เมื่อเพื่อนหลงผิด
ท่านอาจารย์คะ เพื่อนเราที่ปฏิบัติธรรมไประยะหนึ่ง แล้วก็บอกเราว่า เขาไม่มี ราคะ มีโทสะน้อยมาก ไม่มีโมหะแล้ว ไม่สนใจในโลกธรรมแล้ว แต่เรารู้ดีว่า เขายังไม่ได้ เข้าถึงสภาวะนั้นได้จริงๆ เขายังโกรธอยู่ แต่ไม่รู้ตัวว่าโกรธ กิเลสมีอยู่แต่ไม่รู้ตัวว่ามีเมื่อ เราพยายามเตือน กลับยิ่งแย่เข้าไปใหญ่ เพราะเขายึดมั่นในความคิดเขาเสียแล้ว ถ้า เราจะปล่อยให้เขาเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ก็เป็นห่วงไม่อยากให้เขาหลงทาง เราจะมีวิธีที่ จะเตือนเขาได้อย่างไรบ้างคะ ท่านอาจารย์เคยมีศิษย์ที่เข้าลักษณะนี้บ้างมั๊ยคะ และจากประสบการณ์ เขาจะเลิกหลงตัวเอง กลับมาเป็นสัมมาทิฐฐิได้มั้ยคะ
ในสมัยครั้งพุทธกาลมีผู้ที่หลงผิดมากมาย บางท่านเมื่อได้รับแนะนำจากบัณฑิตแล้วกลับเป็นผู้มีความเห็นถูกต้องก็มีมาก บางท่านแม้ได้รับคำแนะนำจากบัณฑิตก็ยัง คงมีความเห็นเหมือนเดิมก็มี บางท่านมีความเชื่อมั่นในความเห็นของตน ไม่ยอมไป เฝ้าฟังพระธรรมอันเป็นสัจจธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงก็มี ฉะนั้น ในยุคนี้ก็เช่นกัน ทุกคนเป็นไปตามการสะสมของตนในฐานะเพื่อนที่ดี ควรแนะนำเท่าที่จะทำได้ ถ้าเขายังยืนยันในความรู้ความเห็นของตน คงต้องวางอุเบกขา สัตว์ทั้งหลายย่อมเป็นไปตามกรรม
ขอบพระคุณมากค่ะ ท่านอาจารย์ อันที่จริงเราควรจะวางอุเบกขา ในเมื่อเราเตือนแล้วเขาไม่ฟัง เราควรจะเอาเวลามาเตือน มาตรวจดูตัวเองมากกว่า ว่าเราเองยังหลง ผิดเรื่องอะไรบ้างหรือไม่ ได้ประโยชน์กว่ากันเยอะเลยนะคะ ขอบพระคุณท่านอาจารย์ อีกครั้งที่ให้สติค่ะ
ผู้ที่หลงผิด ก็คงมีโอกาสเกิดความเห็นถูกได้สำหรับบางคนใช่ไหมครับ เพราะเคยพบมาด้วยตนเองครับ ทำไมเขาถึงเปลี่ยนได้ แต่บางคนก็ยังเหมือนเดิม ทั้งที่มีผู้ที พยายามช่วยชี้แนะ และผู้นั้นก็มีความสนใจธรรมะอย่างมากๆ เท่าที่สังเกตมักเป็นกับผู้ ที่ยึดถือ หรือศรัทธาในตัวบุคคลมากกว่าพระธรรมคำสอน
ผู้ที่หลงผิดแต่ไม่ยึดมั่นในความเห็นของตน รับฟังเหตุผลจากผู้อื่นผู้นั้นเปลี่ยนจากความเห็นผิดเป็นความเห็นถูกได้ แต่ถ้าไม่รับฟัง และถือรั้น ย่อมไม่สามารถเปลี่ยน ความเห็นของเขาได้ แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ไม่สามารถเปลี่ยนความเห็นเขาได้ดัง ครูทั้ง ๖ ในสมัยครั้งพุทธกาล
จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ขณะที่เราหลงผิดไป เราก็ไม่สามารถรู้ได้เลยค่ะว่ากำลังหลงผิดอยู่ เพราะเราเข้าใจว่า ที่เราคิด ทำ พูดนั้น ถูกต้องแล้ว กว่าจะเจอครูอาจารย์ ที่เราศรัทธา ทำให้เราเปลี่ยนได้จริงๆ ก็ยากนะคะ