ที่จะรู้ตัว ว่ามีมานะ มากน้อยแค่ไหน ขณะไหน (๕)

 
pirmsombat
วันที่  28 มี.ค. 2554
หมายเลข  18116
อ่าน  1,930

ข้อความบางตอนจากการบรรยายธรรมโดยท่านอาจารย์ สุจินต์ บริหารวนเขตต์

ท่านอาจารย์........"ถัมภะ" เป็นลักษณะหนึ่งของมานะ เป็นอาการอย่างหนึ่งคือ

"หัวดื้อ" ชื่อว่าความหัวดื้อเพราะอรรถว่า กระด้าง ความกระด้างของจิต

ราวกับว่าผ้าแข็งกระด้าง

จิตใจมีลักษณะต่างๆ กัน เวลาที่เป็นกุศลจะมีลักษณะที่อ่อนโยน มีเมตตา

แต่เวลาที่มีจิตเป็นอกุศล ความกระด้างของจิตราวกับว่าผ้าแข็ง

นี่เป็นลักษณะของความหัวดื้อ

บุคคลที่ประกอบด้วยความหัวดื้ออันใดเป็นราวกับงอนไถเคลื่อนไป เห็นพระเจดีย์หรือ

บุคคลผู้เจริญกว่า

ลักษณะของความหัวดื้อซึ่งแสดงไว้ใน สัมโมหวิโนทินี นอกจากนั้นมานะก็

ทำให้เป็นผู้ที่ "แข่งดี" คือ "สารัมภะ" ที่ว่า แข่งดี คือ การถือเอาธุระ

หรือการกระทำที่เสมอกัน ชื่อว่า แข่งดี

ไม่ว่าใครจะทำอย่างไรก็ตาม ก็จะทำให้ได้เสมอกัน นั่นคือการแข่งดี

เป็น ลักษณะ หรือการไม่สละธุระอันตนถือเอาแล้ว ชื่อว่าการไม่ลดละ ซึ่ง

ปลาสะ หรือ การตีเสมอ ก็มี การแข่งดี เป็น ลักษณะ นอกนั้นแล้วข้อความใน

สัมโมหวิโนทินี อรรถกถาขุททกวิภังค์นิทเทส นิปเปสิกตานิทเทส อธิบายการ

การพูดติเตียน ซึ่งก็เป็นลักษณะของผู้มีมานะได้ คือ การข่ม ได้แก่การกล่าว

เย้ยหยัน ไดัแก่การเย้ยหยัน

นี้ก็เป็นอกุศลทางวาจาทั้งนั้น ที่ควรจะได้พิจารณาว่า เกิดจากจิตซึ่งประกอบ

ด้วยความสำคัญตน ถ้าไม่สำคัญตนจะเย้ยหยันคนอื่นได้ไหมคะ ไม่ว่าเรื่องใดๆ ทั้งสี้น

ถ้าเกิดวาจาที่เย้ยหยันขณะใด ขณะนั้นก็ระลึกได้ถีงความสำคัญตน

"การนินทา" ได้แก่การยกโทษขึ้นโดยนัยว่า เขาไม่มีศรัทธา ไม่น่าเลื่อมใส

คือการยกโทษของคนอื่นขึ้นกล่าวนะคะ แสดงว่าคนที่พูดดีกว่าหรือเปล่า เวลาที่พูด

ว่าคนอื่นไม่ดี ขอให้ระลึกถึงจิตที่พูดในขณะนั้นว่า ผู้พูดต้องเข้าใจว่าตัวเองดีกว่า

ผู้อื่นหรือเปล่า นั่นคือลักษณะของมานะ หรือความสำคัญตนซึ่งวันหนึ่งๆ อาจจะ

ไม่รู้สึกเลยแต่แท้จริงในขณะใด ที่มีการพูดอย่างนั้น ก็แสดงว่า

เป็นเพราะความสำคัญตนนั่นเอง

การพูดตำหนิโทษ ได้แก่ การพูดว่า ท่านอย่าได้กล่าววาจาเช่นนี้ ในที่นี้

นั่นเป็นลักษณะของมานะได้

การพูดตำหนิโทษ เป็นไปกับด้วยวัตถุ ด้วยเหตุ โดยส่วนทั้งปวง เรียกว่า

การเหยียดหยาม วันหนึ่งๆ ที่จะคิดว่าถูกเหยียดหยาม หรือว่า มีใครเหยียดหยาม

ก็เพราะว่าผู้อื่นพูด ตำหนิโทษด้วยวัตถุ ด้วยเหตุโดยส่วนทั้งปวง


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 29 มี.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
pirmsombat
วันที่ 30 มี.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
bsomsuda
วันที่ 1 เม.ย. 2554

- หัวดื้อ

- แข่งดี ไม่ว่าใครจะทำอย่างไรก็ตาม ก็จะทำให้ได้เสมอกัน ไม่ลดละ

- การพูดติเตียน การกล่าวเย้ยหยัน

- การนินทา คือการยกโทษของคนอื่นขึ้นกล่าว

เป็นลักษณะของมานะ (ความสำคัญตน)


ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
pirmsombat
วันที่ 1 เม.ย. 2554

ขอบคุณและอนุโมทนาคุณ bsomsida และทุกท่านครับ

ตอบความคิดเห็นที่ 3

ควรรวบรวมอาการของ "มานะ" ทั้งหมดตั้งแต่กระทู้ที่

018030, 018059, 018077, 018084

ด้วยเพราะ

"เพราะฉะนั้นในวันหนึ่งๆ ก็ควรจะพิจารณาว่ามีมานะมาก-น้อย

แค่ไหน และ ในขณะไหนบ้าง เพราะว่าถ้าไม่รู้ว่าขณะใดเป็นมานะ ก็ไม่ละมานะ

ในขณะนั้น ไม่เห็นโทษ ก็ไม่ละ ทีนี้ทำอย่างไรจึงจะเห็นได้ว่า ขณะนี้มากแล้ว

จึงได้ปรากฏเพราะว่า ปกติประจำวัน ถ้าไม่สังเกตนะคะ ก็ไม่สามารถจะรู้ได้"

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
SOAMUSA
วันที่ 6 ต.ค. 2554

กราบอนุโมทนาท่านอาจารย์และทุกๆ ท่านค่ะ

ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ

เมื่อก่อนดิฉันไม่เคยมองเห็นมานะในตัวเองเลย คิดว่าเราดีกว่าเค้า

เค้าดีกว่าเรา คนดีพอๆ กับเราก็คบกันได้ เลวกว่าก็จะรังเกียจ

แต่เมื่อศึกษาและอ่านจากที่นี่ จึงได้รู้ ได้เห็น ว่ามันคือ อกุศลทั้งนั้น

และละเอียดมาก แม้แต่การแข่งกันดี ก็ยังคือ มานะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ