....ความโกรธของปุถุชน

 
สารธรรม
วันที่  25 มี.ค. 2554
หมายเลข  18103
อ่าน  1,564

(ต้นสาละลังกา)

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

ถอดเสียงจาก ชุดปกิณกธรรม แผ่นที่ ๑๒ ครั้งที่ ๖๗๙

สนทนาธรรมที่หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑ พ.ศ. ๒๕๔๗

โดย ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

"ความโกรธของปุถุชน"

ท่านอาจารย์ ท่านอนาถบิณฑิก ท่านเป็นพระอริยสาวก ท่านเป็นพระโสดาบันแล้วนะคะ ท่านยังมีกิเลสไหม

ท่านผู้ฟัง มีครับ

ท่านอาจารย์ ท่านโกรธไหม

ท่านผู้ฟัง มีครับ ...โกรธ

ท่านอาจารย์ มี ท่านอนาถบิณฑิก ซึ่งเป็นสาวกโกรธ กับ คนซึ่งไม่ใช่พระอริยสาวก ซึ่งเป็นปุถุชนโกรธ พระอริยสาวกยังสามารถที่จะระลึกได้ว่า ขณะนั้น เป็นสภาพธรรมที่ไม่ควรที่จะสั่งสมเพราะเหตุว่าเป็นอกุศล แต่ปุถุชนโกรธใครวันไหน วันนี้ก็ยังโกรธอยู่ ยังพูดถึง ยังไม่ลืม นี่ก็แสดงว่าไม่มีปัญญาที่จะรู้สภาพธรรมในขณะนั้นได้ว่า มีลักษณะที่ไม่ควรที่จะสั่งสมต่อไป เพราะฉะนั้นนี่ก็เป็นความต่างกันนะคะ เพราะแม้ว่าจะทรงแสดงว่าไม่ควรที่จะโกรธ พยาบาท ผูกโกรธ ...แต่ก็ทำ เพราะเหตุว่า ปัญญาไม่ถึงขั้นที่สามารถที่จะเห็นโทษของสภาพของอกุศลในขณะนั้นได้ มีมั้ยคะความจริง

ท่านผู้ฟัง ความจริงก็มีครับ

ท่านอาจารย์  เพราะฉะนั้น มีข้อความว่า

"ดูกร คฤหบดี อริยสาวกทราบว่า อภิชฌาวิสมโลภะ เป็นอุปกิเลสแห่งจิตดังนี้แล้วละอภิชฌาวิสมโลภะ อันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตเสีย" คือท่านละได้ เพราะว่าสติสัมปชัญญะเกิด "ทราบว่าพยาบาท อุทธัจจะกุกกุจจะ วิจิกิจฉา เป็นอุปกิเลสแห่งจิตดังนี้แล้ว ละพยาบาท อุทธัจจะกุกกุจจะ วิจิกิจฉาอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตเสีย" การละของพระอริยะนี่ ก็ต้องต่างกับผู้ที่มีปัญญาไม่ถึงความเป็นพระอริยะ ถ้าผู้ที่มีปัญญาไม่ถึงความเป็นพระอริยะนะคะ อาจจะเกิดสติ ฯ มีความเข้าใจถูกต้องว่า "ขณะนั้นไม่เป็นประโยชน์เลย" การที่เข้าใจอย่างนั้น ขณะนั้นก็ทำให้พยาบาทเหล่านี้ไม่เกิด แต่ถ้าเป็นผู้ที่ได้ฟังธรรมะ อบรมเจริญปัญญา ละด้วยสติสัมปชัญญะที่รู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้น และเมื่อเป็นพระอริยสาวก ปัญญาก็ย่อมมากกว่าผู้ที่ยังไม่เป็นพระอริยสาวก

(ดอกสาละลังกา)


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
wannee.s
วันที่ 26 มี.ค. 2554

ความโกรธเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับปุถุชนที่ยังมีกิเลส ถ้าเรามีปัญญาระลึกรู้ว่า ขณะ นั้นก็เป็นธรรมะอย่างหนึ่ง ปรากฏแล้วดับไปอย่างรวดเร็ว ไม่มีสัตว์บุคคลตัวตนค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
pornpaon
วันที่ 26 มี.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 26 มี.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
พรรณี
วันที่ 27 มี.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
intira2501
วันที่ 27 มี.ค. 2554
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
peem
วันที่ 27 มี.ค. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ชีวิตคือขณะจิต
วันที่ 28 มี.ค. 2554

ความโกรธเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่งใช่ไหมครับ? ผมอยากจะเข้าใจคำศัพท์ว่า "สภาพธรรม" ที่ถูกมากขึ้นกว่ากล่าวเพียง จิต เจตสิก รูป ฯลฯ เป็นสภาพธรรม (ผมก็คิดว่าความโกรธเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่่ง นาม-รูป ฯลฯ ก็เป็นสภาพธรรมแต่ละอย่างครับ ถ้าสภาพธรรมใดๆ มีลักษณะอย่างนาม-รูปก็ไม่ใช่สิ่งที่จะถือสาหาความกับคนสัตว์และสิ่งใดๆ )

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
pamali
วันที่ 28 มี.ค. 2554
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 28 มี.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
chaiyut
วันที่ 28 มี.ค. 2554

เรียนคุณชีวิตคือขณะจิตครับ

ความโกรธ มีจริง เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่งครับ เคยโกรธมั้ยครับ ขณะนั้นมีจริง ไม่เรียกชื่อก็ได้ เป็นสิ่งที่มีลักษณะอย่างนั้น ไม่เปลี่ยนเป็นอย่างอื่น เวลาโกรธก็รู้ตัวว่าโกรธใช่มั้ยครับ ขอนไม้ หรือ ท่อนไม้ ไม่โกรธแน่ๆ ฉะนั้น โกรธ เป็นสภาพรู้ อาการรู้ จะเรียก "นาม" ก็ได้ ไม่เรียกก็ได้ แต่โกรธแล้วรู้ ไม่ใช่โกรธแล้วไม่รู้ รู้ว่าโกรธ ใครโกรธ ใครรู้? ยังไม่เห็นว่าเป็นสภาพธรรมใช่มั้ยครับ จึงต้องฟัง เพื่อให้เกิดความเห็นถูกว่าสิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้ อะไรก็ตามแต่ ทีละหนึ่ง เป็นธรรม มีจริง ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขาครับ เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่งที่ปรากฏเท่านั้น จนกว่าจะเห็นถูกด้วยปัญญาจริงๆ จึงจะค่อยๆ เข้าใจความหมายของคำว่า "สภาพธรรม" ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้และทรงแสดงครับ ไม่ได้อยู่ในตำรา แต่กำลังมีอยู่ในขณะนี้

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ชีวิตคือขณะจิต
วันที่ 28 มี.ค. 2554
ขอขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
win@wavf
วันที่ 30 มี.ค. 2554
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
be-myself
วันที่ 17 ธ.ค. 2554

ขออนุโมทนา

ความโกรธเป็นโทสะ ความขุ่นเคืองใจเล็กน้อยก็เป็นโทสะครับ เพราะฉะนั้นโทสะควรละกุศลควรเจริญครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
chatchai.k
วันที่ 24 พ.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ 

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ