บุคคลผู้ว่ากล่าวติเตียนด้วยกุศลจิตและอกุศลจิต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ หน้าที่ 290
วินิจฉัยในบทว่า วชฺชทสฺสินํภิกษุผู้ชี้โทษมี ๒ จำพวก คือ ภิกษุ คอยแส่หาโทษ ด้วยคิดว่า "เราจักข่มภิกษุนั้นด้วยมารยาทอันไม่สมควร หรือ ด้วยความพลั้งพลาดอันนี้ในท่ามกลางสงฆ์" ดังนี้ จำพวก ๑, ภิกษุผู้ดำรงอยู่ แล้วตามสภาพ ด้วยสามารถแห่งการอุ้มชูด้วยการแลดูโทษนั้นๆ เพื่อประโยชน์ จะให้รู้สิ่งที่ยังไม่รู้ เพื่อต้องการจะได้ตามถือเอาสิ่งที่รู้แล้ว เพราะความเป็นผู้ ปรารถนาความเจริญแห่งคุณมีศีลเป็นต้นแก่ผู้นั้น จำพวก ๑; ภิกษุจำพวกหลัง นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์ในบทว่า วชฺชทสฺสินํ นี้. คนเข็ญใจถูกผู้ อื่นคุกคามก็ดี ตีก็ดี ชี้ขุมทรัพย์นี้. คนเข็ญใจถูกผู้อื่นคุกคามก็ดี ตีก็ดี ชี้ขุมทรัพย์ ให้ว่า "แกจงถือเอาทรัพย์นี้" ย่อมไม่ทำความโกรธ, มีแต่ปราโมทย์อย่างเดียว ฉันใด; เมื่อบุคคลเห็นปานดังนั้น เห็นมารยาทมิบังควรก็ดี ความพลั้งพลาดก็ ดี แล้วบอกอยู่. ผู้รับบอกไม่ควรทำความโกรธ ควรเป็นผู้ยินดีอย่างเดียว ฉัน นั้น, ควรปวารณาทีเดียวว่า "ท่านเจ้าข้ากรรมอันใหญ่ อันท่านผู้ตั้งอยู่ในฐานะ เป็นอาจารย์ เป็นอุปัชฌาย์ ของกระผมแล้ว สั่งสอนอยู่กระทำแล้ว, แม้ต่อไป ท่านพึงโอวาทกระผม" ดังนี้.