ตัณหา เรียกว่า วิสัตติกา

 
pirmsombat
วันที่  4 เม.ย. 2554
หมายเลข  18138
อ่าน  3,146

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 11

[๑๔] คำว่า ผู้นั้นเป็นผู้มีสติ ย่อมล่วงพ้นตัณหาอันชื่อว่า วิสัตติกานี้ ในโลกเสียได้ มีความว่า คำว่า ผู้นั้น คือผู้เว้นขาดกาม ทั้งหลาย.

ตัณหา เรียกว่า วิสัตติกา ได้แก่ ความกำหนัด, ความกำหนัดกล้า ความพอใจ, ความชอบใจ, ความเพลิดเพลิน, ความกำหนัดด้วยสามารถ แห่งความเพลิดเพลิน, ความกำหนัดกล้าแห่งจิต, ความปรารถนา, ความหลง, ความติดใจ, ความยินดี, ความยินดีทั่วไป, ความข้อง, ความติดพัน, ความแสวงหา, ความลวง, ความให้สัตว์เกิด, ความให้สัตว์ เกี่ยวกับทุกข์, ความเย็บไว้, ความเป็นดังว่าข่าย, ความเป็นดังว่ากระแสน่า

ความซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ความเป็นดังว่าเส้นด้าย, ความกระจายไป ความให้อายุเสื่อมไป, ความเป็นเพื่อน, ความตั้งมั่น, เครื่องนำไปสู่ภพ, ความติดอารมณ์, ความตั้งอยู่ในอารมณ์, ความสนิท, ความรัก ความเพ่งเล็ง, ความผูกพัน, ความหวัง, ความจำนง, ความประสงค์, ความหวังในรูป, ความหวังในเสียง, ความหวังในกลิ่น, ความหวังในรส, ความหวังในโผฏฐัพพะ, ความหวังในลาภ, ความหวังในทรัพย์, ความหวังในบุตร, ความหวังในชีวิต, ความปรารถนา, ความให้สัตว์ปรารถนา ความที่จิตปรารถนา

ความเหนี่ยวรั้ง, ความให้สัตว์เหนี่ยวรั้ง, ความที่ จิตเหนี่ยวรั้ง, ความหวั่นไหว, อาการแห่งความหวั่นไหว, ความพรั่ง พร้อมด้วยความหวั่นไหว, ความกำเริบ, ความใคร่ดี, ความกำหนัดในที่ ผิดธรรม, ความโลภไม่เสมอ, ความใคร่, อาการแห่งความใคร่, ความ มุ่งหมาย, ความปอง, ความปรารถนาดี,

กามตัณหา, ภวตัณหา, วิภวตัณหา, ตัณหาในรูปภพ, ตัณหาในอรูปภพ, ตัณหาในนิโรธ, รูปตัณหา, สัททตัณหา, คันธตัณหา, รสตัณหา, โผฏฐัพพตัณหา, ธัมมตัณหา, โอฆะ, โยคะ, คันถะ, อุปาทาน, ความกั้น, ความปิด, ความบัง, ความผูก, ความเข้าไปเศร้าหมอง, ความนอนเนื่อง, ความกลุ้มรุมจิต,

ความเป็น ดังว่าเถาวัลย์, ความปรารถนาวัตถุต่างๆ , รากเง่าแห่งทุกข์, เหตุแห่งทุกข์, แดนเกิดแห่งทุกข์, บ่วงมาร, เบ็ดมาร, วิสัยมาร, แม่น้ำตัณหา, ข่าย ตัณหา, โซ่ตัณหา, สมุทรตัณหา, อภิชฌา, โลภะ, อกุศลมูล, เรียกว่า วิสัตติกา

คำว่า วิสัตติกา ความว่า เพราะอรรถว่าอะไร ตัณหาจึงชื่อว่า วิสัตติกา (ซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ) เพราะอรรถว่า ซ่านไป ตัณหาจึง ชื่อว่า วิสัตติกา, เพราะอรรถว่า แผ่ไป ตัณหาจึงชื่อว่า วิสัตติกา, เพราะ อรรถว่า แล่นไป ตัณหาจึงชื่อว่า วิสัตติกา, เพราะอรรถว่า ครอบงำ ตัณหาจึงชื่อว่า วิสัตติกา, เพราะอรรถว่า สะท้อนไป ตัณหาจึงชื่อว่า วิสัตติกา, เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้พูดผิด ตัณหาจึงชื่อว่า วิสัตติกา เพราะอรรถว่า มีมูลรากเป็นพิษ ตัณหาจึงชื่อว่า วิสัตติกา, เพราะอรรถ ว่า มีผลเป็นพิษ ตัณหาจึงชื่อว่า วิสัตติกา, เพราะอรรถว่า เป็นเครื่อง บริโภคสิ่งเป็นพิษ ตัณหาจึงชื่อว่า วิสัตติกา.

อีกนัยหนึ่ง ตัณหานั้นแผ่ไปใน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ, สกุล คณะ ที่อยู่, ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร, กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ, กามภพ รูปภพ อรูปภพ, สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ, เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ, ในอดีต ในอนาคต ในปัจจุบัน, แล่นไป ซ่านไป ในรูปที่เห็นแล้ว, ในเสียงที่ได้ยินแล้ว, กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ ทราบแล้ว, และในธรรมที่พึงรู้แจ้ง, ตัณหาจึงชื่อว่า วิสัตติกา. คำว่า ในโลก คือ อบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
orawan.c
วันที่ 5 เม.ย. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 5 เม.ย. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 5 เม.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เป็นข้อความที่แสดงถึงสิ่งที่มีจริงประการหนึ่ง คือ โลภะ (หรือตัณหา) โลภะ เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ไหลไปได้ทุกภพภูมิ อรหัตตมรรคเท่านั้นที่จะดับโลภะได้อย่างเด็ดขาด ครับ

...ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณหมอ ครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
pirmsombat
วันที่ 6 เม.ย. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณคำปั่นและทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
h_peijen
วันที่ 6 เม.ย. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 6 เม.ย. 2554

ขออนุญาตเรียนสอบว่า

ที่คุณหมอระบุถึง วิสัตติกา นั้น ท่านหมายรวมถึง "ความปรารถนาดี" ด้วยนั้น ความปรารถนาดี เป็นตัณหา ที่เรียกว่า วิสัตติกา อย่างไร ครับ

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
khampan.a
วันที่ 7 เม.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เรียน ความคิดเห็นที่ 6 ครับ

จากข้อความที่คุณหมอยกมาทั้งหมดในเรื่องของ วิสัตติกา นั้น ทั้งหมด เป็นโลภะ แม้แต่คำว่า ปรารถนาดี (ในที่นี้) มาจากภาษาบาลีว่า สุฎฺฐุ ปตฺถนา สมฺปตฺถนา แปลว่า ความปรารถนา ความปรารถนาด้วยดี ซึ่งก็หมายถึงความติดข้อง ความอยากได้ ความต้องการ นั่นเอง เป็นสภาพธรรมที่มีจริงในชีวิตประจำวัน แต่ถ้าความปรารถนาดี ปรากฏในที่อื่น ไม่ใช่โลภะก็ได้ แต่เป็นลักษณะของเมตตา ความเป็นมิตร ความเป็นเพื่อน ความหวังดี ปรารถนาดี ไม่หวังร้ายต่อผู้อื่น สำคัญอยู่ที่ความเข้าใจจริงๆ ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณจักรกฤษณ์และทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 7 เม.ย. 2554

วิสัตติกา - เป็นคำที่เพราะมากจนอยากตั้งเป็นชื่อ แต่รู้ความหมายแล้วเปลี่ยนใจ

ขออนุโมทนาคุณหมอคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 7 เม.ย. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาอาจารย์คำปั่นครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
pirmsombat
วันที่ 7 เม.ย. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาคุณคำปั่นและคุณจักรกฤษณ์ และทุกท่านมากครับ

การสนทนาธรรมและการคบบัณฑิตมีประโยชน์และประเสริฐมากจริงๆ ดังนี้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
papon
วันที่ 21 ส.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
สิริพรรณ
วันที่ 6 ธ.ค. 2563

กราบขอบพระคุณทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
chatchai.k
วันที่ 7 ธ.ค. 2563

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
ภาคภูมิอรุณศรี
วันที่ 23 พ.ค. 2566

ขอบคุณ ครับ ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ