว่าเป็นผู้โอ้อวด ความโอ้อวดโดยส่วนทั้งปวง ชื่อว่าเป็น
ผู้โอ้อวดมาก
ความคดโกง คิอ การแสดงคุณอันไม่มีอยู่ ชื่อว่าความโอ้อวด เป็นสภาพที่
กระด้าง เพราะไม่อดทนต่อสี่งอันไม่เป็นภัย
การไม่อดทนต่อสี่งอันไม่เป็นภัย การไม่โอ้อวด ไม่เป็นภัยเลย เพราะฉะนั้น
ถ้าเป็นผู้ที่อดทน คือ ไม่โอ้อวด ถ้าจะไม่มีการโอ้อวด แต่เพราะว่าไม่อดทนต่อสี่ง
อันไม่เป็นภัย ไม่อดทนต่อการที่จะไม่โอ้อวดเพราะฉะนั้นก็ต้องโอ้อวดซึ่งเป็นภัย เป็นชีวิตประจำวัน ใช่ไหมคะ พอที่จะรู้ได้ขณะใดโอ้อวด แต่ตามความเป็น
จริงแล้ว เท่าที่ทุกท่านคงจะพิจารณาได้นะคะ สำหรับผู้ที่สนใจในเรื่องการอบรม
เจริญปัญญา เพือที่จะละกิเลส จะไม่เหมือนผู้ที่ยังเต็มไปด้วยมานะต่างๆ ที่จะ
ทำให้มีกาย วาจา อย่างนั้น เพราะว่าเรี่มเห็นโทษของ กาย วาจา ที่ไม่สมควร
ผู้ฟัง บางทีเราต้องการอธิบายให้ผู้อื่นได้ทราบว่าทัสสนะของเรา ความเห็นตรงกัน
กับคนอื่นหรือเปล่าอย่างนี้ ไม่ทราบว่าจะเป็นการโอ้อวดหรือเปล่าครับ บางทีเรายัง
ไม่ทราบว่าทัสสนะของเราถูกต้องหรือเปล่า แต่เราก็
ท่านอาจารย์ ขณะนั้นรู้สึกตัวว่าเป็นอย่างไรคะ ด้วยการโอ้อวดคือพูดถึงสี่งที่ไม่มี
ผู้ฟัง ขณะนั้นเรามีอยู่แล้ว แต่ต้องการให้ผู้อื่น
ท่านอาจารย์ การไม่กล่าวโดยชอบ เพราะแสดงคุณอันตนไม่มีอยู่ ชื่อว่า เป็นผู้
โอ้อวด ถ้าบอกว่าวันหนึ่งๆ สติเกิดเยอะ เป็นไงคะ
ผู้ฟัง ก็ไม่ได้ครับ
ท่านอาจารย์ ความปรารถนาที่จะโอ้อวด โดยเฉพาะในสี่งที่ไม่มี
ถ้ามีแล้ว ก็ดีแล้ว ไม่จำเป็นต้องโอ้อวดเหมือนกัน
ถัมภะ เป็นลักษณะหนึ่งของมานะ เป็นอาการอย่างหนึ่งคือ "ความหัวดื้อ"
(ยังมีต่อ)